การเงิน

เครดิตสวิส สำคัญยังไง ? ทำไมสถาบันการเงินทั่วยุโรปแห่เคลื่อนไหว หลังเจอข่าววิกฤต

เครดิตสวิส สำคัญยังไง หลังมีรายงานข่าวยืนยัน ธนาคารเก่าแก่เกือบ 200 ปี กำลังเจอวิกฤตสภาพคล่องครั้งใหญ่ นักวิชาการ นัดลงทุน เริ่มตั้งคำถามหรือนี่จะเป็นวิกฤษเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่ หรือไม่ ?

เกิดอะไรขึ้นกับ Credit Suisse เมื่อคืนที่ผ่านมา ? ประโยคข้างต้นกำลังเป็นคำถามที่หลายคนกำลังเฝ้าจับตมอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะบรรดาเหล่านักลงทุนที่หลังจากวานนี้ ธนาคารเก่าแก่เกือบ 200 ปีและเป็นแบงค์ยักใหญ่อันดับ 2 ในสวิตเซอร์แลนด์ ออกมายอมรับว่า กำลังประสบกับปัญหาสภาพคล่องที่อาจนำไปสู่วิกฤตได้

เมื่อวานนี้ (15 มี.ค.2566) หุ้นของธนาคารเครดิตสวิสดิ่งลงถึง 24% ถือว่าลดต่ำเป็นประวัติการณ์ หลังทางธนาคารยอมรับในรายงานว่า พบความอ่อนแอ ในรายงานทางการเงิน

ขณะที่วันนี้ (16 มี.ค.) หุ้นดิ่งลงไปแล้วถึง 30% ความวิตกกังวลนี้ ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกสั่นสะเทือน ดัชนีหลักทั้งหมดดิ่งลงอย่างรุนแรง นับแต่วันที่16 มี.ค.2566 แม้ล่าสุด ธนาคารแห่งชาติสวิส (SNB) และหน่วยงานกำกับดูแลการเงินสวิส พยายามผ่อนคลายความกังวล โดยออกมาให้ความเชื่อมั่นว่า พร้อมเข้าช่วยเครดิตสวิสหากจำเป็น

อย่างไรก็ตาม การประกาศยอมรับของทางธนาคารถึง “สถานการณ์ภายในที่เป็นด้อย” ในรายงานทางการเงิน ก่อให้เกิดความวิตกกังวล และทำให้นักลงทุนรายใหญ่ อย่างธนาคารแห่งชาติซาอุดี (Saudi National Bank) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ประกาศจะไม่อัดฉีดเงินทุนให้เครดิตสวิสมากไปกว่านี้ เพราะจะทำให้มีสัดส่วนนี้ก็จะเพิ่มขึ้นเกิน 10% มีปัญหาด้านกฎระเบียบ

ทำความรู้จัก เครดิตสวิส ธนาคารเก่าแก่ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1856

หากนับรวมปัจจุบัน ธนาคารเครดิต สวิส (Credit Suisse) มีอายุมาแล้วกว่า 167 ปี จากเริ่มแรกที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการพัฒนาระบบรางและสร้างโครงข่ายไฟฟ้าของสวิตเซอร์แลนด์รวมถึงระบบรถไฟในยุโรป

จากนั้น ช่วงทศวรรษที่ 1900 ธนาคารได้เริ่มเปลี่ยนไปใช้ระบบธนาคารมากขึ้นเพื่อตอบสนองนักลงทุนชนชั้นกลาง ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองซูริกของสวิส และมีสำนักงานอยู่ในศูนย์กลางการเงินทุกแห่งทั่วโลกถือเป็นหนึ่งในธนาคารขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการเงินโลก จากการมีสำนักงานมากกว่า 150 แห่ง กว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึง สหรัฐ สหราชอาณาจักร อินเดีย สิงคโปร์ และไทย โดยมีพนักงานรวมกันมากกว่า 45,000 คน ส่วนประเทศไทย เครดิต สวิสมีการดำเนินงานผ่านทางบริษัทหลักทรัพย์ เครดิต สวิส (ประเทศไทย) จำกัด

ทั้งนี้ ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เครดิต สวิส ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2015 ต่อเนื่องมาปี 2016 สาเหตุมาจากการตัดหนี้สูญของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ที่เป็นผลพวงมาจากวิกฤตซับไพร์ (subprime) ปี 2008 และวิกฤตหนี้ยุโรป ในปี 2009

