ข่าว

ส่องความเห็นประชาชนคิดยังไง หลังประกาศยุบสภาวันนี้

ฟังเสียงประชาชน หลัง ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ววันนี้ กลุ่มคนการเมืองเคลื่อนไหวสนั่น ดารานักแสดงอัดคลิปเผยความเห็นรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ แฮชแท็กประเด็นดังพุ่งเทรนทวิตเตอร์ หลายคนข้องใจ 23 มีนาคมนี้ อีกไม่กี่วันครบวาระอยู่แล้วทำไมจึงประกาศเอาตอนนี้

ควันหลงหลังเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา มีการเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรแล้วในวันนี้ 20 มี.ค. 2566 โดยหลังจากประกาศจากราชกิจจาฯ ดังกล่าว ก็ได้ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์เป็นวงฃกว้าง โดยเฉพาะในประเด็นด้านเกมการต่อสู้ในแง่มุมของการเมือง

จากการตรวจสอบแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ #ยุบสภา พุ่งขึ้นติดเทรนด์ทวิตทันที โดยส่วนใหญ่ตั้งคำถามถึงระยะเวลาการประกาศยุบสาภ ทั้งๆ ที่ อีก 3 วัน รัฐบาลก็จะครบวาระ 4 ปี โดยทวีตที่ส่วนใหญ่ถูกพูดถึงมากสุด อาทิ คลิปของ เป๋า ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการไอลอว์ (iLaw) องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งทำงานกับภาคประชาสังคมและคนทั่วไปในสังคม ซึ่งเคยอัดคลิปอธูิบายความแตกต่างระหว่าง การยุบสภา กับ ไม่ยุบสภา

เนื้อหาในคลิปจะได้ยิน เป๋า กล่าวว่า “ถ้าหากวันนี้ ยุบสภาอะไรจะเกิดขึ้น”

ก. อาจได้เลือกตั้งช้าลง

ข. ส.ส. มีเวลาย้ายพรรคมากขึ้น

ค. กรอบเวลาคุ้ม สสในการใชข้เงินจะสั้นลง

ง. ถูกทุกข้อ

“ถ้าหากไม่มีการยุบสภาเลย ยังไงสภาก็จะหมดอายุในวันที่ 23 มีนาคม และต้องเลือกตั้งใหม่ไม่เกิน 45 วัน ก็คือไม่เกิน 7 พฤษภาคม 2566 เท่านั้น แต่ถ้าหากยุบสภากรอบการเลือกตั้งจะขยายออกไปไม่เกิน 60 วัน ซึ่งอาจจะเลือกตั้งหลัง 7 พ.ค. เป็น 14 พฤษภาหรือ 21 พ.ค.ก็ได้”

“แต่ว่าตอนนี้ถ้ามีการยุบสภา จะมีการเลือกตั้งช้ากว่าไม่ยุบสภา ถ้าอยู่ครบเทอม โดยไม่มีการยุบสภา ส.ส.ต้องย้ายพรรคก่อนวันเลือกตั้ง 90 วัน คือต้องนับย้อนหลังไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถ้ามีการยุบสภาโอกาสย้ายพรรคจะมากขึ้้น คือ ก่อนเลือกตั้ง 30 วัน และถ้าหากไม่มีการยุบสภาเลย กรอบระยะเวลาที่จะต้องควบคุมการใช้เงินหาเสียงของ ส.ส. จะคิด 180 วัน คือนับย้อนไปถึง 23 กันยายน 2565 แล้วก็นับมาถึง 23 มีนาคม 2566 แต่ถ้าหากยุบสภา กรอบระยะเวลาการหาเสียงจะสั้นลง ดังนั้น ส.ส.จึงอยากให้ยุบสภามากกว่า แต่ถึงนาทีนี้ ไม่ยุบสภาจะดีกว่า” ข้อความจากคลิปของนายยิ่งชีพ หรือ เป๋า ที่กำลังถูกรีทวีตหลายหนบนแพลตฟอร์มดัง

ขณะที่ อั๋น ภูวนาท คุนผลิน พิธีกรและหนุ่มนักจัดรายการ ก็มีการอัดคลิปแสดงความเห็นการยุบสภาครั้งนี้ผ่านบัญชีติ๊กต๊อกของตัวเอง โดยเป็นการระบุว่า เงื่อนไขสำคัญของประกาศยุบสภาครั้งนี้ ก็คือ ส.ส.ที่จะลงเลือกตั้งในสมัยหน้าที่จใกล้จะถึงนี้ จะมีเวลาย้ายเข้าสาังกัดพรรคใหม่ โดยมีระยะเวลามากกว่าเดิมหากไม่มีการประกาศยุบสภาที่ 15 วัน

@unpuwanart

ยุบสภาทำไมให้วุ่นวาย อีก3วันก็ครบเทอมรัฐบาลแล้ว อยู่ให้ครบไม่เก๋กว่าเหรอ อะฟัง สั้นๆง่ายๆเลย ตามนี้ ถ้ายุบสภา เลือกตั้งภายใน45วัน แต่ไม่เกิน60วัน แต่ถ้าอยู่ครบวาระต้องเลือกตั้งใหม่ใน45วัน แต่หัวใจสำคัญคือตรง 1เดือนกับ3เดือนนี่แหละ กดดูเลย #tiktokuni #tiktokคนบันเทิง #อั๋นภูวนาท #ยุบสภา

♬ original sound – Unpuwanart – Unpuwanart

นอกจากนี้ บรรดา ส.ส.จากพรรคการเมืองหลายๆ พรรค ก็ได้มีการแสดงความเห็นผ่านบัญชีโซเชียลของตัวเอง หลังจากปะกาศยุบสภาดังกล่าว เท่ากับการทำหน้าที่ผู้แทนประชาชนในสภาก็ได้สิ้นสุดลงด้วย

สสน้ำ เลือกตั้ง
ภาพ @j_sindhuprai
เท่าพิภพ ยุบสภา
ภาพ @taopiphop

นอกจากนี้ ข่าวยุบสภาไทย บรรดาสื่อใหญ่ทั่วโลก อาทิ สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษ , รอยเตอร์, นิคเคอิ เอเชีย บลูมเบิร์ก ต่างรายงานข่าวด่วน รัฐบาลไทยกันพร้อมเพรียง โดยฝั่งของบีบีซีบอกว่าเลือกตั้งรอบนี้ดุเดือดแน่ เพราะเป็นการแข่งขันระหว่างพรรคที่นำโดยลูกสาวอดีตนายกรัฐมตรีผู้เคยถูกยึดอำนาจ กับ พรรคของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่เคยเป็นผู้ทำรัฐประหาร.

ยุบสภา ข่าว bbc
ภาพ @ฺBBC
ประยุทธ์ รอยเตอร์ส
ภาพ @Reuters
ยุบสภา นิเคอิ
ภาพ @Nikkei Asia

ขณะที่ตัวอย่างความคิดเห็นอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมบนทวิตเตอร์ก็มีมุมมองในอีกหลายประเด็น โดยบางความเห็นยังได้มีการวิเคราะห์ถึงแท็กที่ติดเทรนด์ในวันนี้ ไล่ตั้งแต่ #ซีเซียม317 #ยุบสภา #สวรรค์ประทานพร เมื่อพิจารณาดีๆ จะเห็นว่า ต้นตอปัญหาของทั้งหมดเกิดมาจากโครงสร้างของสังคมในตอนนี้เกือบแทบทั้งสิ้น

เทรนด์ทวิตเตอร์

ยุบสภา เทรนด์ทวิตเตอร์

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button