สรุปดราม่า “ประธานสภา” ก้าวไกล VS เพื่อไทย เกมชิงอำนาจสร้างรอยร้าวพรรคร่วมรัฐบาล
สรุปดราม่า “ประธานสภา” ก้าวไกล VS เพื่อไทย เกมชิงอำนาจสภาฝ่ายประชาธิปไตย
วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 เกาะติดกระแสข่าวจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคก้าวไกล (ก.ก.) แกนนำจัดตั้ง 8 พรรคร่วมรัฐบาลประชาธิไตย นาที่นี้สู้กันดุเดือดระหว่างรอผลยืนยันตัวเลข สมาชิกสภาผู้แทนรารษฎร (ส.ส.) อย่างเป็นทางการจากคณะกรรมาการจัดการเลือกตั้ง หรือ กกต.
ล่าสุด ประเด็นสืบเนื่องที่หลายฝ่ายกำลังเฝ้าจับตาใกล้ชิด หนีมไม่พ้น เกมอำนาจศึกชิงตำแหน่งเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้ทรงเกียรติตามระบอบรัฐสภาไทย ซึ่งตอนนี้จากร่วมแรงกันในสนามตั้งรัฐบาลแล้ว กระแส ก้าวไกล VS เพื่อไทย ได้พลิกมาเป็นฉากทัศน์นี้ชั่วคราวแล้ว เพื่อที่ทุกอย่างจะได้ไม่ไปเป็นปัญหาเมื่อกระบวนการทั้งหมดต้องเข้าสู่ระบอบบของรัฐสภา
โดยต้องไม่ลืมว่า หากพรรคก้าวไกลต้องการเป็นรัฐบาล “ก็ต้องมีพรรคเพื่อไทยร่วมด้วยสถานเดียว”
คำถาม คือ แล้วทำไม ประธานสภาถึงสำคัญ ?
รัฐธรรมนูญของไทยฉบับตั้งแต่หลังเหตุการณ์เดือน พ.ค. 2535 เป็นต้นมา รวมทั้งฉบับปี 2560 ได้บัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา และให้ประธานวุฒิสภาเป็นรองประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง
ส่วนความสำคัญของตำแหน่งประธานสภา อ้างอิงข้อมูลโดยสถาบันพระปกเกล้า ประธานรัฐสภา ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายนิติบัญญัติมีฐานะและศักดิ์ศรีเทียบได้กับนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร และประธานศาลฎีกาซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายตุลาการ
อำนาจหน้าที่ของประธานรัฐสภา ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญและดำเนินกิจการของรัฐสภาในกรณีประชุมร่วมกันให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา นอกจากนี้ยังมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
ทั้งยังเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายรัฐสภาทั้งข้าราชการรัฐสภาสามัญและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง รวมไปถึงการเป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ หลังที่ประชุมรัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ
ตัดภาพมาปัจจุบัน ทำไมประธานสภา ต้องเป็นคนจากพรรคก้าวไกล ?
คำถามที่ได้ถมแทบหนาทับตัวอักษรด้านบนนั้น หากใครที่ติดตามความเคลื่อนไหวมาโดยตลอด โดยเฉพาะในโซเชียลที่ นายปิยบุตร แสงสกุล ออกมาเคลื่อนไหวด้วยการจั่วหัวตามสไตล์แบบตรงไปตรวมาว่า ตำแหน่งนี้ต้องเป็นคนจากก้าวไกลเท่านั้นที่ต้องเข้าไปทำหน้าที่ดังกล่าว เหตุผล เพราะไว้ขับเคลื่อนผ่านร่างกฏฆมายสำคัญ ๆ ที่พรรคสู้มาตลอด
สรุปเป้าประสงค์จากโพสต์อาจาร์ปิยบุตร [“ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ตำแหน่งที่พรรคก้าวไกลเสียไปไม่ได้เป็นอันขาด]
เนื้อหาในโพสต์เริ่มมามีการเกริ่นเล็กน้อยถึง การเมือง คือ ศิลปะของการทำสิ่งที่คนเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ แต่เมื่อดุลกำลังอำนาจยังไม่เพียงพอ การประนีประนอมกันเพื่อรักษาสถานะความเป็นไปได้ของการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ก็เป็นเรื่องจำเป็น
จากนี้เป็นส่วนข้อมูล ตัวเลขจากการวิเคราะห์โดย ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกล
- พรรคก้าวไกลมี ส.ส. 152 คน ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เพียงพรรคเดียว จำเป็นต้องตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคเพื่อไทยซึ่งมี ส.ส.141 คน
- การประนีประนอม การเจรจาต่อรองของพรรคก้าวไกล จะต้องไม่ไปถึงขนาดที่ยกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้กับ ส.ส.พรรคอื่น โดยทั่วไป ประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็มาจาก ส.ส.ของพรรคอันดับที่หนึ่งอยู่แล้ว
- นโยบายของก้าวไกลที่ได้คะแนนมากกว่า 14 ล้านเสียง หลายเรื่องต้องผลักดันผ่านสภา ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติ จึงจำเป็นต้องมี ส.ส.ของพรรคตนเองทำหน้าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคุมวาระและญัตติ
- ก้าวไกลต้องมีคนของตนเองทำหน้าที่ประธารสภาผู้แทนราษฎร เพื่อคุมเกม ใช้และตีความข้อบังคับการประชุม และกำหนดทิศทางในการประชุมเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี
เปิดข้อมูลย้อนหลัง 20 ปี ประธานสภาไทย ล้วนมาจากพรรคอันดับ 1 (ยกเว้นสภาฯ ชุดปี 2562)
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์บีบีซี (www.bbc.com/thai) เวอร์ชั่นภาษาไทย ระบุ จากประวัติศาสตร์การเมืองที่ผ่านมา นับตั้งแต่อย่างน้อยปี 2535 ประธานสภาผู้แทนราษฎร ล้วนมาจากพรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่งในสภา
ทว่า ในการลงมติเลือกประธานสภาฯ เมื่อปี 2562 ซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ของประเทศไทย นับเป็นครั้งแรกที่ประธานสภาฯ มาจากพรรคการเมืองที่ไม่ใช่พรรคอันดับหนึ่งได้นั่งเก้าอี้นี้ ได้แก่ นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่งมีที่นั่งในสภา 52 เสียง
ลุ้นบทสรุปเกมชิงอำนาจประธานรัฐสภา สุดท้ายหวยออกที่ (พรรค) ใคร ?
