อัปเดต : วันนี้ 10 มกราคม 67 เงินเบี้ยผู้สูงอายุ งวดแรกของปี 67 มกราคม กรมบัญชีกลางโอนเข้าบัญชีแล้ว
เช็กได้แล้ว เงินผู้สูงอายุ 2567 เข้าวันไหน เบี้ยยังชีพคนรชรา สวัสดิการในบั้นปลายจากรัฐบาล เงื่อนไหขรับเงิน เงื่อนไข คนยังไม่เคยลงทะเบียน ยังลงทะเบียนรับเงินคนชราทันไหม ไทยเกอร์รวมข้อมูลมาให้ครบแล้ว สำหรับคนที่ยังสับสนหลังจากก่อนหน้านี้มีเกณฑ์ใหม่ออกมา เรื่องการกำหนดความจนคนแก่
เบี้ยผู้สูงอายุ ปี 2567 เงินเข้าวันไหน
ข้อมูลล่าสุด ตามรอบปฏิทินของกรมบัญชีกลาง ระบุว่า เบี้ยยังชีพผู้สูง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไปที่ลงทะเบียนแล้ว เงินจะเข้าบัญชีทุกวันที่ 10 ของเดือน ถ้าเดือนไหนตรงกับวันหยุดราชการ จะเลื่อนจ่ายในวันทำการก่อนวันหยุด
ทำให้ เบี้ยคนชราในปี พ.ศ. 2567 จะได้รับเบี้ยยังชีพตามวันในแต่ละเดือน ต่อไปนี้
- เดือนมกราคม : เงินเข้าวันพุธที่ 10 มกราคม 2567
- เดือนกุมภาพันธ์ : เงินเข้าวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567
- เดือนมีนาคม : เงินเข้าวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567
- เดือนเมษายน : เงินเข้าวันพุธที่ 10 เมษายน 2567
- เดือนพฤษภาคม : เงินเข้าวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2567
- เดือนมิถุนายน : เงินเข้าวันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน 2567
- เดือนกรกฎาคม : เงินเข้าวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567
- เดือนสิงหาคม : เงินเข้าวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2567
- เดือนกันยายน : เงินเข้าวันอังคารที่ 10 กันยายน 2567
- เดือนตุลาคม : เงินเข้าวันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
- เดือนพฤศจิกายน : เงินเข้าวันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567
- เดือนธันวาคม : เงินเข้าวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2567
ดังนั้นคนที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ที่เคยลงทะเบียนไปแล้วระหว่างเดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566 เพื่อขอรับเงินในปีงบประมาณ 67 จะยังได้เงินเหมือนเดิมทุกคน
เบี้ยยังชีพคนชรา ได้เงินกี่บาท
ตามหลักเกณฑ์สวัสดิการ รัฐบาลจะจ่ายเป็นขั้นบันไดตามอายุ ได้แก่
- ผู้สูงอายุ 60-69 ปี ได้เงิน 600 บาทต่อเดือน
- ผู้สูงอายุ 70-79 ปี ได้เงิน 700 บาทต่อเดือน
- ผู้สูงอายุ 80-89 ปี ได้เงิน 800 บาทต่อเดือน
- ผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้เงิน 1,000 บาทต่อเดือน
ลงทะเบียนผู้สูงอายุ 2567-2568 ต้องทำยังไงบ้าง
คนไทยที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีนี้ เงื่อนไขว่าต้องเกินก่อนวันที่ 2 กันยายน 2508 จะสามารถลงทะเบียนรับเบี้ยคนชราของปีงบประมาณ 2568 ได้ ได้
กรมบัญชีกลางเปิดให้ลงทะเบียนระหว่าง เดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน 2567
เมื่ลงทะเบียนผ่าน จะได้เงินเบี้ยยังชีพในเดือนถัดไปหลังจากมีอายุครบ 60 เช่น ถ้าอายุถึงตอนเดือนมีนาคม 2568 จะได้เบี้ยยังชีพงวดแรกในเดือน เมษายน 2568
คุณสมบัติผู้มีสิทธิลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ
1. มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คือ ต้องเกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2508 (สำหรับผู้ที่ทราบแค่ปีเกิด แต่ไม่ทราบวันเกิด/เดือนเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคม ของปีนั้น ๆ)
2. มีสัญชาติไทย
3. มีภูมิลำเนาอยู่ในเขต สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ตามทะเบียนบ้าน
4. ไม่เคยลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุมาก่อน ยกเว้นกรณีเพิ่งย้ายภูมิลำเนามาใหม่ สามารถมาลงทะเบียนใหม่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามทะเบียนบ้านใหม่ได้ เช่น เคยลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ปีนี้ย้ายทะเบียนมาอยู่จังหวัดชลบุรี ก็ให้มาลงทะเบียนใหม่ที่จังหวัดชลบุรี
5. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท. อาทิ เงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ (ยกเว้นผู้พิการและผู้ป่วยเอดส์)
เบี้ยผู้สูงอายุ 2568 ลงทะเบียนที่ไหน
- กรุงเทพฯ : สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน-เวลาราชการ
- ต่างจังหวัด : สำนักงานเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในวัน-เวลาราชการ
ใช้เอกสารอะไรบ้าง
กรณีผู้สูงอายุมาลงทะเบียนเอง
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เป็นปัจจุบัน
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ พร้อมสำเนา สำหรับกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร
กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาลงทะเบียนแทน
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้สูงอายุ หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
- ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่เป็นปัจจุบัน
- สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ พร้อมสำเนา ของผู้สูงอายุ สำหรับกรณีขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร
- หนังสือมอบอำนาจ (แบบฟอร์มมอบอำนาจขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละพื้นที่ ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
สำเนาทุกฉบับต้องลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง หากผู้สูงอายุไม่สามารถเขียนได้ ให้พิมพ์ลายมือแทน