12 วิธีจัดอาหารให้ ‘ผู้สูงอายุ’ เปลี่ยนทุกจานให้ดีต่อใจ ปลอดภัยต่อสุขภาพ
อาหารการกิน ถือเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น ๆ ในชีวิตประจำวันของทุกคน โดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ ยิ่งควรใส่ใจการกินเป็นพิเศษ SAIJAI (ใส่ใจ) ให้ความสำคัญกับทุกคนในบ้าน วันนี้เลยไม่พลาดที่จะนำความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับเคล็ดลับในการจัดเตรียมมื้ออาหารให้ผู้สูงอายุ เพื่อให้คนที่เรารักมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและได้รับประโยชน์จากการกินไปแบบเต็ม ๆ นั่นเอง
12 วิธีจัดอาหารให้ผู้สูงอายุ เปลี่ยนจานธรรมดาให้มีแต่คุณค่าต่อร่างกาย
ถ้าลูกหลานคนไหนที่หนักใจว่าการเตรียมอาหารให้ผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่ต้องมีเงื่อนไขเยอะและยุ่งยาก ใส่ใจต้องขอสะกิดบอกดัง ๆ เลยว่าไม่ใช่อย่างที่คิดค่ะ เพียงแค่ใส่ใจมากขึ้นอีกนิดหน่อย รับรองว่ามีสุขภาพดีทุกวัยในบ้านอย่างแน่นอน โดยวิธีเหล่านี้ได้รับคำแนะนำจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพราะฉะนั้นมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูลกันได้แน่นอน หากพร้อมแล้วก็ไปติดตามกันเลย
1. จัดอาหารให้ครบ 5 หมู่
รับประทานให้หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม โดยอาหารที่ควรเน้นในที่นี้มีด้วยกัน 5 หมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต (ข้าว,น้ำตาล,แป้ง), โปรตีน (เนื้อสัตว์, ไข่, ถั่ว), วิตามินและเกลือแร่ (ผัก, ผลไม้) และ ไขมัน โดยควรกระจายสัดส่วนให้เหมาะสมทุกประเภท เพราะอะไรที่มีประโยชน์ แต่หากสะสมในร่างกายมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดโทษได้
2. เลือกข้าวแบบไม่ขัดสี
เลือกรับประทานข้าวแบบไม่ขัดสีเป็นหลักจะดีกว่าการรับประทานข้าวขาว โดยรับประทานสลับกับอาหารประเภทแป้งรูปแบบอื่น ๆ เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน เป็นต้น
3. เลือกทานโปรตีนให้ดี
อีกหนึ่งหมวดหมู่อาหารที่ควรให้ความสำคัญก็คือ โปรตีน นั่นเอง โดยควรเลือกปรุงอาหารที่วัตถุดิบมีโปรตีนอย่างเป็นประจำ เช่น ปลา ไข่ เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ถั่วเมล็ดแห้ง
4. กินผักให้หลากสี
เลือกรับประทานผักให้หลากหลายชนิด ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผักใบเขียวเท่านั้น แต่ผักสีเหลือง สีม่วง สีแดงก็มีประโยชน์เช่นกัน หากใครนึกไม่ออกก็ลองเลือกหยิบจากรายการผักสีต่าง ๆ ที่ใส่ใจลิสต์มาไว้ให้ได้เลยค่ะ
ผักสีเขียว : คะน้า, ปวยเล้ง, กะหล่ำปลี, บรอกโคลี, กวางตุ้ง, ผักโขม, ผักบุ้ง, ถั่วลันเตา
ผักสีม่วง : มะเขือม่วง, กะหล่ำปลีม่วง, พรุน
ผักสีเหลือง แดง ส้ม : แครอท, ฟักทอง, มันเทศ, ข้าวโพด, พริกเหลือง, มะเขือเทศ
ผักสีขาว : หัวไชเท้า, หอมแดง, ดอกกะหล่ำ, ดอกแค, ผักกาดขาว
5. เลือกรับประทานผลไม้ไม่หวานจัด
แม้ว่าผลไม้จะมีประโยชน์แต่ก็ควรเลือกรับประทานให้ดี เลือกทานผลไม้ที่มีปริมาณน้ำตาลไม่สูงมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคอื่น ๆ เช่น เบาหวาน โดยรับประทานผลไม้เพียงวันละ 1-3 ส่วนเท่านั้น โดยผลไม้ 1 ส่วนประมาณ 6-8 ชิ้นพอดีคำ
6. เพิ่มแคลเซียมให้มื้ออาหาร
ควรจัดนมรสจืดให้ผู้สูงอายุดื่มวันละ 1-2 แก้ว รวมถึงรับประทานอาหารที่มีแหล่งแคลเซียมอื่น ๆ เช่น เต้าหู้แข็ง ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้น
7. ใส่ใจวิธีปรุงอาหาร
เลือกรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยการต้ม นึ่ง ลวก อบ และหั่นอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานได้ง่ายขึ้น เคี้ยวและย่อยง่าย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยการทอด หรือรับประทานให้น้อยครั้งที่สุด เนื่องจากการทอดจะใช้น้ำมันในการประกอบอาหารเยอะ ไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายเท่าที่ควรค่ะ
8. แบ่งมื้อย่อยก็ได้
หากผู้สูงอายุในบ้านของคุณไม่สะดวกรับประทานอาหารมื้อใหญ่เพียงครั้งเดียว หรือรับประทานได้ไม่มาก ก็ให้ลองแบ่งมื้ออาหารเป็นวันละ 5-6 มื้อ กินครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งแทน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับประทานอาหารได้เพียงพอและครบทุกหมู่นั่นเอง
9. ปรุงให้น้อย
ลดการปรุงอาหารให้มีรสชาติหวาน มัน เค็ม หรือเน้นไปทางรสใดรสหนึ่ง พยายามปรับรสชาติให้กลาง ๆ หรืออาจจะใช้สมุนไพรมาช่วยปรุงรสก็ได้ นอกจากนี้ยังไม่ควรทานอาหารหมักดองหรือแปรรูปบ่อย ๆ พยายามทานอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการอื่น ๆ จะดีกว่า
10. จัดอาหารที่ปรุงสุดใหม่เสมอ
ควรปรุงอาหารให้สุกใหม่ โดยใช้การลวก ต้ม อบ นึ่ง เพื่อไม่ให้เสี่ยงเกิดภาวะผิดปกติจากการรับประทานอาหาร เช่น ท้องร่วง ท้องเสีย โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อน ไม่ควรนำอาหารค้างมารับประทานเด็ดขาด เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจบูดหรือเสียได้ง่าย
11. น้ำเปล่าต้องดื่มให้เพียงพอ
ใส่ใจเรื่องการรับประทานอาหารแล้ว อย่าลืมใส่ใจเรื่องการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายกันด้วย โดยผู้สูงอายุควรดื่มสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการดื่มชาหรือกาแฟในช่วงเย็นหรือค่ำ เนื่องจากชาและกาแฟมีสารคาเฟอีน อาจทำให้นอนไม่หลับเมื่อถึงเวลาเข้านอน
หากอยากดื่มชาหรือกาแฟ ควรเลือกดื่มตั้งแต่ช่วงเช้าจะดีที่สุดค่ะ
12. งดแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มชูกำลัง
อีกหนึ่งสิ่งที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษในการจัดอาหารให้ผู้สูงอายุคือการเลือกเครื่องดื่ม ควรงดไม่ให้ผู้สูงอายุรับประทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลังโดยเด็ดขาด
การดูแลเรื่องอาหารการกินของผู้สูงอายุไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมคะ อยากใส่ใจคนที่คุณรักแต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน ลองเริ่มต้นด้วยการใส่ใจเรื่องอาหารกันได้เลย
นอกจากเคล็ดลับดี ๆ แล้วเรายังมีบริการดี ๆ มาบอกต่อกันด้วย ไม่ว่าจะเป็น บริการแม่บ้าน, คนขับรถ, ติวเตอร์, เสริมสวย, พี่เลี้ยงเด็ก, คนดูแลผู้สูงอายุ และ ช่างซ่อมบำรุง SAIJAI พร้อมให้บริการคุณผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ saijai.io พร้อมดูแลทุกคนในครอบครัวของคุณอย่างเต็มที่เลยค่ะ
หากสนใจสามารถเข้าไปสอบถามหรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก SAIJAI Homecare หรือกดสมัครสมาชิก SAIJAI FAMILY MEMBERSHIP ได้ที่เว็บไซต์ https://pointspot.co/@SAIJAI_Homecare สิทธิพิเศษดี ๆ รอคุณอยู่เพียบ
สุดท้ายนี้ทาง SAIJAI ยังมีส่วนลดสุดพิเศษมาฝากทุกคนอีกด้วย เพียงแอดไลน์ @saijai_care แล้วแจ้งโค้ด SAIJAITHAIGER ในช่องแชต รับไปเลย Voucher มูลค่า 50 บาท สำหรับใช้เป็นส่วนลดค่าบริการเมื่อทำรายการจองบนแพลตฟอร์ม saijai.io ลองใช้บริการดูแล้วจะรู้ว่าใส่ใจมาเพื่อทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้นอย่างแท้จริง
ขอบคุณข้อมูลจาก : multimedia.anamai.moph.go.th, nutrition2.anamai.moph.go.th