Line Newsไลฟ์สไตล์

รู้แล้ว ทำไมต้องจัดพิธีไหว้ครู ในวันพฤหัสบดี ตามความเชื่อ พราหมณ์-ฮินดู

ไขสงสัย ทำไมพิธีไหว้ครู ถึงจัดวันพฤหัสบดี ปีนี้ตรงกับ วันที่ 13 มิถุนายน 2567 เปิดประวัติประเพณีเก่าแก่ การแสดงความเคารพ และกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ ที่เคารพนับถือ ตามคติความเชื่อของศาสนา พราหมณ์-ฮินดู พร้อมความแตกต่างระหว่างวันครู และ วันไหว้ครู ในประเทศไทย

พีธีไหว้ครู หลาย ๆ คนมักจะคุ้นเคยกับวันสำคัญนี้ เพราะจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ว่าจะโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยของไทยทุกที่ต่างต้องพบเจอและเข้าร่วม แต่วันไหว้ครูนั้นไม่มีข้อกำหนดวันแน่ชัดในแต่ละปี และมักจะจัดในช่วงวันพฤหัสบดีที่สองของเดือนมิถุนายน

Advertisements

สำหรับพิธีไหว้ครูมีจุดประสงค์เพื่อระลึกถึงความสำคัญและพระคุณของครูที่อบรมสั่งสอนและให้วิชาความรู้แก่ลูกศิษย์ และเพื่อให้ลูกศิษย์ได้แสดงความกตัญญูและความเคารพต่อครูบาอาจารย์โดยผ่านพานไหว้ครู หรือดอกไม้ไหว้ครู เพื่อเป็นการแสดงถึงว่าความเคารพและขอเป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์

เปิดประวัติ ทำไม "พิธีไหว้ครู" ถึงจัด วันพฤหัสบดี

ทำไมวันไหว้ครู ถึงจัดวันพฤหัสบดี

สำหรับพิธีไหว้ครูที่มักจะจัดตรงกับวันพฤหัสบดีของเดือนมิถุนายน ก็เพราะ ได้รับอิทธิพลความเชื่อเกี่ยวกับครูมาจากศาสนาพาราหมณ์ – ฮินดูที่ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในช่วงสมัยอยุธยา

ตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ได้มีการนับถือเทพเจ้าที่มีนามว่า พระพฤหัสบดี หรือพระนามเดิมคือ ครุเทว ที่หมายถึงเป็นครูของเทวดา ซึ่งคำว่า “ครุ” ไปพ้องเสียงกับคำว่า “ครุ” ในภาษาบาลีที่แปลว่าหนัก เปรียบกับครูบาอาจารย์ที่ต้องคอยแบกรับภาระในการอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้

ทั้งนี้ในภาษาไทยก็ได้นำคำว่า “ครุ” มาเรียกผู้ให้วิชาความรู้แก่ศิษย์ว่า “ครู” และได้ถือเอาวันพฤหัสบดีเป็นวันประกอบพิธีไหว้ครูมาจนปัจจุบัน โดยปฏิบัติสืบต่อกันมาไม่ว่าใครจะเรียนวิชา ศาสตร์ใด ๆ ก็จะต้องเริ่มเรียนในวันพฤหัสบดีเป็นวันแรก เพราะนับว่าเป็นวันดี วันมงคลสำหรับผู้เล่าเรียน

Advertisements
เปิดประวัติ ทำไม "พิธีไหว้ครู" ถึงจัด วันพฤหัสบดี
ภาพจาก : FB คุรุสภา

พระพฤหัสบดี ตราสัญญาลักษณ์ของคุรุสภา

ตราคุรุสภา เป็น รูปพระพฤหัสบดี มีความหมายว่าเป็นครูของเทวดาในทางวิชาความรู้ มีกวางเป็นพาหนะ พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์กับมีรัศมีเป็นปริมณฑลล้อมรอบ

หากใครสังเกตุก็จะเห็นว่าตราของคุรุสภา เป็นรูปของพระพฤหัสบดีเช่นกัน ซึ่งมีความหมายว่าเป็นครูของเทวดาในทางวิชาความรู้ มีกวางเป็นพาหนะ พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์กับรัศมีเป็นปริมณฑลล้อมรอบ และตราคุรุสภานี้ออกแบบโดยพระยาอนุมานราชธน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร และได้นำเสนอคณะอำนวยการคุรุสภา

วันครู กับวันไหว้ครู แตกต่างกันอย่างไร

ยังมีหลายคนยังเข้าใจผิดว่าผิดว่าวันครู กับ วันไหว้ครูนั้นเป็นวันเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้ว วันครู จะตรงกับ 16 มกราคมของทุกปี แต่ส่วนของ วันไหว้ครู ไม่ได้มีวันกำหนดที่ชัดเจนแต่มักจะเกิดขึ้นตรงกับวันพฤหัสบดีของเดือนมิถุนายน

โดยสรุปง่าย ๆ ว่า วันครู เป็นวันที่ระลึกถึงพระคุณของครูอาจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครู และส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพครู ในขณะที่ วันพิธีไหว้ครูจะมีพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อระลึกถึงพระคุณของครูก่อนเริ่มต้นปีการศึกษานั่นเอง แน่นอนว่าทั้งวันครูแห่งชาย และ วันพิธีไหว้ครูต่างก็เป็นวันสำคัญของไทยเรา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องที่นี่

อ้างอิง : wikipedia

Lirisa Muanlamai

หยก ค่ะ ศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี คณะนิเทศศาสตร์ เอกการออกแบบเพื่อการสื่อสาร มีความสนใจคอนเทนต์ต่างๆในปัจจุบันชอบตามข่าว เพลง ศิลปิน แฟชั่น ในประเทศและต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button