การเงินเศรษฐกิจ

ยื่นฟื้นฟูกิจการ คือล้มละลายหรือไม่ เช็กกฎหมายที่ลูกหนี้ควรรู้

ตอบประเด็นการเงิน “การฟื้นฟูกิจการ” แตกต่างกับ “การล้มละลาย” อย่างไรบ้าง พร้อมอธิบายข้อกำหนดและเงื่อนไขของเจ้าหนี้-ลูกหนี้ และแนะนำตัวอย่างรูปแบบฟอร์มยื่นร้องขอฟื้นฟูกกิจการและการล้มละลาย จากกรณีที่ นายจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ หรือ แอน เจ้าของและซีอีโอ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) หรือ JKN ได้ยื่นศาลล้มละลายกลางขอฟื้นฟูกิจการแล้ว เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 66 แม้ว่าจะมีทรัพย์สินรวมมากกว่าหนี้สินก็ตาม

การฟื้นฟูกิจการคืออะไร

ขั้นตอนการฟื้นฟูกิจการ (Reorganization) เป็นกระบวนการทางกฎหมายเพื่อเป็นทางออกให้กับกิจการ ธุรกิจต่าง ๆ ที่ประสบปัญหาทางการเงิน ขาดสภาพคล่อง สามารถตั้งตัวและหาแนวทางการทางชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ โดยที่กิจการยังดำเนินต่อไปได้ต่อเนื่อง แต่จะไม่สามารถทำธุรกรรมที่จะเพิ่มภาระ หรือทำข้อผูกมัดต่อทรัพย์สินของกิจการได้ เช่น ห้ามจำหน่าย โอน ให้เช่า หรือห้ามก่อหนี้เพิ่มเติม

Advertisements

นอกจากนี้จะต้องมีการยื่นร้องขอฟื้นฟูกิจการและอาศัยอำนาจศาลในการออกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ อ้างอิงตามกฎหมายการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้/ลูกหนี้ ปี พ.ศ. 2541 ระบุว่าผู้ที่มีสิทธิในการขอฟื้นฟูกิจการได้นั้นจะต้องเข้าเงื่อนไข 5 ข้อดังนี้

1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว

2. ลูกหนี้เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนหรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง

3. จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท

4. ลูกหนี้มีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการและมีเหตุอันสมควร (ต้องไม่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด)

Advertisements

5. ยื่นคำขอโดยสุจริต

จากนั้นขั้นตอนถัดไปหากศาลพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าแผนดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ศาลก็จะออกคำสั่งให้มีการฟื้นฟูกิจการและมีคำสั่งให้กลายเป็น การพักชำระหนี้ ส่งผลให้ลูกหนี้สามารถรักษาสภาพคล่องของกิจการให้ยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้

อย่างไรก็ตามการยื่นฟื้นฟูกิจการ มีข้อดีตรงที่ผู้ยื่นร้องขอจะได้รับประโยชน์ในการสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และมีโอกาสในการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร เพื่อยกระดับสภาพคล่องทางการเงินให้ดียิ่งขึ้น และยังรักษาสถานะการจ้างงาน ทำให้เกิดผลดีต่อทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ ผู้ถือหุ้น และลูกจ้าง พนักงานในองค์กรนั้น

ยกตัวอย่างจากกรณี JKN ที่ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง หากศาลพิจารณาอนุมัตแล้ว ก็จะทำให้เจเคเอ็นได้รับการพักชำระหนี้ และยังสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้จนกกว่าจะชำระหนี้ครบทังหมด

การล้มละลายคืออะไร

สำหรับ การล้มละลาย (Bankruptcy) สถานะของบุคคลหรือกิจการที่รับรองโดยกฎหมายว่าบุคคลมีหนี้สินมากจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ หรือก็คือมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินรวม แม้ผิวเผินอาจคล้ายกับการฟื้นฟูกิจการเพราะขาดสภาพคล่องทางการเงิน แต่การล้มละลายจะต้องผ่านกระบวนการ พิทักษ์ทรัพย์ โดยกำหนดอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ให้เข้มาดูแล รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อชดใช้แก่เจ้าหนี้ ผ่านวิธีการยึดหรืออายัดทรัพย์ จากนั้นก็จะนำทรัพย์สินหรือสิ่งของที่ยึดมาได้ขายทอดตลาด นอกจากนี้ลูกหนี้จะไม่สามารถประกอบธุรกรรมใด ๆ กับทรัพย์สินที่ถูกยึดได้นั่นเอง

ทั้งนี้บุคคลล้มละลายนั้น จะต้องมาจากสาเหตุการมีหนี้สินมากจนไม่สามารถชำระเงินคืนเจ้าหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย ตามกฎเกณฑ์ดังนี้

1. กรณีเป็นบุคคลธรรมดา มีหนี้สินมากกว่า 1 ล้านบาท

2. กรณีเป็นนิติบุคคล มีหนี้สินมากกว่า 2 ล้านบาท

3. กรณีเป็นผู้ที่มีแนวโน้ม มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือ ไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้

ยกตัวอย่างกรณ๊หากศาลฯ ไม่อนุมัตแผนการฟื้นฟูกิจการของ JKN แปลว่านับจากนี้ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการยื่นล้มละลาย และมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ โดยที่บุคคลล้มละลายจะไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทั้งสิ้น รวมไปถึงธุรกรรมการเงินต่าง ๆ และไม่สามารถดำรงตำแหน่งในบริษัท ไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศได้ หรือหากมีความจำเป็นจริง ๆ จะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อน

สรุปฟื้นฟูกิจการ-ล้มละลาย ต่างกันอย่างไร

การยื่นฟื้นฟูกิจการ เป็นมุ่งเน้นการรักษากิจการให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยการปรับโครงสร้างหนี้และบริหารจัดการกิจการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้กิจการสามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ในที่สุด ส่วนการล้มละลาย คือการจัดสรรทรัพย์สินของลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้อย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้ หากกิจการไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้ ทรัพย์สินของลูกหนี้จะถูกขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้

ดังนั้นฟื้นฟูกิจการจึงยังไม่เท่ากับล้มละลาย แต่หากกิจการยังไม่สามารถดำเนินการสร้างทรัพย์สินเพื่อมาจ่ายเจ้านี้ได้ตามกำหนดข้อตกลง กระบวนการพิทักษ์ทรัพย์จะเข้ามาและอาจนำไปสู่การล้มละลายได้

แบบฟอร์มการฟื้นฟูกิจการ

ตัวอย่างคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ 1 ตัวอย่างคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ 2 ตัวอย่างคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ 3 ตัวอย่างคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ 4 ตัวอย่างคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ 5 ตัวอย่างคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ 6 ตัวอย่างคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ 7

แบบฟอร์มการยื่นล้มละลาย

สรุปล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ แบบฟอร์มการล้มละลาย 4 สรุปล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ แบบฟอร์มการล้มละลาย 3 สรุปล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ แบบฟอร์มการล้มละลาย 2 สรุปล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ แบบฟอร์มการล้มละลาย 1 สรุปล้มละลายและฟื้นฟูกิจการ แบบฟอร์มการล้มละลาย 5

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : กลต, ศาลล้มละลายกลาง

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button