ข่าวข่าวการเมืองเลือกตั้ง 66

ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท ตกลงจริงไหม ? หลังคนแห่ขอบคุณ “ก้าวไกล” สนั่น

เตรียมลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10000 บาท ยืนยันแล้ว เป็นข่าวปลอม กระแสโซเชียลปั่นจนทำคนเข้าใจผิด โพสต์ขอบคุณ พรรคก้าวไกล ทั้งที่เป็นนโยบายเด่นของ เพื่อไทย โดยเศรษฐา ทวีสิน ที่ลั่นไว้ตอนหาเสียง พร้อมเปิดรายละเอียดฉบับจริง ตลออดจนนโยบายนี้ หากจัเตั้งรัฐบาลสำเร็จจะได้จริงไหม

กรณีกระแสบนโลกโซเชียลพากันแห่แชร์คลิปข่าวในบัญชีติ๊กต๊อก (Tiktok) ซึ่งมีการระบุรายละเอียดแจ้งเตือนประชาชนทราบถึงการเตรียมตัวเรื่อง ลงทะเบียนเงินดิจิทัล 10,000 บาท จากรัฐบาลก้าวไกล ! ทำคนเข้าใจผิดแห่คอมเมนต์ขอบคุณ ่วาที่นายกฯ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สนั่นโซเชียล ร้อนถึงสำนักข่าวต้องโร่ชี้แจงข้อมูล

Advertisements

โดยเมื่อวันที่ 22 พ.ค.66 ที่ผ่านมา บัญชีติ๊กต๊อกบัญชีหนึ่งได้ลงคลิปวิดีโอความยาว 15 วินาที พร้อมกับขึ้นข้อความแปะไว้ในคลิปว่า “เตรียมตัวลงทะเบียนเงินดิจิตอล 10,000 บาท อย่าลืมกดไลค์กดแชร์ให้กับคนใกล้ชิดคุณ”

ต่อมา ภายหลังคลิปถูกเผยแพร่ไม่นานก็พบว่า มีคนเ้ข้ามาแสดงความเห็นกันลนหลาม ซึ่งสาเหตุสำคัเป็นเพราะมาจากการเข้าใจผิดคิดว่า นโยบายดังกล่าวได้เริ่มก่อรูปก่อร่างชัดเจนขึ้นแล้ว ทั้ง ๆ ที่ความจริง ณ ตอนนี้ การจัดตั้งรัฐบาลเพียงแค่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่หลายคนสนับสนุน

โดยตัวอย่างความเห็นที่คลาดเคลื่อนมี อาทิ “ผมคนเลือกเพื่อไทย ขอบคุณก้าวไกลที่ช่วยผักดันนโยบายดีๆของเพื่อไทยด้วยนะครับ#ก้าวไกล+เพื่อไทย=ก้าวไปเพื่อประชาชน”

“สุดยอดเพื่อไทยก้าวไกลทุกพรรคฝ่ายประชาธิปไตย”

“เอาจริงๆเงินคนแก่ คนละ3000 พ่อกับแม่ได้แล้ว6000ลดค่าใช้จ่ายของลูกได้เยอะเลย”

Advertisements

ลงทะเบียนเงินดิจิทัล

เปิดเอกสาร ข้อมูลนโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท พรรคเพื่อไทย

สำหรับนโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย เคยชี้แจงไว้ ระบุเนื้อหาหลัก ๆ คือ นโยบาย ดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท สำหรับประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไป ภายใน 6 เดือน

จุดประสงคฅ์ เพื่อต้องการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในท้องถิ่น ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง “บล็อกเชน” ซึ่งสามารถระบุวิธีการใช้เงินว่าจะนำไปใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ในพื้นที่ตามที่ระบุในบัตรประชาชน

พรรคเพื่อไทย

หัวใจสำคัญของนโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท

  • ประชาชนต้องได้รับโอกาสในการใช้ศักยภาพของตนเอง เพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวม
  • ประชาชนมีสิทธิกำหนดชีวิตของตนเองได้อย่างเสมอภาค
  • ประชาชนสามารถยกระดับรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพ ดำเนินการพัฒนาระดับของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ตนเองสามารถทำได้ด้วยตัวประชาชน

เป้าหมายนโยบาย

ในส่วนของคำจำกัดความ “ดิจิทัล วอลเลต (Digital Wallet)” คือ กระเป๋าเงินดิจิทัล ในความเข้าใจของ ประชาชน ทั่วไปที่มี ธุรกรรมผ่านระบบโทรศัพท์ มือถือ

  • กระตุ้นเศรษฐกิจ มหภาค ตามแนวทำงของ พรรค ประกาศโดย หัวหน้าครอบครัว/ที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย
  • ส่งเสริมให้มีการจ้างงาน สาธารณะ โดยโอนเงินผ่านกระเป๋าดิจิทัล
  • ส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่ยเยาว์ / ผู้ต้องการเปลี่ยนงาน / ผู้สูงวัยที่ต้องการ มีส่วนร่วมในกำลังแรงงานเพาะวัย ในกระบวนการ เรียนรู้ตลอด ชีวิต (Live Long Learning) โดยการเพิ่มทักษะ/เปลี่ยนทักษะ /สร้างทักษะใหม่ ที่สำคัญต่อการหางาน ที่รัฐบาลส่งเสริมโดย อุดหนุนผ่านกระเป๋าดจิทิล

ลงทะเบียนดเงินดิจิทัล 10000มาตรการการโอน มาตรการทางการคลัง

รัฐบาลโอนสินทรัพย์ที่เรียกว่า เหรียญดิจิทัล (Digital Coin หรือเรียก ว่าเหรียญดิจิทัลเพื่อไทย) เข้าสู่กระเป๋าเงิน ตามเลขที่ลงทะเบียนไว้ เช่น ประชาชนไทย อายุ 16 ปีขึ้นไป ที่มีบัตรประชาชน เลข 13 หลัก ประมาณ 50 ล้านคน ในเบื้องต้น เพื่อทดลองโอนกระเป๋าละ 5,000-10,000 บาท เอกสารดังกล่าว ระบุด้วยว่าแล้วแต่ นโยบายรัฐบาลและทรัพยากรทางการเงิน ต้องพิจารณาต่อไป.

ความคืบหน้าล่าสุด นโยบายเงินดิจิทัล ตกลงแจกจริงไหม ?

ทั้งนี้ ในส่วนของนโยบายเงินดิจิทัลดังกล่าวนั้น ความคืบหน้ายังไม่มีการยืนยันแน่ชัดถึงทิศทางว่าจะมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน

เนื่องจากเวลานี้ทางพรรคก้าวไกลเองยังไม่ได้เผยถึงข้อมูลคืบหน้าว่าจะหยิบนโยบายชูโรงของเพื่อไทยมาทำหรือไม่ และยังไม่มีการเปิดลงทะเบียนแต่อย่างใด โดยตอนนี้มีการประเด็นการจัดตั้งรัฐบาลกับ 8 พรรคร่วม และประเด็นแจกเงินดิจิทัลนี้ก็ไม่มีระบุอยู่ในบันทึกข้อตกลงเอ็มโอยู (MOU) ที่เพิ่งเซ็นกันไปเมื่อวานนี้ด้วย.

เศรษฐา ทวีสิน เงินดิจิทัล

ขอบคุณภาพ : พรรคเพื่อไทย

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button