ข่าวข่าวการเมือง

รู้หรือไม่ “ชูกำปั้นเหนือศีรษะ” เป็นนัยถึงการต่อต้าน “เผด็จการ”

รู้หรือไม่ การชูกำปั้น ยกขึ้นเหนือศรีษะ ไม่ได้เป็นเพียงแค่ท่าถ่ายรูป แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ สื่อถึงนัยทางการเมือง สัญลักษณ์การต่อต้านเผด็จการสากล

ท่ามกลางประเด็นร้องทางการเมืองของไทย ที่ล่าสุด พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่สามารถก้าวขึ้นเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนต่อไปได้ ในช่วงท้ายก่อนที่จะเดินออกจากสภา พิธาและพรรก้าวไกล พร้อมใจกันถ่ายรูป ชูกำปั้นเหนือศีรษะ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่ทราบ ว่านี่คือสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความไม่ดปร่งใส การต่อต้านเผด็จการ ที่นิยมใช้กันทั่วโลก!

ที่มา ชูกำปั้นเหนือศีรษะ (Raised fist) สัญลักษณ์ต่อต้านเผด็จการ

การชูกำปั้นเหนือศีรษะ หรือ Raised fist เป็นภาพสะท้อนความหมายที่หลากหลายที่มีมาช้านาน มักจะเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์สากลของการต่อต้าน ระบอบเผด็จการ

ต้นกำเนิดของการชูกำปั้นเป็นสัญลักษณ์ เริ่มจากการใช้ในลัทธิสหภาพแรงงานอนาธิปไตยและขบวนการแรงงานได้เริ่มขึ้นในทศวรรษที่ 1910 โดย วิลเลียม บิ๊กบิล เฮย์วูด สมาชิกผู้ก่อตั้ง Industrial Workers of the World ให้คำนิยามของกำปั้นว่าเปรียบเหมือน การรวมตัวกันเพื่อสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่า เหมือนนิ้วมือที่เมือกำรวมกันก็สามารถเพิ่มกำลังได้

นอกจากนี้นิตยสาร Mother Earth ในสหรัฐอเมริกา อธิบายว่าการกำหมัดแน่นเป็น “สัญลักษณ์ของการปฏิวัติสังคม” ในปี 1904

สัญลักษณ์การชูกำปั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปี 1948 โดยร้าน Taller de Gráfica Popular ซึ่งเป็นร้านพิมพ์ในเม็กซิโก ที่ใช้ศิลปะเพื่อผลักดันการปฏิวัติสังคมแพร่กระจายไปทั่วสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งปี 1960 ศิลปินและนักกิจกรรม Frank Cieciorka ได้ต่อยอดผลงานสำหรับนักเรียนเพื่อสังคมประชาธิปไตย และขบวนการพลังสีดำในเวลาต่อมา

การชูกำปั้นขวา เคยใช้ในโปสเตอร์ที่ผลิตในหลายครั้งเพื่อแสดงถึงความไม่เป็นะณณมและการต่อต้าน เช่น ปี 1968 ในการจลาจลในฝรั่งเศส, ปี 1970 สัญลักษณ์สตรีนิยม, ปี 2003 Sisterhood Is Forever ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีระหว่างการประท้วง Miss America ตั้งแต่ในปี 1968

ในโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1968 ที่เม็กซิโกซิตี้ ผู้ชนะเหรียญรางวัลจอห์น คาร์ลอส และทอมมี่ สมิธ สองนักกีฬาผิวสี ชูกำปั้นแสดงจุดยืนของตนเอง ระหว่าง เพลงชาติอเมริกันเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อต้านการเหยียดผิว และเป็นการประท้วงในนามของโครงการโอลิมปิกเพื่อสิทธิมนุษยชน ท้ายที่สุดพวกเขาถูกห้ามเข้าร่วมแข่งโอลิมปิกตลอดชีวิต

ในปี 1990 เนลสัน แมนเดลา นักเคลื่อนไหวต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว ยังชูกำปั้นขวาขึ้นเหนือศีรษะ ทำความเคารพเมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำวิคเตอร์ เวอร์สเตอร์ หลังจากถูกจำคุกเป็นเวลาทั้งสิ้น 27 ปี.

 

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button