ข่าวภูมิภาค
ถอนไม่สร้างโรงงานชำแหละเนื้อสุกร แต่จะขอสร้างเป็นห้องเย็น
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 28 มิถุนายน 2561 ที่ศาลาประชาคมหมู่ที่ 3 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้จัดประชุมชี้แจงและทำความเข้ าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ ต. ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต กรณีที่ทางบริษัทฯ จะทำการก่อสร้างโรงงานตัดแต่ งและแปรรูปสุกรภาคใต้ ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.ไม้ขาว อ.ถลางดังกล่าว หลังมีชาวบ้านยื่นหนังสือคัดค้ านการตั้งโรงงานดังกล่าวต่อสำนั กงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ ตและศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดภูเก็ต รวมถึงมีการออกมาเคลื่อนไหวคั ดค้านผ่านสื่อโซเซียลต่างๆ โดยให้เหตุผลว่า ไม่ทราบข้อเท็จจริงมาก่อนว่ าจะมีโครงการดังกล่าว และมองว่าจะกระทบต่อชาวบ้านในพื้ นที่ เนื่องจากจุดที่จะก่อสร้างนั้ นอยู่ในชุมชนประกอบกับพื้นที่ ต.ไม้ขาว เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรั กษ์ และเป็นพื้นที่สีเขียวด้วย โดยมีหน่วยงานจากส่วนราชการที่ เกี่ยวข้อง อาทิ อำเภอถลาง ปศุสัตว์จังหวัดภูเก็ต สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ ต องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว เป็นต้น และชาวบ้านที่ไม่เห็นด้วยกั บโครงการดังกล่าวในพื้นที่หมู่ ที่ 2, 3, 7 และใกล้เคียง จำนวนประมาณ 200 คน เข้าร่วม พร้อมแผ่นป้ายข้อความต่างๆ
อย่างไรก็ตามการจัดประชุมชี้ แจงในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจสุกร มีความประสงค์จะก่อสร้ างโรงงานตัดแต่งและแปรรูสุ กรภาคใต้ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เบื้องต้นทางบริษัทฯ ได้เข้าไปสำรวจและคัดกรองพื้นที่ บริเวณฟาร์มเลี้ยงสุกรของบริษั ทฯ ซึ่งมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุ มชนรอบข้าง และด้วยตระหนักถึงความเดือดร้ อนของชุมชน จึงมีแนวคิดเปลี่ยนมาเป็ นโรงงานตัดแต่งและแปรรูปสุกรแทน ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ อมและชุมชนรอบข้างน้อยกว่า โดยบริษัทฯ ได้ทำประชาคมหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2560 ที่ศาลาประชาคมหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.ไม้ขาว อ.ถลาง พร้อมชี้แจงให้ชาวบ้านเข้าใจเกี่ ยวกับที่ดินและการก่อสร้ างโรงงานตัดแต่งและแปรรูปสุ กรไปแล้ว แต่มีชาวบ้านบางส่วนไม่ได้เข้ าร่วมประชุมทำประชาคม และมีข้อสงสัยให้บริษัทฯ ชี้แจง
โดยทางผู้แทนของบริษัท ระบุว่า โรงงานแปรรูปที่จะก่อสร้างนั้น จากพื้นที่ฟาร์มเดิมประมาณ 40 ไร่ แต่ได้ขออนุญาตใหม่ประมาณ 10 ไร่ ซึ่งก่อสร้างจริงจะใช้พื้นที่ ประมาณ 1,300 ตารางเมตร และเป็นโรงงานปิด มีระบบบำบัดน้ำเสี ยภายในโรงงานและเป็นมาตรฐาน GMP
อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการชี้ แจงทำความเข้าใจกับชาวบ้านเป็ นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้ข้อยุติ ที่ประชุมจึงได้เสนอให้ผู้นำชุ มชน, กำนันผู้ใหญ่บ้าน, ประธานสภา อบต. ไม้ขาว, สมาชิก อบต.ไม้ขาว, ตัวแทนอำเภอถลาง, สิ่งแวดล้อม, อุตสาหกรรมจังหวัด, ตัวแทน บ.ซีพีเอฟ. และแกนนำชาวบ้านส่วนหนึ่ง เข้าประชุม เพื่อหาแนวทาง โดยใช้เวลาอีกประมาณ 1 ชั่วโมง และได้ข้อยุติ ว่า ทางตัวแทน บ.ซีพีเอฟ.ฯ ได้ขอถอนไม่สร้ างโรงงานชำแหละเนื้อสุกรแล้ว แต่จะขอสร้างเป็นห้องเย็น โดยที่ประชุมฯ ได้สรุปให้ไปเริ่มต้ นกระบวนการยื่นขออนุญาตก่อสร้ างใหม่ และดำเนินการตามขั้ นตอนการทำประชาคมกับชาวบ้านใหม่ อีกครั้ง