การเงินเศรษฐกิจ

วิธีลงทะเบียน ‘เงินฝากปันน้ำใจ’ ออมสิน ดอกเบี้ย 1.20% ถึง 31 ต.ค 66

ลงทะเบียน ธนาคารออมสิน ผลิตภัณฑ์การเงินล่าสุด “เงินฝากปันน้ำใจ” (เผื่อเรียกพิเศษ) ดอกเบี้ย 1.20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี สามารถแบ่งดอกเบี้ยผ่าน 4 มูลนิธิ เพื่อลดหย่อนภาษี

ธนาคารออมสิน (GSB Bank) เปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ระบบออนไลน์ เปิดบัญชีฝากเงินและเลือกมูลนิธิที่จะบริจาคในผลิตภัณฑ์ เงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ) ได้แล้วตั้งแต่บัดนี้ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2566 หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ

ผู้ที่สนใจใน เงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ) สามารถเช็กวิธีการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ และเงื่อนไขการสมัครกับเอกสารที่ต้องเตรียมได้แล้วที่นี่

ลงทะเบียน เงินฝากปันน้ำใจ 2566

วิธีลงทะเบียนเงินฝากปันน้ำใจ

สำหรับวิธีลงทะเบียนเงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ) ทางเว็บไซต์ธนาคารออมสิน มีดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ธนาคารออมสิน www.gsb.or.th เลือก Banner เงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)

2. เลือกลงทะเบียนฝากเงินและเลือกมูลนิธิ

3. อ่านรายละเอียดเงื่อนไข และข้อกำหนดให้เรียบร้อย ก่อนคลิกทำเครื่องหมายถูกต้องที่ช่อง “ข้าพเจ้าได้อ่านและทำความเข้าใจข้อกำหนดและเงื่อนไขข้างต้นแล้ว โดยตกลงและยอมรับปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ทุกประการ” จากนั้น เลือกยืนยันตามข้อตกลง

4. กรอกข้อมูลส่วนตัว ประกอบด้วย

  • เลขที่บัตรประชาชน
  • ชื่อ-นามสกุล
  • เบอร์โทรศัพท์มือถือ ยืนยันหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
  • ระบุจำนวนเงินลงทะเบียน (ขั้นต่ำ 10,000 บาท)
  • เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วกดกดต่อไป

5. เลือกมูลนิธิที่ต้องการสนับสนุนได้จาก 4 มูลนิธิที่เข้าร่วมโครงการ

  • มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
    มูลนิธิสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท
  • มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทสไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์
  • มูลนิธิบ้านนกขมิ้น

6. เมื่อเลือกเสร็จแล้วกดต่อไป

7. จากนั้นตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน เมื่อข้อมูลถูกต้องแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นการลงทะเบียนเงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)

ลงทะเบียน เงินฝากปันน้ำใจ 2023

ข้อกำหนด ลงทะเบียนเงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)

1. ผู้ลงทะเบียนที่ประสงค์เปิดบัญชีเงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ) เพื่อใช้บริการ ณ ธนาคารออมสินสาขา (“ผู้ลงทะเบียน”) สามารถลงทะเบียนได้ 2 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ http://www.gsb.or.th หรือ line Official : GSB Society (“ลงทะเบียน”)

  • โดยธนาคารเปิดให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป และภายหลังการลงทะเบียนการฝากเงิน “เงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)” ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียนได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามที่ธนาคารกำหนด

2. ผู้ลงทะเบียนจะต้องกรอกข้อมูลตามที่ธนาคารกำหนดให้ครบถ้วน โดยระบุจำนวนเงิน และเลือกมูลนิธิ ที่ต้องการบริจาค

3. ธนาคารเปิดรับฝาก “เงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)” ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 31 ตุลาคม 2566 จำนวนเงินในการลงทะเบียนขั้นต่ำ 10,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนเงินสูงสุด

4. ผู้ลงทะเบียนใช้หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 1 หมายเลข ทำการลงทะเบียนได้ 1 ครั้งเท่านั้น

5. ผู้ลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนแทนผู้อื่นได้ โดยต้องระบุข้อมูลหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลนั้น ๆ

6. ผู้ลงทะเบียนตกลงและยอมรับ เมื่อมีการลงทะเบียนผ่านช่องทางของธนาคาร และปฏิบัติตามขั้นตอนที่ธนาคารกำหนดไว้จนปรากฏหน้าจอการลงทะเบียนการฝากเงิน “เงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)” แล้ว ให้ถือเป็นการลงทะเบียน โดยผู้ลงทะเบียนเอง และผู้ลงทะเบียนตกลงตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลการลงทะเบียนก่อนการยืนยันสำเร็จ

