ข่าว

หมอเฉลย ‘พระพุทธเจ้า’ หลังประสูติ เดินได้ 7 ก้าว มีดอกบัวผุด จริงหรือไม่

‘นพ.สมรส พงศ์ละไม’ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ช่วยคลายสงสัย ‘พระพุทธเจ้า’ หลังประสูติเดินได้ 7 ก้าว มีดอกบัวผุด จริงหรือไม่

เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา นพ.สมรส พงศ์ละไม ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Somros MD Phonglamai ตอบปัญหาตามหลักวิทยาศาสต์ ในประเด็นทุกคนสงสัยเกี่ยวกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ได้ระบุว่า หลังเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ทรงเดินได้ 7 ก้าว และมีดอกบัวบานผุดขึ้นจากพิ้น

Advertisements

“เจ้าชายสิทธัตถะ เกิดแล้วเดินได้ 7 ก้าว มีดอกบัวผุด จริงรึเปล่า ? ปาฏิหารย์ vs วิทยาศาสตร์

ในทางการแพทย์เรียกการคลอดเอาเท้าออกว่าเป็นท่า footling breech presentation กรณีนี้แม่จะเสี่ยงต่อการเสียเลือดและติดเชื้อเพิ่มกว่าท่าปกติที่เอาหัวออก (cephalic presentation) เพราะอาจติดแขนเด็ก ทำให้บาดเจ็บ เสียเลือดได้มากกว่าปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมก็เสียชีวิตได้ใน 5-7 วัน เพราะเสียเลือด (hypovolumic shock) หรือติดเชื้อ (septic shock)

ในสมัยก่อนการคลอดลูกเสี่ยงสูงมากที่แม่หรือลูกจะตาย ในทางการแพทย์เราพูดกันว่าโอกาสตาย 50/50 ซึ่งมารดาเจ้าชายก็เสียภายใน 7 วัน ไม่มี ICU ไม่มีการให้เลือด ไม่มียาฆ่าเชื้อ

การเดินได้ 7 ก้าว = เวลาเด็กคลอดท่าเท้าออก เมื่อเท้าสัมผัสพื้นก็จะขยับเท้าอัตโนมัติเรียกว่า stepping reflex ทำให้ดูเหมือนการก้าว

ดอกบัวผุด = เวลาลูกกษัตริย์เกิดในป่า ทางวังจะเตรียมอุปกรณ์หลายอย่างที่แสดงถึงความบริสุทธิ์และการเกิดใหม่ของเทพ หนึ่งในนั้นคือ ผ้าขาว ดอกไม้ เครื่องหอม ใบบัว และดอกบัว จะกี่ดอกขึ้นกับพราหมณ์หลวง ดังนั้นจังหวะที่ footling breech และขาแตะพื้นเกิด stepping reflex จึงดูเหมือนก้าวเดินบนดอกบัว

Advertisements
ไขความจริง 'เจ้าชายสิทธัตถะ' หลังประสูติเดินได้ 7 ก้าว มีดอกบัวผุด จริงหรือไม่
ภาพจาก : Somros MD Phonglamai

ใน ⁠2,000 ปีก่อน ทุกศาสนาล้วนสร้างอภินิหารให้คนเชื่อ ในพระไตรปิฎกก็มีการแต่งเติมข้อความไปมากกว่าคำพุทธเจ้า 70% ไม่แปลกที่จะใส่อภินิหารเข้ามา แต่สิทธัตถะเป็นแค่เด็ก ไม่ใช่พุทธเจ้า ยังไม่มีฤทธิ์ใด ๆ ชื่อเจ้าชายสิทธัตถะก็ปรากฏแค่ในพระไตรปิฎก 2 เล่ม เป็นคำบอกเล่ามาจากพระรูปอื่น มิได้มาจากปากพระพุทธเจ้า

เรื่องนี้ไม่มีใครเกิดทัน ไม่มีหลักฐาน และไม่เป็นไปเพื่อปัญญาหรือการหลุดพ้น เหมือนอธิบายเรื่องควอนตัมฟิสิกส์ก็ไม่ทำให้คนทั่วไปอิ่มท้องได้ ยุคนี้เป็นยุคของปัญญานำศรัทธา ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว มักเรียบง่าย ตรงไปตรงมา”

นอกจากนั้นยังได้ทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า “นพ. สมรส (ที่แปลว่า เสมอกันด้วยรสแห่งธรรม) #DrSomros #ScientificBuddhism ปล.