ขณะที่ในช่วงปี 2021-22 ธนาคารต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลนับแต่วิกฤตทางการเงินปี 2008 โดยหุ้นของธนาคารได้รับผลกระทบหนักตั้งแต่ก่อนเข้าสู่สัปดาห์นี้ มูลค่าของธนาคารถูกหั่นตกเหลือ 2 ใน 3 เมื่อปีที่แล้ว หลังลูกค้าถอนเงินทุน โดยทางธนาคารสูญเงินทุนไปถึง 1.2 แสนล้านดอลลาร์ หรือกว่า 4.1 ล้านล้านบาทในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา

จับตาทางออก พร้อมคำถามใหญ่จากนักลงทุน “หรือนี่จะเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่ ?”

แอนดรูว์ เคนนิงแฮม จากบริษัท แคปิตัล อีโคโนมิกส์ ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์อิสระในกรุงลอนดอน ได้กล่าวถึงปัญหานี้ไว้ว่า “ปัญหาในเครดิตสวิส ก่อให้เกิดคำถามว่า นี่จะเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งใหม่ หรือเป็นเพียงกรณีพิเศษเท่านั้น”

โดยผลประกอบการในไตรมาส 4/2565 ธนาคารขาดทุนสุทธิ 1.4 พันล้านฟรังก์สวิส สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.32 พันล้านฟรังก์สวิส ส่งผลให้ยอดขาดทุนตลอดทั้งปีอยู่ที่ 7.3 พันล้านฟรังก์สวิส และเกิดเหตุการณ์ลูกค้าแห่ถอนเงินฝากมากกว่า 1.10 แสนล้านฟรังก์สวิสตามที่เป็นข่าว

อย่างไรก็ตาม ถึงตอนนี้ที่หลังจากธนาคารได้เผชิญกับวิกฤตสภาพคล่องครั้งใหญ่จนต้องยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ และ Finma (เป็นหน่วยงานกำกับดูแลตลาดการเงินของสวิตเซอร์แลนด์)

โดยธนาคารเครดิตสวิสจะกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์เป็นวงเงินสูงถึง 5.37 หมื่นล้านดอลลาร์(ราว 1.85 ล้านล้านบาท) ภายใต้โครงการจัดหาเงินกู้แบบครอบคลุมและการจัดหาสภาพคล่องในระยะสั้น (Covered loan facility and a short-term liquidity facility)

รวมถึงกำลังทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหุ้นทั่วไป (tender offer) ซึ่งได้แก่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์สกุลเงินดอลลาร์จำนวน 10 ชุด วงเงินรวมกันไม่เกิน 2.5 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้งทำ tender offer หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์สกุลเงินยูโรจำนวน 4 ชุด วงเงินรวมกันไม่เกิน 500 ล้านยูโร

ขณะเดียวกันหลังเผชิญปัญหาใหญ่ ทางธนาคารเครดิตสวิสเองยังคงยืนกรานว่า จุดยืนทางการเงินของทางธนาคารไม่ใช่เรื่องน่ากังวล

โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเครดิตสวิสระบุว่า เงินทุนสำรองของธนาคาร “ยังแข็งแกร่งมาก ๆ” แต่แล้ว หุ้นของเครดิตสวิสก็ร่วงหล่นลงถึง 24% เมื่อวานนี้ (15 มี.ค.) ขณะที่ธนาคารแห่งอื่น ๆ รีบลดความเสี่ยงจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ด้านนายกรัฐมนตรีสเปน และฝรั่งเศส ออกมาแถลงข่าวเพื่อลดความหวั่นวิตก

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ปัจจุบัน ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์ ของฝรั่งเศส ได้ระงับการทำข้อตกลงบางประกาศ หากทราบว่าเครดิตสวิสเป็นคู่ค้าแล้ว

“วิกฤตธนาคารมาจากอเมริกา ตอนนี้ คนกำลังดูว่าสถานการณ์จะก่อให้เกิดปัญหาทั่วยุโรปหรือไม่” โรเบิร์ก ฮัลเวอร์ หัวหน้าด้านตลาดทุนของธนาคารบาดเดอร์ของเยอรมนี กล่าว.

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button