เช็กด่วน! เงินผู้สูงอายุรายได้น้อย เดือนตุลาคม 2566 เข้าบัญชีกี่บาท หลังกรมบัญชีกลางเตรียมโอนให้ 6 ตุลาคม 2566 นี้
รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง “น.ส.ทิวาพร ผาสุข” ได้ออกมาเปิดเผยตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 ว่า ได้มีการอนุมัติแนวทางการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ตามสิทธิ์ในโครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565 ในอัตรา 100 บาทต่อเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2566 ซึ่งจะแบ่งกลุ่มจ่ายเงิน ดังนี้
- เกิดก่อน 1 เม.ย. 2506 ได้รับสิทธิ เม.ย – ก.ย. 66 จำนวน 600 บาท
- เกิดระหว่าง 1-30 เม.ย. 2506 ได้รับสิทธิ พ.ค. – ก.ย. 66 จำนวน 500 บาท
- เกิดระหว่าง 1-31 พ.ค. 2506 ได้รับสิทธิ มิ.ย. – ก.ย. 66 จำนวน 400 บาท
- เกิดระหว่าง 1 – 30 มิ.ย. 2506 ได้รับสิทธิ ก.ค. – ก.ย. 66 จำนวน 300 บาท
- เกิดระหว่าง 1-31 ก.ค. 2506 ได้รับสิทธิ ส.ค. – ก.ย. 66 จำนวน 200 บาท
- เกิดระหว่าง 1-31 ส.ค. 2506 ได้รับสิทธิ ก.ย. 66 จำนวน 100
กรมบัญชีกลางโอนเงิน รอบเดือนตุลาคม 2566
สำหรับการโอนเงินผู้สูงอายุรายได้น้อย เดือนตุลาคม 2566 จะเริ่มทำการโอนเข้าบัญชีในวันที่ 6 ตุลาคมนี้ ตามกำหนดการที่ได้มีการแจ้งไว้ล่วงหน้า ดังต่อไปนี้
- เกิดก่อน 1 ม.ค. 2494 ยืนยันตัวตนภายใน 26 ส.ค. 66 และผูกบัญชีพร้อมเพย์ภายใน 7 ก.ย. 66 กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้ในวันที่ 12 กันยายน 2566
- เกิดระหว่าง 1 ม.ค. 2494 – 31 ธ.ค. 2500 ยืนยันตัวตนภายใน 26 ส.ค. 66 และผูกบัญชีพร้อมเพย์ภายใน 7 ก.ย. 66 กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้ในวันที่ 13 กันยายน 2566
- เกิดระหว่าง 1 ม.ค. 2501 – 31 ส.ค. 2506 ยืนยันตัวตนภายใน 26 ส.ค. 66 และผูกบัญชีพร้อมเพย์ภายใน 7 ก.ย. 66 กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้ในวันที่ 14 กันยายน 2566
- เกิดก่อน 1 ก.ย. 2506 ยืนยันตัวตนภายใน 26 ก.ย. 66 และผูกบัญชีพร้อมเพย์ภายใน 3 ต.ค. 66 กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้ในวันที่ 6 ตุลาคม 2566
- เกิดก่อน 1 ก.ย. 2506 ยืนยันตัวตนภายใน 26 ต.ค. 66 และผูกบัญชีพร้อมเพย์ภายใน 1 พ.ย. 66 กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566
- เกิดก่อน 1 ก.ย. 2506 ยืนยันตัวตนภายใน 26 พ.ย. 66 และผูกบัญชีพร้อมเพย์ภายใน 30 พ.ย. 66 กรมบัญชีกลางจะโอนเงินให้ในวันที่ 6 ธันวาคม 2566
ทั้งนี้ผู้มีสิทธิที่ยังไม่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) สามารถไปยืนยันตัวตนได้ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา และสำหรับผู้มีสิทธิที่ไม่สามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนได้ (เฉพาะกรณีผู้พิการ/ผู้ป่วยติดเตียง/ และหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่สามารถเปิดบัญชีหรือผูกพร้อมเพย์ได้) สามารถแจ้งความประสงค์ให้โอนเงินเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่น หรือเข้าบัญชีบุคคลอื่นได้เช่นกัน.