1. ส่วนตัวผมเป็น Scientific Buddhism, เชื่อว่ามนุษย์มีอารยธรรมโซเชียลทุกวันนี้ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เพราะไสยศาสตร์, เราใช้มือถือได้เพรราะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไม่ใช่เพราะการเชื่อมจิต

2. เนื้อหานี้เคยเขียนไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว 30,000+ shares, พี่ ๆ นักข่าวและพี่ ๆ influencer สามารถนำไปทำ content ได้ตามเหมาะสม ไม่ต้องขออนุญาต แค่อย่าพาดหัวดราม่ามากเกินไปนะครับ

3. ยามที่ผู้คนยามลำบากจิตใจท้อแท้ ก็จะหวังพื่งพาน้ำวิเศษ หินวิเศษ คนวิเศษเพื่อให้ตนเองสบายใจ แต่สุดท้ายความคิดเช่นนี้จะกลับมาทำร้ายตัวเอง และขัดขวางความเจริญของตนเองและประเทศชาติ พระพุทธเจ้ากล่าวว่ามิจฉาทิฐิเหล่านี้ ขัดขวางการหลุดพ้น”

จากคำตอบทางวิทยาศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นถึงกลไกทางกายภาพของมนุษย์ ที่เมื่อเท้าของเด็กทารกแตกพื้นก็จะเกิด stepping reflex หรือ ปฏิกิริยาการก้าวเท้า ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากที่เท้าของทารกได้สัมผัสกับพื้นที่เรียบแข็ง โดยจะเกิดขึ้นกับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 2-3 เดือน ด้วยเหตุนี้จึงอาจดูคล้ายการก้าวเดินตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ประกอบกับธรรมเนียมปฏิบัติในยามที่ลูกกกษัตริย์เกิดในป่าเขา พราหมณ์หลวงก็จะจัดเตรียมดอกบัว เครื่องหอมต่าง ๆ เพื่อรองรับการประสูติของทายาทกษัตริย์

อย่างไรก็ดี โพสต์ดังกล่าวของนายแพทย์เป็นการออกมาตอบข้อสงสัยในมุมมองที่พิสูจน์ได้ด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ ผสมผสานเข้ากับธรรมเนียมปฏิบัติในอดีต โดยไม่ได้มีเจตนาท้าทายความเชื่อเดิมของพุทธศาสนิกชนแต่อย่างใด

ข้อมูลจาก mamaschoice

ตามหลักวิทยาศาสตร์ พระพุทธเจ้า หลังประสูติ เดินได้ 7 ก้าว

ตามหลักการแพทย์แล้วสรุปได้อย่างชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าเดินได้ 7 ก้าวไม่จริง เพราะเด็กทารกจะจะเริ่มเดินได้เมื่ออายุประมาณ 11-18 เดือน ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของแต่ละบุคคล เด็กทารกที่เพิ่งคลอดใหม่ๆ กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงพอที่จะเดินได้ การเดินได้ 7 ก้าวทันทีที่ประสูติจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์

ในพระไตรปิฎก ไม่ได้กล่าวถึงการเดินได้ 7 ก้าวของพระพุทธเจ้าเลย เรื่องราวนี้ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อรรถกถา สันนิษฐานว่าน่าจะถูกแต่งขึ้นภายหลังเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นเลิศของพระพุทธเจ้า

อย่างไรก็ตามเหตุการณ์อัศจรรย์นี้ของพระพุทธเจ้าสามารถตีความในเชิงสัญลักษณ์ได้ว่า เดินได้ 7 ก้าว หมายถึง พระพุทธเจ้าจะทรงประกาศพระพุทธศาสนาไปทั่วทั้ง 7 ทวีป ดอกบัวที่ผุดขึ้นรองรับพระบาท หมายถึง พระพุทธเจ้าเป็นผู้บริสุทธิ์จากกิเลสทั้งปวง เปล่งอาสภิวาจา หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาที่ยิ่งใหญ่ ได้รับการยกย่องจากสรรพสัตว์ทั้งหลาย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button