เศรษฐกิจ

จับตาพรุ่งนี้ (10 พ.ย.) เคาะแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ได้ทุกคนหรือตัดสิทธิคนรวย

จับตาพรุ่งนี้ 10 พฤศจิกายน เคาะแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ลุ้นเงื่อนไขตกลงจะได้ทุกคนหรือตัดสิทธิคนรวย คนมีฐานะ รายละเอียดทั้งหมดถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร กางไทม์ไลน์ดูด้วยกันที่นี่

วันที่ 9 พ.ย.2566 เกาะติดความคืบหน้า โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,00 บาท ของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลังจากเริ่มมีกระแสความชัดเจนขึ้นอีกลำดับ เมื่อมีการเปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (10 พ.ย.66) นายเศรษฐา เตรียมเข้าประชุมกับคณะกรรมการนโยบาย ซึ่งล่าสุดทางทีมงานนายกฯ ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเงื่อนไข หลักเกณฑ์ รวมไปทั้งแหล่งที่มาของเงินที่จะใช้ในโครงการเบื้องต้นแล้ว

Advertisements

ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีเป็นคนแย้มด้วยตัวเองว่าจะเคลียร์ให้จบในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 สอดคล้องกับการให้สัมภาษณ์ของ จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเลต เปิดเผยเมื่อ 7 พ.ย.66 หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ยังไม่มีการนำเรื่องแจกเงินดิจิทัลวอลเลตเข้าครม. โดยขอให้รอการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ในวันศุกร์นี้ (10 พ.ย.) ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง จะแถลงความชัดเจนของโครงการนี้ด้วยตัวเอง

ทั้งนี้ ขออนุญาตพาทุกท่านย้อนดูไทม์ไลน์ความชัดเจนของโครงการดังกล่าวอีกครั้ง เริ่มจากคำถามสำคัญ นิยาม “กระตุ้นเศรษฐกิจ” จะยังเป็นสโลแกนหลักของโครงการหรือไม่ ?

คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet
แฟ้มภาพ Facebook @MoFNewsStationThailand

เมื่อวันที่ อาจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกมาเสนอรัฐบาลว่า ควรเปลี่ยนและทำโครงการเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำความยากจนแบบพุ่งเป้าจะเหมาะสมกว่า

อ. ปริญญา กล่าวว่า นโยบายดิจิทัลวอลเล็ตของพรรคเพื่อไทย เป้าหมายคือไม่ใช่แก้ปัญหาความยากจน แต่คือกระตุ้นเศรษฐกิจและมีเรื่องประชานิยมด้วย ทั้งเงิน 5.6 แสนล้านบาท ไม่เป็นเรื่องใหญ่หากงบประมาณรายจ่ายอยู่ที่ 3.3 ล้านล้านบาท หากนำงบประมาณช่วยคนไทยหลุดพ้นความยากจนถือว่าคุ้ม แต่หากการแจกเงินอย่างเดียวเชื่อว่าไม่แก้ปัญหาความเลื่อมล้ำ

ส่วนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจยังมีปัญหา หากเลือกจะแจกเฉพาะคนมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ถือว่าไม่คลุมเรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจ

Advertisements

ดังนั้น อาจารย์และนักวิชาการจากรั้วม.ธรรมฝสาสตร์ จึงมองว่ารัฐบาลควรเปลี่ยนโครงการเป็น “เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ” ความยากจนแบบพุ่งเป้าจะเหมาะสมกว่า พร้อมยกตัวอย่างหลักทำน้อยได้มากของประเทศจีนที่ใช้งบ 5แสนล้านบาทต่อปีเพื่อแก้ปัญหาความยากจน ขณะที่ประชากรในประเทศมีกว่า 1,000 ล้านคน

ทั้งนี้ อ. ปริญญา ไม่เห็นด้วยกับการใช้เงินเพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีเป้าหมาย

จุลพันธ์ เงินดิจิทัลวอลเล็ต
แฟ้มภาพ Facebook @jamornvivat
เรราต้องการเงินดิจิทัล 10,000 เพื่อไทย
แฟ้มภาพ Facebook @jamornvivat

“กระตุ้นใช้จ่าย” เปลี่ยนเป็น เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ

อ้างอิงข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 5 พ.ย.2566 ที่ผ่านมา สำหรับรายละเอียดเบื้องต้นของการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการหารือถึงการปรับเปลี่ยนคำนิยามของการดำเนินโครงการใหม่จากเดิมรัฐบาลเป็นนโยบาย “เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการใช้จ่าย” เปลี่ยนเป็น “เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ” แทน

การปรับเปลี่ยนคำนิยมของโครงการครั้งนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ของโครงการใหม่และในเชิงการเมืองยังสามารถลดแรงกดดันจากการจัดทำนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งนับเป็นวาระเร่งด่วนที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

แฟ้มภาพ Facebook @MoFNewsStationThailand

คณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท
แฟ้มภาพ Facebook @MoFNewsStationThailand
คณะทำงานแจกเงินดิจิทัล 10,000
แฟ้มภาพ Facebook @MoFNewsStationThailand

เงื่อนไขเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ถึงตอนนี้ รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ?

ในการหารือของคณะอนุกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับเงื่อนไขหลายอย่างสำหรับการเข้าร่วมโครงการโดยเฉพาะกรณีของร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการนั้น ได้มีการเสนอเงื่อนไขการใช้เงินผ่าน “กระเป๋าเงินดิจิทัล” หรือดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งจะกำหนดว่า ผู้ที่ได้รับเงินดิจิทัลสามารถนำเงินดิจิทัลไปใช้ได้กับสินค้าตามที่ระบุไว้เท่านั้น ไม่สามารถนำมาใช้กับบริการต่าง ๆ ได้

ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระต่าง ๆ ไม่สามารถร่วมในโครงการและใช้เงินดิจิทัลได้

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของสินค้าที่คาดว่าจะใช้เงินดิจิทัลจ่ายได้นั้น รัฐบาลจะกำหนดรายละเอียดไว้เบื้องต้นซึ่งคาดว่าจะเน้นไปที่สินค้าในกลุ่มที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหลัก.

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button