ไลฟ์สไตล์

เทคนิคเลือก ‘ครีมกันแดด’ ปกป้องผิวคุณจาก UV – PA ตัวร้ายให้ไว

แดดไม่ได้น่ากลัวแค่ตอนหน้าร้อน SAIJAI (ใส่ใจ) ชวนคุณมาปกป้องผิวด่วน เทคนิคเลือกครีมกันแดด เลือกครีมกันแดดอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของเราที่สุด วิธีเลือกครีมกันแดดที่ใช้แล้วได้ผล ป้องกันแสงแดด รวมถึงรังสีต่าง ๆ ได้จริง อ่านให้ชัวร์ก่อนเสียเงิน รับรองว่าคุ้มทุกบาทสุกสตางค์ที่จ่าย ไม่มีคำว่า รู้งี้ แน่นอน

รังสีในแดดที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีคงหนีไม่พ้น รังสียูวี (UV) หรือ รังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งมีคุณสมบัติที่อันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์มากที่สุด หากได้รับรังสียูวีเป็นเวลานานก็อาจทำให้ผิวเกิดอาการไหม้ แก่ก่อนวัย รุนแรงถึงขั้นทำลายดวงตาและทำให้เป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้เลยทีเดียว

ทั้งนี้ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความเข้มของแสง ระยะเวลาที่ได้รับแสง รวมถึงความไวต่อแสงของผิวหนังของแต่ละบุคคล ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยปกป้องแสงแดดได้ดี ง่าย และทำได้ทุกวันก็คือ การทาครีมกันแดด นั่นเอง

วิธีเลือกครีมกันแดด

เทคนิคเลือกครีมกันแดด ทาแล้วเห็นผล ป้องกันผิวได้จริง

1. เลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB

ครีมกันแดดที่ดีควรปกป้องได้ทั้ง UVA และ UVB เพราะรังสีเหล่านี้สามารถทำร้ายผิวคุณได้แม้ในวันที่เมฆมาก โดย UVA จะเกี่ยวข้องกับรอยเหี่ยวย่นและจุดด่างดำ ริ้วรอยก่อนวัย และอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งผิวหนังได้

ส่วนรังสี UVB จะส่งผลกระทบต่อชั้นผิวเป็นหลัก ทำให้ผิวไหม้ แต่หากได้รับในปริมาณที่มากเกินก็อาจนำไปสู่โรคมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน

เทคนิคเลือกครีมกันแดด

2. ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง

โดยทาง American Academy of Dermatology หนึ่งในองค์กรแพทย์ผิวหนังโลก แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป

3. เลือกครีมกันแดดที่เหมาะสมกับสภาพผิว

ครีมกันแดดเป็นสกินแคร์ที่ต้องอยู่ติดกับผิวหน้าเราทั้งวัน ดังนั้นอย่าลืมเช็กสภาพผิวของตนเอง และเลือกซื้อครีมกันแดดที่เข้ากับผิวคุณ เช่น คนผิวมัน ควรเลือกครีมกันแดดที่ปราศจากน้ำมันหรือเนื้อแมท ส่วนคนผิวแห้งควรเลือกครีมกันแดดที่มีความชุ่มชื้น

4. ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า PA สูง

นอกจากนี้ควรเลือกครีมกันแดดที่มีค่า PA (Protection Grade of UVA) สูง เช่น PA+++ เพราะคุณสมบัติของ UVA จะแทรกซึมเข้าไปทำร้ายชั้นผิวหนังได้ลึกและรุนแรงกว่า UVB ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งผิวหนัง ริ้วรอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร ดังนั้นอย่าลืมเช็กค่า PA กันให้ดีด้วย

วิธีเลือกครีมกันแดด

5. อย่าลืมเลือกครีมกันแดดที่กันน้ำ

กันแดดที่คุณเลือกควรมีคุณสมบัติกันน้ำและกันเหงื่อ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการปกป้องผิวของคุณระหว่างวัน ซึ่งอาจเจอกับน้ำหรือเหงื่ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

6. ดูวันหมดอายุก่อนซื้อ

อย่าลืมตรวจสอบวันหมดอายุบนสินค้าก่อนซื้อ และระวังเรื่องการเก็บรักษาให้ดี เพราะครีมกันแดดที่ใกล้หมดอายุหรือมีการจัดเก็บครีมในที่ที่มีอุณหภูมิสูง อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการกันแดดได้

เทคนิคเลือกครีมกันแดด

วิธีทาครีมกันแดดให้ได้ประสิทธิภาพ

ใส่ใจขอฝากเทคนิคในการทาครีมกันแดดอีกสักเล็กน้อย รักที่จะดูแลผิวแล้วก็ควรทำให้ถูกวิธีด้วย บอกเลยว่าไม่ยาก โดยมีวิธีดังนี้ค่ะ

  • ทาครีมกันแดดก่อนออกกลางแจ้ง หรือก่อนใช้คอมพิวเตอร์ ประมาณ 15 – 30 นาที
  • ควรทาครีมกันแดดซ้ำระหว่างวัน เพราะครีมกันแดดบนใบหน้าอาจเสื่อมประสิทธิภาพได้
  • ควรทาครีมกันแดดก่อนแต่งหน้า
  • อย่าลืมทาครีมกันแดดให้ทั่วบริเวณใบหน้า ลำคอ หลังคอ หู รวมถึงส่วนต่าง ๆ ที่จะต้องสัมผัสแสงแดดโดยตรง
  • ทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน แม้วันที่ฟ้าปิด เมฆมาก หรือวันที่คุณไม่ได้ออกกลางแจ้งก็ตาม

เทคนิคเลือกครีมกันแดด

อันตรายจากแสดงแดดมีได้ทุกวัน ไม่ใช่เฉพาะฤดูใดฤดูหนึ่งเท่านั้น รู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมนำเทคนิคดี ๆ ที่ SAIJAI ตั้งใจนำมาฝากคุณไปใช้กันนะคะ

ครีมกันแดดดี ๆ พร้อมจะปกป้องผิวคุณจากแสงแดด เช่นเดียวกับบริการของ SAIJAI ที่พร้อมดูแลทุกคนในครอบครัวอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นแม่บ้าน, คนขับรถ, ติวเตอร์, เสริมสวย, พี่เลี้ยงเด็ก, พี่เลี้ยงดูแลสัตว์, คนดูแลผู้สูงอายุ, ช่างซ่อมบำรุง เราพร้อมให้บริการคุณผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ saijai.io ใส่ใจเต็มร้อยแน่นอน

หากสนใจสามารถเข้าไปสอบถามหรืออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก SAIJAI Homecare หรือกดสมัครสมาชิก SAIJAI FAMILY MEMBERSHIP ได้ที่เว็บไซต์ https://pointspot.co/@SAIJAI_Homecare สิทธิพิเศษดี ๆ รอคุณอยู่เพียบ

นอกจากนี้ SAIJAI ยังมีส่วนลดมาให้อีกด้วย เพียงแอดไลน์ @saijai_care แล้วแจ้งโค้ด SAIJAITHAIGER ในช่องแชต รับไปเลย Voucher มูลค่า 50 บาท สำหรับใช้เป็นส่วนลดค่าบริการเมื่อทำรายการจองบนแพลตฟอร์ม saijai.io

ดูแลผิวแล้วอย่าลืมให้ใส่ใจช่วยดูแลคุณด้วยนะคะ ครั้งหน้าเราจะมีสาระดี ๆ อะไรมาแนะนำอีก รอติดตามกันได้เลย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button