ไลฟ์สไตล์

รู้จักโรค PTSD อาการป่วยทางจิตใจ ผลกระทบจากความรุนแรงในอดีต

ชวนรู้จัก ภาวะ PTSD โรคจิตเภทที่ได้รับผลกระทบ จากเหตุการณ์เลวร้ายในอดีต ส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ยากลำบาก มีแนวทางการรักษาอย่างไรบ้าง เช็กที่นี่

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า แม้จะผ่านเรื่องร้าย ๆ มาได้แล้ว แต่ผู้คนจำนวนมากยังคงทุกข์ทรมานจากความทรงจำในอดีต เช่น การเห็นคนเสียชีวิตต่อหน้า ภาวะสงคราม หรืออยู่ในเหตุการณ์ขวัญผวาอย่างข่าวกราดยิงในพารากอน ส่งผลให้หลายคนกลายเป็นโรค PTSD หรือ “โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะทือนขวัญ” ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติ โดยไม่หวาดผวาได้อีกครั้ง

Advertisements

โรค PTSD คืออะไร? เปิดสาเหตุ-อาการ เป็นแล้วมีโอกาสหายไหม

PTSD มีชื่อเต็มว่า Post-traumatic stress disorder เป็นโรคที่เกิดจากความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ ส่งผลให้เกิดสภาวะทางอารมณ์ที่ไม่คงที่ โดยโรคพีทีเอสดีสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศและทุกวัย

โรค PTSD สาเหตุ

สาเหตุที่ทำให้ป่วยเป็น PTSD

เหตุการณ์สะเทือนใจที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นโรค PTSD มีด้วยกันหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนเกิดจากประสบการณ์ของบุคคลนั้น ๆ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป บาดแผลภายนอกร่างกายอาจจางหาย แต่ความรู้สึกและความทรมานในจิตใจ ยังคงตอกย้ำความรู้สึกผู้ป่วย และถูกกระตุ้นได้ง่าย (ทริกเกอร์ : Trigger) โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย มีดังนี้

  • สูญเสียคนที่รัก หรือคนในครอบครัว
  • ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือข่มขืน
  • เกิดอุบัติเหตุ
  • เห็นคนเสียชีวิตต่อหน้า
  • อยู่ในเหตุการณ์รุนแรง เช่น กราดยิง ถูกจับเป็นตัวประกัน
  • เติบโตในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง
  • ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • พลัดหลงตามลำพัง
  • ถูกกลั่นแกล้งในวัยเรียน

โรค PTSD อาการ

อาการและผลกระทบของโรค PTSD

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรค PTSD แต่ละคนจะมีอาการที่เกิดขึ้นมากน้อยต่างกันไป โดยอาการที่พบเจอได้บ่อย มีดังนี้

Advertisements
  • รู้สึกว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เช่น ฝันร้าย ความทรงจำย้อนกลับ และความคิดที่เข้ามารบกวนจิตใจ
  • การหลีกเลี่ยง เช่น เกิดภาวะด้านชาทางอารมณ์ ไม่แสดงความรู้สึก เลี่ยงกลับในที่เกิดเหตุ ไม่พูดถึงเหตุการณ์นั้น ๆ
  • อาการตื่นตัวมากผิดปกติ เช่น นอนหลับยาก หงุดหงิดง่าย หวาดระแวงอย่างรุนแรง
  • การรับรู้และอารมณ์เปลี่ยนไป เช่น มีความรู้สึกนึกคิดในด้านลบ
  • ป่วยโรคอื่นแทรกซ้อน เช่น โรคซึมเศร้า โรคหลายบุคลิก

ทั้งนี้ผู้ป่วยโรค PTSD จะถูกประเมินอาการอย่างละเอียด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งจะอ้างอิงผลกับคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต (DSM-5)

โรค PTSD วิธีรักษา

วิธีการรักษาและแนวทางการบำบัดผู้ป่วย PTSD

การรักษาและบำบัดโรค PTSD ในผู้ป่วย มีด้วยกันหลายวิธี และในหลายกรณีแพทย์จะใช้วิธีรักษาควบคู่กันไป ดังนี้

  • การบำบัดทางปัญญาและพฤติกรรม (CBT)
  • การลดความไวและการประมวลผลการเคลื่อนไหวของดวงตา (EMDR)
  • การใช้ยา
  • การบำบัดแบบกลุ่ม

นอกจากนี้ทีมแพทย์ ยังมีกลยุทธ์ที่ไว้รับมือสำหรับบุคคลที่เป็นโรค PTSD อีกด้วย เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคม และมีอาการที่ดีขึ้นได้ เช่น การพัฒนาเครือข่ายสนับสนุนผู้ป่วย ให้ความรู้ครอบครัวและคนใกล้ชิด เป็นต้น

โรค PTSD เกิดจากอะไร ใครเป็นได้บ้าง

PTSD เป็นภาวะที่ซับซ้อนและสามารถพบเจอได้ในคนทุกเพศทุกวัย ดังนั้นการทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ และทางเลือกในการรักษา ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ที่เป็นโรค PTSD เพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนสามารถทำงานและใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนก้าวข้ามต้นต่อความทรมานทางจิตใจ เพื่อลดปัญหาสุขภาพจิต และทำให้ชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นได้.

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button