ข่าว

ลูกค้าโวย เจอ “เกี๊ยวหมูดิบ” บอกอย่าเอาหูมาล้อเล่น ชาวเน็ตงง นึกว่าเอาหูคนใส่

ลูกค้าซื้อเกี๊ยวมารับประทาน ผ่าตรงกลางเจอไส้หมูดิบ ลั่น อย่าเอาหูลูกค้ามาล้อเล่น ชาวเน็ตคอมเมนต์สนั่น นึกว่าเอาหูคนมาใส่ แท้จริงจะสื่อว่า เสี่ยงโรคไข้หูดับ

แม้ประชาชนหลายท่านอาจจะทราบดีว่า ห้ามรับประทานหมูดิบ แต่เมื่อซื้ออาหารจากร้านค้าอาจต้องตรวจสอบสินค้ากันสักหน่อยก่อนรับประทาน วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2566 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพและข้อความผ่านกลุ่มเฟซบุ๊ก พวกเราคือผู้บริโภค หลังซื้อเกี๊ยวไส้หมู แต่ได้เกี๊ยวไส้ซาชิมิหมูมาแทน

Advertisements

ผู้บริโภครายนี้ ร้องทุกข์ผ่านโซเชียล โดยการโพสต์ภาพเมนูเกี๊ยวหมู ประกอบด้วยแผ่นแป้งเกี๊ยวสีเขียวราดน้ำจิ้ม แต่เมื่อหั่นครึ่งดูไส้ในกลับพบว่า ไส้หมูที่ใส่ในเกี๊ยวยังสีแดงอมชมพู เหมือนไม่เคยผ่านความร้อนมาก่อน ซึ่งผู้บริโภครายนี้ได้ระบุแคปชันด้วยว่า “ทำไมเอาหูลูกค้ามาล้อเล่น”

ลูกค้าเจอ เกี๊ยวไส้หมูดิบ

หลังจากโพสต์ถูกเผยแพร่ก็มีชาวเน็ตที่เข้าใจและไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้ใช้งานท่านนี้จะสื่อ โดยบางส่วนเข้ามาคอมเมนต์ว่า ตอนแรกคิดว่าแม่ค้านำหูคนมาใส่ในเกี๊ยว อ่าน 10 รอบก็ยังไม่เข้าใจ

แท้จริงแล้วสิ่งที่ผู้โพสต์ต้องการจะสื่อคือ การรับประทานหมูดิบเสี่ยงป่วย “โรคไข้หูดับ” ซึ่งอาการก็ของโรคก็ตรงตามชื่อ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน ประสาทหูอักเสบจนหูดับ หรือในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดอาจส่งผลให้เสียชีวิต

ด้านชาวเน็ตคนอื่น ๆ ที่เห็นว่าผู้ประกอบการปรุงอาหารไม่สุกจำหน่ายให้ลูกค้า ทั้งยังเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ก็ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยมองว่า รัฐบาลควรออกกฎหมายลงโทษร้านอาหารขั้นเด็ดขาด ไม่ต้องรอให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบก่อน จึงค่อยฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย

Advertisements

นอกจากนี้ชาวเน็ตบางส่วนลงความเห็นว่า ในระยะนี้เจอข่าวหมูดิบค่อนข้างบ่อย อีกทั้งชาวเน็ตบางรายยังเคยเจออาหารที่มีส่วนประกอบของหมูแต่ปรุงไม่สุก เช่น ซาลาเปาไส้หมู ที่มีลักษณะกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นต้น

สำหรับโรคไข้หูดับ กรมควบคุมโรค เคยให้ข้อมูลไว้ว่า นอกจากการรับประทานเนื้อหมูดิบแล้ว หากร่างกายมีบาดแผล แล้วไปสัมผัสหมู เลือดสด หรือเนื้อหมูที่มีเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส ซูอิส อาจทำให้ติดเชื้อได้

ผู้บริโภคควรรับประทานหมูที่ปรุงสุก ผ่านความร้อนมากกว่า 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป หากซื้ออาหารที่มีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบ ควรตรวจสอบให้ดีก่อนรับประทาน เพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากไข้หูดับอีกทางหนึ่ง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Kamonlak

นักเขียนข่าวประจำ Thaiger ผู้มีความสนใจที่หลากหลาย มีประสบการณ์เชี่ยวชาญเขียนข่าวการเงิน เศรษฐกิจ จบการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ งานอดิเรก ติดตามข่าวสารความบันเทิง โดยเฉพาะภาพยนตร์และแอนิเมชัน เขียนงานโดยมีแนวคิดที่ต้องการถ่ายทอดมุมมองของตัวเองและถ่ายทอดสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม ช่องทางติดต่อ kamonlak@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button