Line Newsไลฟ์สไตล์

ประวัติ “วันขึ้นปีใหม่” 1 มกราคม 2567 ไทย-สากล มีความสำคัญอย่างไร

เกร็ดความรู้ ประวัติ “วันขึ้นปีใหม่” ปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2567/2024 หนึ่งในวันสำคัญสากล วันหยุดประจำปี ตามปฏิทินกริกอเรียน และยังเป็นวันสำคัญตามประเพณีไทยโบราณ จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความสุข ส่งท้ายปีเก่าเมื่อครบรอบ 12 เดือน ในเดือนธันวาคม พร้อมเตรียมตัวต้อนรับปีใหม่ ในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคมนั่นเอง มาดูกันว่า วันปีใหม่ จะมีที่มาและเรื่องราวน่าสนใจอย่างไรบ้าง อะไรทำให้วันนี้กลายเป็นวันสำคัญและวันหยุดของคนไทยและทั่วโลกไปได้

ประวัติ “วันขึ้นปีใหม่ไทย” 1 มกราคม

สำหรับประวัติที่มา “เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของไทย” ตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนา ถือเหมันตฤดูเป็นการเริ่มต้นปี นอกจากนี้ คนไทยส่วนใหญ่ยังมีประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับ คติของพราหมณ์ ส่งผลทำให้มีการใช้ วันที่ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่

ต่อมาใน รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ในหลวงรัชกาลที่ 5) ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่มาเป็นวันที่ 1 เมษายน ตามหลักปฏิทิน สุริยคติ สอดคล้องตามคติพราหมณ์ เนื่องจาก เดือน 5 ในปฏิทินไทยโบราณ ก็ตรงกับเดือนเมษายน (ซึ่งภายหลังถูกปรับเปลี่ยนจนกลายมาเป็นวันสงกรานต์)

กระทั่ง มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติปฏิทิน พ.ศ. 2483 และพระราชบัญญัตินั้นเริ่มใช้ได้เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2483 รัฐบาลจึงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำให้ในปี พ.ศ.2483 จึงมีเพียง 9 เดือนเท่านั้น คือเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินของนานาประเทศ

ภายหลังเมื่อ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ มีหนังสือประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ของ ไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก ฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของไทยเราเองแต่โบราณกาล ตามวัฒนธรรมพราหมณ์ที่เคยใช้ในโบราณกาล และแล้ววันที่ 1 มกราคม ก็ได้ถูกกำหนดให้เป็น วันขึ้นปีใหม่ไทย ของทุกปี นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ประวัติ วันขึ้นปีใหม่ 2024 2567

ประวัติ “วันขึ้นปีใหม่” สากล

ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของแต่ละประเทศ ถูกปรับเปลี่ยนตามลักษณะความเชื่อ การปกครอง และภูมิศาสตร์ของถิ่นที่อยู่อาศัยเรื่อยมา ตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยหลักฐานเกี่ยวกับวันขึ้นปีใหม่ใน บาบิโลเนีย เริ่มต้นหลังจากมีการคิดค้นการใช้ปฏิทิน ดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน จะเท่ากับ 1 ปี (365/366 วัน หรือ 1 ปี) ทั้งยังมีการเพิ่มไปเป็น 14 เดือน เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินการเพาะปลูกอีกด้วย

จนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ ได้มีการนำแนวคิดทางดาราศาสตร์ของ เฮมดัล ชาวอะเลกซานเดรีย มาแแก้ไขด้วยการให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน

กระทั่ง สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงปรับปรุงแก้ไขปฏิทินประจำปีให้เป็นแบบ ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปี และเป็นวันสำคัญของเทศกาลแห่งความสุข เป็นต้นมา

วันขึ้นปีใหม่ 2567 ประวัติ

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : รัฐสภาไทย, สำนักหอสมุดกลาง ม.รามคำแหง, วิกิพีเดีย – New year’s day

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button