ล่าสุดวันนี้ (25 พ.ค.66) พรรคก้าวไกล แถลงยืนยันแล้วว่า พรรคต้องได้ตำแหน่งประธานสภา โดยเชื่อว่า“เพื่อไทย” จะไม่กล้าถอนตัวแม้ไม่ได้ตำแหน่งนี้
ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงโควตาตำแหน่งประธานสภาในแถลงการณ์วันนี้ว่า พรรคก้าวไกลยืนยันความจำเป็นที่ต้องมีตำแหน่งนี้ไว้กับพรรคก้าวไกล เพราะนอกจากการใช้อำนาจฝ่ายบริหารแล้ว ยังมีอีก 3 วาระที่จะต้องได้ตำแหน่งประมุขในฝ่ายนิติบัญญัติเช่นเดียวกัน
รวมถึงการผลักดันกฎหมายทั้ง 45 ฉบับของพรรค เพื่อให้ทำตามที่หาเสียงไว้ กฎหมายของพรรคการเมืองอื่น และกฎหมายจากประชาชน เพื่อให้ทำงานได้อย่างรวดเร็ว พร้อมระบุว่าพรรคที่มี ส.ส.มากเป็นอันดับ 1 จะขอตำแหน่งประธานสภา เพื่อเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติด้วยในเวลาเดียวกัน ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแผกอะไร เพราะมีวาระชัดเจนที่ต้องขับเคลื่อน
รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวอีกด้วยว่า ช่วงนี้เป็นการเจรจากับพรรคร่วมรัฐบาลในประเด็นต่าง ๆ การแบ่งกระทรวง ตำแหน่งรัฐมนตรี และตำแหน่งสำคัญอื่น ๆ รวมถึงหารือนโยบายที่ยังเห็นต่าง
โดยเฉพาะเรื่องค่าแรง 450 บาท พรรคเพื่อไทยได้ให้สัญญาณในทางบวกว่าไม่ขัดข้องถ้าก้าวไกลจะดำเนินนโยบายนี้ แต่ยังมีอีกหลายนโยบายที่ต้องพูดคุย รวมถึงเงินดิจิทัลของเพื่อไทยว่าจะดำเนินการหรือไม่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปนโยบาย และแถลงต่อรัฐสภา
ทำไมเพื่อไทยจึงต้องได้ ให้ก้าวไกล ไม่ได้
นายอดิศร เพียงเกษ ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อเพื่อไทย ชี้แจงผ่านรายการเจาะลึกทั่วไทยอินไซด์ไทยแนด์ ถึงเหตุผลทำไมพรรคเพื่อไทยต้องมี ส.ส. เข้าไปดำรงตำแหน่งประธานสภา คือ การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีพรคที่ได้เสียงข้างมากแบบเด็ดขาด ทุกพรรคได้ตำกว่า 250
“ก้าวไกล” อันดับ 1 จำนวน 151 เสียง เพื่อไทย ต่างกัน 10 เสียง ดังนั้น นายอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อเพื่อไทย จึงระบุต่อในประเด็นนี้ว่า เรื่องไม่ถึงครึ่งจะบันดาลให้พรรคอันดับ 1 ได้ทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ ต้องเฉลี่ยตำแหน่งตามความเป็นจริง
พท. เคารพขนบธรามเนียมเซ็นเอ็มโอยู (MOU) ไปเเรียบร้อยตามเจนตนา แต่ตำแหน่งประธานรัฐสภา การทำงานที่ดีที่สามารถในงานนิติบัญัติประสานประโยชน์ได้ทุกฝ่าย และตัวนายอดิศรเองเชื่อว่าพรรคพท. ตั้งมา 22 ปี ทางพรรคมีบุคคลากรที่พร้อมจะช่วยให้รัฐบาลของนายพิธาเดินหน้าต่อไป.
ขอบคุณคลิป : Facebook @insidethailand
ประธานสภาฯ มาจากไหน ใครเป็นคนเลือก ?
ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 กำหนดให้การเลือกประธานสภามีวิธีการ ดังนี้
- การเลือกประธานสภาและรองประธานสภาครั้งแรก ให้เลขาธิการเชิญสมาชิก ผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการ เลือกประธานสภาและรองประธานสภา
- การเลือกประธานสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้ 1 ชื่อ การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ให้ผู้ถูกเสนอชื่อกล่าวแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม โดยไม่มีการอภิปราย
- ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ
- ศิริกัญญา ย้ำตำแหน่งประธานสภาต้องก้าวไกล
- สรยุทธ์ วิเคราะห์ ครม. รัฐบาลก้าวไกล จับมือเพื่อไทย
- ชูวิทย์ เตือน ก้าวไกล อย่ามัวทะเลาะกับ เพื่อไทย.