Line Newsไลฟ์สไตล์

ความหมาย “เมียพระราชทาน” ลำดับศักดินาของภรรยาในอดีต

เมียพระราชทาน คืออะไร? เปิดความหมายและลำดับศักดินาของภรรยาในสมัยอยุธยา หลังกลายเป็นที่พูดถึงในละครเรื่องพรหมลิขิต

นับว่าเป็นละครที่มาแรงที่สุดในรอบปี สำหรับ “พรหมลิขิต” ละครภาคต่อของเรื่องบุพเพสันนิวาส แน่นอนว่ากลับมาคราวนี้ไม่ได้มีเพียงแค่ความสนุกครบรส แต่ยังสอดแทรกความรู้ในสมัยอยุธยามาให้คนดูได้ว้าวกันอย่างต่อเนื่อง เช่นการกล่าวถึง “เมียพระราชทาน” ที่มาพร้อมลำดับศักดินาของภรรยาในสมัยโบราณ ที่บอกเลยว่าเมียแต่ละคน มียศฐาบรรดาศักดิ์ต่างกันมากทีเดียว งานนี้ไทยเกอร์เลยจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกันว่า เมียพระราชทานคือใคร แล้วเมียคนอื่นในสมัยก่อน แตกต่างกันอย่างไรบ้าง

เมียพระราชทาน รางวัลแด่ชายในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ในสมัยอดีตผู้ชายไทยสามารถมีภรรยาได้หลายคน หรือที่เรียกกันว่า ผัวเดียวหลายเมีย (Polygamy) จนมีการออกกฎหมายตราสามดวง เพื่อจัดลำดับขั้นภรรยาเอาไว้ โดยภรรยาที่มียศฐาบรรดาศักดิ์สูงสุดก็คือ เมียพระราชทาน

“ภรรยาพระราชทาน” หรือ “เมียพระราชทาน” มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น โดยเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันในช่วงการปกครองรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์จะตอบแทนความจงรักภักดี ให้กับชายที่ทำงานดีและเป็นที่ไว้วางใจ ด้วยการพระราชทานหญิงสาวเป็นบำเหน็จรางวัล

ทำให้ภรรยาที่ได้ชื่อว่า เมียพระราชทาน หรือเมียนาง (นางพระราชทาน) จะมีศักดิ์สูงสุดในบ้านของชายหนุ่มนั้น ๆ แม้ว่าจะเข้ามาที่หลัง หรือไม่ได้รักกันมาก่อนก็ตาม โดยผู้คนในบ้านจะต้องยกย่องและเกรงใจ ให้เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในบ้านรองจากสามี

ยศฐานะบรรดาศักดิ์เมีย อยุธยา

แต่นอกจากเมียพระราชทานแล้ว ในสมัยอยุธยายังได้มีการจัดลำดับภรรยา หรือเมียในเรือนไว้มากถึง 5 ประเภท โดยหากไม่นับเมียพระราชทาน ก็จะมีตำแหน่งอื่น ๆ ดังนี้

เมียอันทูลขอพระราชทาน

สำหรับเมียที่ใหญ่รองลงมาจากเมียพระราชทาน ก็คือ เมียทูลขอพระราชทาน โดยฝ่ายชายต้องเข้าไปทูลกับพระมหากษัตริย์ด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงโปรดพระราชทานให้ตามคำขอ ก็จะทำให้เมียคนนี้มียศที่เหนือกว่าเมียคนอื่นแม้จะเข้ามาทีหลัง โดยเป็นรองเพียงแค่เมียพระราชทานที่ฝ่ายชายได้รับเป็นบำเหน็จรางวัลเท่านั้น

ลำดับเมียในพรหมลิขิต

เมียกลางเมือง

เมียกลางเมือง เปรียบเสมือน “เมียหลวง” ที่เคยได้ยินกันในละครไทย โดยเป็นหญิงที่ครอบครัวไปสู่ขอมาให้กับฝ่ายชาย ซึ่งเป็นไปตามธรรมเนียมของไทยโบราณ โดยหลายบ้านนิยมแต่งกันตามความเหมาะสมของยศฐาบรรดาศักดิ์ของครอบครัว และแม้ว่าหลังจากแต่งงานออกเรือนแล้ว ฝ่ายชายมีหญิงอื่นเพิ่มเติม เมียกลางเมืองก็จะได้รับเกียรติในตำแหน่งเมียหลวงต่อไป

เมียในสมัยอยุธยา

เมียกลางนอก

เมียกลางนอก เป็นรองจากเมียลำดับอื่น ๆ เนื่องจากมียศเป็น “เมียน้อย” หรือ “เมียอนุ” โดยฝ่ายชายจะรับเข้ามาเลี้ยงดูในบ้าน แต่ให้ลดศักดิ์ลงมาอยู่ตำกว่าเมียหลวงที่ตบแต่งตามประเพณี โดยแต่ละบ้านอาจมีเมียกลางนอกกี่คนก็ได้ เพราะกฎหมายในอดีตเป็นแบบผัวเดียวหลายเมียนั่นเอง

เมียทูลขอพระราชทาน

เมียกลางทาษี (เมียทาส)

ส่วนเมียที่ยศต่ำสุดในบ้าน จนเรียกได้ว่าไม่ต่างจากคนรับใช้ทั่วไป ก็คือเมียกลางทาษี หรือที่เรียกกันว่า “เมียทาส” โดยเมียประเภทนี้ได้มาจากการซื้อหรือไถ่ตัวทาสมารับใช้ในบ้าน แต่หากเจ้าของบ้านรู้สึกถูกใจ ก็จะนำมานอนร่วมเตียงเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ตีตัวเสมือนเมียที่มียศฐาบรรดาศักดิ์คนอื่น ทั้งยังต้องทำงานบ้านและเป็นทาสรับใช้คนในเรือนอีกด้วย

ลำดับเมียพระราชทาน

ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์กฎหมาย โดย รศ. ดวงจิตต์ กำประเสริฐ ภาควิชากฎหมายทั่วไป คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ภาพจาก Ch3Thailand

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button