ตำรวจกรมสอบสวนกลางเหนือชั้น เผยแพร่งานวิจัย “รอยตัดเส้นผม” ในคดีน้องชมพู ตีพิมพ์ที่สหรัฐอเมริกา จนสามารถใช้มัดตัว “ลุงพล” ด้วยการตรวจสอบจากจุลทรรศน์อิเล็กตรอน SEM
วิเคราะห์หลักฐานคดีน้องชมพู่ หลังจากที่เฟสบุ๊กเพจ Drama-addict ได้แชร์ผลงานวิจัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจกรมสอบสวนกลาง ซีไอบี ที่ได้เผยแพร่ลงในวารสารนิติเวช ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เรื่อง ลักษณะของรอยตัดผม สามารถใช้สืบสวนในคดีน้องชมพู่ได้ จนสุดท้ายก็นำมาเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญในการมัดตัว “ลุงพล” หรือ “นายไชย์พล วิภา” จำเลยในคดีดังกล่าว
ส่งผลให้เมื่อวันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 ศาลจังหวัดมุกดาหาชั้นต้น ระบุโทษของ ลุงพล ว่ามีความผิดตาม มาตรา 291, 317 กระทำโดยประมาทให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คุก 10 ปี พรากเด็กอายุไม่เกิน 15 โดยปราศจากเหตุอันสมควร คุก 10 ปี รวมจำคุก 20 ปี
งานวิจัย ยืนยัน “รอยตัดผมน้องชมพู่” เทียบเจ้าของผมได้
งานวิจัยเรื่อง Characteristics of Cut Head Hair: An Evidence in Criminal Investigations หรือ ลักษณะของการตัดผม: หลักฐานในการสืบสวนคดีอาญา ของเจ้าหน้าที่ตำรวจไทย กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพเส้นผมในที่เกิดเหตุ ด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด หรือ เอสอีเอ็ม (SEM) ในการค้นหาว่าเราสามารถนำเส้นผมจากที่เกิดเหตุที่ถูกตัดด้วยของมีคม มาใช้ยืนยันว่าเส้นผมเหล่านั้นเป็นของบุคคลเดียวกันหรือไม่
ผลสรุปจากการวิจัยลักษณะรอยตัดของเส้นผม ระบุว่า มีความเป็นไปได้ที่เราจะนำเส้นผม ที่ถูกตัดด้วยของมีคมชนิดเดียวกันเวลาเดียวกัน แต่คนละตำแหน่ง มาเทียบว่าเป็นเส้นผมของบุคคลเดียวกันได้ พบว่ามีความคลาดเคลื่อนของรอยองศาการตัดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ในส่วนของระเบียบวิธีการวิจัย เริ่มต้นด้วยการใช้ เส้นผม ที่มีขนาดและความยืดหยุ่นใกล้เคียงกับน้องชมพู่ มาตัดด้วยของมีคมพร้อมกัน แล้วใช้ SEM ส่องกล้องเทียบลักษณะที่เกิดขึ้น
จากการนำเส้นผมที่ถูกตัดด้วยของมีคมอย่างเดียวกันไปตรวจสอบ ผลที่ปรากฏ คือรอยตัดผมจากมีด มีเอกลักษณะ คือ ตรงกลางจะเรียบแต่จะบิ่นเล็กน้อยบริเวณขอบ เนื่องจากเส้นผมมันจะยืดออกเล็กน้อยเวลาถูกตัด ตามความยืดหยุ่นของเส้นผมนั่นเอง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
- ‘ลุงพล’ แจงกรณีเส้นผมน้องชมพู่ ที่เจอบนรถ ถามไม่ยุติธรรมสำหรับตนรึเปล่า?
- ลุงพล-ป้าแต๋น ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ หลังศาลตัดสินจำคุก 20 ปี
- เผยหลักฐานเด็ด มัดตัว “ลุงพล” รอยตัดเส้นผม ตรงกับที่เจอในรถ
อ้างอิง : Science Publications