ข่าวภูมิภาค
ภูเก็ตจัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ คืนความอุดมสมบูรณ์สู่ทะเลไทย
เวลา 16.00 น. วันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ที่สะพานท่าเทียบเรือประมงบ้ านพารา ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต นายนรภัทร ปลอดทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ วางบ้านปลาและซั้งเชือกในทะเล ซึ่งจัดโดย สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับ องค์กร ชุมชนประมงท้องถิ่นในอ่าวพารา โดยมี นายประกอบ วงศ์มณีรุ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายกองโทอดุลย์ ชูทอง นายอำเภอถลาง หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลตำบลป่าคลอก เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี เครือข่ายประมงพื้นบ้ านและประชาชนในพื้นที่ สื่อมวลชน เข้าร่วม
นายโกวิทย์ เก้าเอี้ยน ประมงจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า จากสภาพปัญหาความเสื่ อมโทรมของทรัพยากรสัตว์น้ำที่ ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น มีการใช้เครื่องมือประมงที่ผิ ดกฎหมาย มีการแย่งชิงทรัพยากรสัตว์น้ำ และแหล่งทำการประมง ส่งผลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดน้ อยลงเป็นลำดับ จังหวัดภูเก็ตโดยสำนั กงานประมงจังหวัดภูเก็ตได้ร่ วมกับ องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในอ่ าวพารา และมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จึงได้จัดกิจกรรมปล่อยพันธุ์สั ตว์น้ำ วางบ้านปลาและซั้งเชือกในทะเล สอดคล้องกับโครงการพั ฒนาตามแผนแม่บทการจั ดการประมงทะเลไทยและโครงการยุ ทธศาสตร์การพัฒนาอ่าวพารา
เพื่อจัดทำเขตอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรประมงบริเวณชุมชนชายฝั่ งให้มีความอุดมสมบูรณ์โดยให้ชุ มชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎกติ กาข้อตกลงและแผนในการควบคุม การใช้ประโยชน์ในการบริหารจั ดการทรัพยากรตลอดจนเพื่อสร้างจิ ตสำนึกให้กับชุมชนได้ช่วยกันดู แลทรัพยากรในพื้นที่ ใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องคุ้ มค่าไม่ให้มีเครื่องมื อทำการประมงที่ผิดกฎหมาย อีกทั้ง เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรสัตว์น้ำในท้องถิ่น เพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดี ให้กับประชาชนในพื้นที่ สำหรับกิจกรรมในวันนี้มีการปล่ อยพันธุ์สัตว์น้ำประกอบด้วยพั นธุ์ปูม้าจำนวน 5 ล้านตัวจากแม่ปู ..6 แม่พันธุ์หอยชักตีน 10,000 ตัว วางบ้านปลา 20 ชุด วางซั้งเชือกในทะเล 10 ชุด เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ วัยอ่อน ให้มีที่อยู่ที่เหมาะสม และเมื่อสัตว์น้ำเหล่านี้เติ บโตจนถึงวัยอันควรที่จะนำมาบริ โภค ชาวประมงพื้นบ้านจะสามารถจับสั ตว์น้ำเหล่านี้มาจำหน่ายเพื่ อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้ อย่างต่อเนื่อง อาชีพของชาวประมงพื้นบ้านจะมี ความมั่นคง สร้างระบบเศรษฐกิจฐานราก ให้มีความเข้มแข็ง
ขณะเดียวกันจะช่วยฟื้นฟูทรั พยากรชายฝั่งให้มีความอุดมสมบู รณ์สร้างความสมดุลในระบบนิเวศ เชื่อมโยงและพัฒนาสู่การเป็นท่ องเที่ยวชุมชนโดยใช้ทรัพยากรที่ มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ ชุมชนมีอาชีพ มีรายได้ มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ขึ้นตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิ จพอเพียง และศาสตร์พระราชา ที่ต้องระเบิดจากภายใน ท้องถิ่นชุมชน มีส่วนร่วม และพัฒนาไปสู่ ความเข้มแข็งได้อย่างยั่งยืน ชุมชนในพื้นที่บ้านอ่าวพารา ประกอบด้วย 4 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านแหลมทราย บ้านพารา บ้านอ่าวกุ้ง และชุมชนหลังแดง มีประชากร เกือบ 3,000 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้ าน คาดว่า ภายหลังจากมีการปล่อย พันธุ์สัตว์น้ำ วางบ้านปลา และซั้งเชือก วันนี้ ในอนาคตข้างหน้า ชาวประมงพื้นบ้านจะมีรายได้ จากการประกอบอาชีพ เพิ่มขึ้น และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้ น อย่างมั่นคงเข้มแข็งและยั่งยืน .