7. เมื่อลงทะเบียนสำเร็จแล้ว ผู้ลงทะเบียนถ่ายภาพหน้าจอการลงทะเบียนสำเร็จเพื่อเป็นหลักฐานในการติดต่อ รับบริการฝากเงิน “เงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)” กับธนาคาร ซึ่งเมื่อลงทะเบียนสำเร็จแล้ว ผู้ลงทะเบียนสามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้

8. ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการลงทะเบียนเงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ) ตามความเหมาะสม โดยธนาคารจะแจ้งหรือประกาศให้ทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามที่ธนาคารเห็นสมควร

ลงทะเบียน เงินฝากปันน้ำใจ ลดหย่อนภาษี

เงื่อนไขเงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)

1. ผู้ฝากจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาอายุตั้งแต่ 7 ปี ขึ้นไป ที่มี ชื่อ – สกุล ตรงกับผู้ลงทะเบียนฝากเงิน และมีหลักฐานการบันทึกภาพหน้าจอการลงทะเบียนฝากเงิน “เงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)” สำเร็จจากธนาคารเท่านั้น

2. ผู้ฝากเปิดบัญชีได้คนละ 1 บัญชี เท่านั้น

3. ไม่รับฝากบัญชีเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ บัญชีร่วม บัญชีคณะบุคคล และบัญชีนิติบุคคล

4. ต้องมีบัญชีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกเป็นบัญชีคู่โอน

5. เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท และฝากเพิ่มครั้งละไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ได้ไม่เกินวันที่ 31 ตุลาคม 2566

6. ผู้ฝากจะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อปี และบริจาคเงินในอัตราร้อยละ 0.20 ต่อปี ให้กับมูลนิธิช่วยเหลือสังคม

7. จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน โดยโอนเข้าบัญชีเผื่อเรียกที่เป็นบัญชีคู่โอน ทุกวันสิ้นเดือน

8. จ่ายดอกเบี้ยเมื่อฝากครบ 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ฝาก ธนาคารจะโอนยอดเงินฝากและดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากประเภทเผื่อเรียกที่เป็นบัญชีคู่โอนที่ผู้ฝากแจ้งไว้ ชนวันตามวันที่ฝาก

9. ถอนครั้งละเท่าใดก็ได้

10. ถอนหรือปิดบัญชีก่อนฝากครบ 6 เดือน จำนวนเงินที่ถอนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.20 ต่อปี

11. ไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย

เปิดเงื่อนไขการบริจาค

1. ผู้ฝากเลือกมูลนิธิที่ประสงค์จะบริจาคเงิน สามารถเลือกได้มากกว่า 1 มูลนิธิ ดังนี้

  • มูลนิธิสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท
  • มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย
  • มูลนิธิบ้านนกขมิ้น
  • มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

2. ผู้ฝากจะได้รับอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 ต่อปี และบริจาคเงินในอัตราร้อยละ 0.20 ต่อปี ให้กับมูลนิธิช่วยเหลือสังคม

3. ธนาคารจะดำเนินการหักเงินบริจาคร้อยละ 0.20 ต่อปี หลังจากลงรับดอกเบี้ยทุกเดือนจากบัญชีคู่โอน

4. นำเงินไปบริจาคให้แต่ละมูลนิธิตามที่ผู้ฝากเลือกในเดือนถัดไป

5. ธนาคารจะนำส่งข้อมูล ชื่อ-สกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน และจำนวนเงินบริจาค ให้กับมูลนิธิดำเนินการบันทึกข้อมูลการบริจาคผ่านระบบ e-Donation โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลการบริจาคได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร (www.rd.go.th)

6. รายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับฝากและเงื่อนไขการบริจาค “เงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ)” ให้เป็นไปตามประกาศธนาคาร “การรับจ้างเปิดบัญชีและการซื้อขายบัญชีมีโทษตามกฎหมาย”

อย่างไรก็ตาม สำหรับช่องทางลงทะเบียนเงินฝากปันน้ำใจ (เผื่อเรียกพิเศษ) สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้ครับ

  • เว็บไซต์ www.gsb.or.th
  • Line : gsbsociety
  • ติดต่อฝากเงินที่ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ

ลงทะเบียน เงินฝากปันน้ำใจ ลดหย่อนภาษี

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button