อ่าน “คำพิพากษา แชร์แม่มณี” ตกลงเจอคุกอ่วม 1.2 หมื่นปี จริงไหม ?
คดีแชร์แม่มณี จบแล้ว ศาลอาญา แ่านคำพิพากษา สั่งฟันสาวเท้าแชร์พร้อมแฟนหนุ่ม โทษจำคุกอ่วมอรทัย 12,640 ปี เซ่นพิษตุ๋นเหยื่อกว่า 2 พันราย จำเลยรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก 5,056 ปี 15,168 เดือน
วันที่ 10 พฤษภาคม 2566 ที่ห้องพิจารณา 802 ศาลอาญา ถนนรัชดาพิเษก ศาลอ่านคำพิพากษาคดีแชร์แม่มณี หมายเลขดำ อ. 167/2563 ที่พนักงานอัยการคดีพิเศษ1 เป็นโจทก์ฟ้องน.ส.วันทนีย์ หรือเ ดียร์ ทิพย์ประเวช,นายเมธีหรือบอส ชิณภา สองสามีภรรยา ,นายปิยะ หรือเป้ คีรีสุวรรณกุล น.ส.พรสวรรค์ หรือฝ้าย ภูอินอ้อย ,น.ส.ธวัลรัตน์ ทิพย์ประเวช มารดา ของน.ส.วันทนีย์ จำเลยที่ 1 น.ส.วิไลวรรณ หรือมิ้น หงษ์ประชาทรัพย์,น.ส.นิตยา หรือโบว์ พินนอก ,นายบริภัทร เข็มรัตน์ และนายปิยะเศรษฐ์ ธิโสภา ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-9 ตามลำดับในความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงิน อันเป็นการฉ้อโกงประชาชน
กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 9 มี.ค. 62 – 30 ต.ค.63 ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งเก้าได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างวาระโดยจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 4 เจตนาทุจริตหรือโดยการหลอกลวงได้บังอาจร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ บิดเบือนหรือปลอมข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ คอมพิวเตอร์โปรแกรมเฟซบุค FACEBOOK) ประกาศให้ประชาชนทั่วไปมาร่วมออมเงินหรือร่วมลงทุนกับจำเลยโดยจะได้ผลตอบแทนมากกว่าปรกติเป็นพิเศษ
โดยมีแผนการตลาดหรือรูปแบบการลงทุนจัดแบ่ง ออกเป็นวง จำนวนการลงทุนวงละ 1,000 บาท จะได้รับผลตอบแทน930 บาท ต่อหนึ่งวง เมื่อครบกำหนด 9 เดือน นับ แต่วันที่ลงทุนหรือวันที่ฝากเงินมายังบัญชีที่แจ้ง โดยผู้ลงทุนจะได้รับเงินที่ลงทุนพร้อมผลตอบแทนกลับไปจำนวนวงละ 1,930บาท
ต่อมาจำเลยที่ 1 และที่ 4 กับพวก ได้เปลี่ยนเป็นการลงทุนระยะสั้น อีกหลายระบบหลายครั้งซึ่งข้อความดังกล่าวล้วนเป็นเท็จ ความจริงแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 4 กับพวก ไม่ได้จัดให้มีการออมเงินหรือร่วมลงทุนโดย ได้รับผลตอบแทนมากกว่าปรกติดังกล่าวแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นอุบายให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินเงินทองจากประชาชนผู้ถูก หลอกลวงเท่านั้น จนเกิดความเสียหายแก่ จำนวน2,533 ราย รวมทั้งสิ้น 1,376,215,359 บาท โดยให้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยให้กู้ยืมของ สถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ ตั้งแต่อัตราร้อยละ 1,116 ถึงร้อยละ 3,040.45 ต่อปี อันเป็นเท็จ
ซึ่งการกู้ยืมเงินตามกฎหมายดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.50 ต่อปีเท่านั้น
โดยพวกจำเลยนำเงินดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริต และ เป็นการกู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเกิน10 คนซึ่งมีจำนวนเงินกู้ยืมรวมกันตั้งแต่ห้าล้านบาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน
การกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นความผิด ต่างกรรมต่างวาระกันตามเหตุเกิดที่ทุกแขวงและเขต จังหวัดกรุงเทพมหานคร ทุกตำบลและอำเภอ จังหวัดอื่นๆ เกี่ยวพันกัน โดยจำเลยที่1-2 ให้การรับสารภาพ ส่วนจำเลยอื่นให้การปฏิเสธ
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานแล้ว เห็นว่า ฝ่ายโจทก์มีผู้เสียหาย และเจ้าหน้าที่ ดีเอสไอ เบิกความยืนยันทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ 1-2 ร่วมกันมีพฤติการณ์ โฆษณาหลอกลวง ประชาชนและผู้เสียหาย จำนวนมาก ให้มาร่วมลงทุน
โดยโอนเงินผ่าบัญชีธนาคารจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 3-9 เป็นลูกจ้างของจำเลย ไม่มีส่วนรู้เห็น การกระทำผิดจึงพิพากษาว่า จำเลยที่ 1-2 ร่วมกันกระทำผิดตามฟ้อง จริงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน ซึ่งเป็นบทหนักสุด จำนวน 2528 กระทง จำคุกกระทง ละ 5 ปี รวม 12,640 ปี จำเลยรับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก 5,056 ปี 15,168 เดือน
ทั้งนี้ ทันทีที่ศาลอ่านคำพิพากษาจบ จำเลยได้ส่งเสียงกรีดร้องแสดงความยินดีแก่กัน โดยมีญาติที่มาให้กำลังใจโผเข้าสวมกอดขณะที่ญาติจำเลยบางส่วนที่ยกฟ้อง กล่าวว่า ดีใจที่ศาลยกฟ้อง และให้ความเป็นธรรมแก่น้องๆ เพราะที่จริงแล้วเป็นแค่ลูกจ้างเท่านั้น.