วิธีเบิกเงินประกันสังคม ‘ค่าคลอดบุตร’ กี่วันได้ เช็กขั้นตอนยื่นเอกสารที่นี่
เช็กสิทธิประกันสังคม “วิธีเบิกค่าคลอดบุตร” เตรียมเอกสารถูกต้อง พร้อมกำหนดการ รับเงินตามจำนวนที่กำหนด ตรวจสอบเกณฑ์รับสิทธิต้อง จ่ายเงินสมทบภายในกี่เดือน
คุณแม่ฝากครรภ์ คลอดบุตร ต้องรู้ “วิธีเบิกเงินประกันสังคม ค่าคลอดบุตร” เช็กสิทธิประกันสังคม อัปเดตข้อมูลประจำวันที่ 8 มีนาคม 2566 สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ได้ 1,500 บาท ส่วนการคลอดบุตรสามารถเบิกเงินได้ 15,000 บาท ตรวจสอบเงื่อนไขเงินคลอดบุตรต้องจ่ายเงินสมทบกี่บาทถึงจะสามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ พร้อมขั้นตอนการเบิกค่าฝากครรภ์ เอกสารที่ต้องใช้ และสถานที่ยื่นขอเบิกเงินคลอดบุตรและฝากครรภ์ เช็กรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
เบิกเงินคลอดบุตร ประกันสังคม 2566 ได้กี่บาท
สำหรับ”ผู้ประกันตน” ที่มีสิทธิ “เบิกค่าคลอดบุตร” สามารถเบิกได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง กรณ๊ภรรยาไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม แต่สามียังเป็นผู้ประกันตน ก็เบิกค่าคลอดบุตร ได้สูงสุด 15,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครรภ์ โดยมีเงื่อนไขการรับสิทธิ ดังนี้
- จ่ายสมทบมากกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนคลอดบุตร
- เบิกคลอดบุตร สามีภรรยาหากเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนบุตรต่อครั้ง
- ผู้ประกันตนผู้หญิง จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเหมาจ่าย ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเป็นระยะเวลา 90 วัน
หากได้ยื่นเบิกค่าคลอดบุตรกับประกันสังคมแล้ว แต่มีข้อทักท้วง ต้องการอุทธรณ์ ให้ยื่นเรื่องภายใน 30 วัน หลังจากยืนยันการแจ้ง ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ประกันสังคมเท่านั้น
การเบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม 2566
ในส่วนของวิธีการฝากครรภ์ ของคุณพ่อคุณแม่ที่มีสิทธิในประกันสังคม จะต้องเตรียมเอกสารที่สำคัญให้พร้อม 3 อย่าง ประกอบด้วย สมุดฝากครรภ์, ใบเสร็จตัวจริงจากคลินิก หรือโรงพยาบาล และใบรับรองแพทย์ตลอดอายุครรภ์ 5 ช่วง ดังต่อไปนี้
- อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์
- อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์
- อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์
- อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์
- อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป
สถานที่รับ “ฝากครรภ์ฟรี”
ทั้งนี้ คุณแม่สามารถฝากครรภ์ฟรี ตามสิทธิประกันสังคมได้ที่ กรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด
- กรุงเทพมหานคร ตรวจสอบคลินิกฝากครรภ์ฟรีได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้าน
- ต่างจังหวัด สอบถามกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือโรงพยาบาลในสิทธิ สปสช. (ตรวจสอบสิทธิ สปสช. ได้ที่นี่)
อย่างไรก็ตาม การคลอด หรือฝากครรภ์ฟรี ในแต่ละปีจะมีเงื่อนไขแตกต่างกัน คุณแม่ควรตรวจสอบสิทธิบัตรทองกับเว็บไซต์ สปสช. หรือหากยังไม่เกิดสิทธิ ดูวิธีสมัครบัตรทอง
ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม 2566/2023
ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม 2566/2023 สามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 เกณฑ์ ดังนี้
- อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 200 บาท
เช็กเอกสารยื่นเรื่องเบิกค่าคลอดบุตร ค่าฝากครรภ์
สำหรับ เอกสารเบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม ประจำปี 2566 มีทั้งหมด 4 อย่าง ได้แก่
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
- สูติบัตรบุตร
- ฝ่ายชายเป็นผู้ประกันตนให้ใช้ทะเบียนสมรส หรือหนังสือรับรองบุตร กรณีไม่มีทะเบียนสมรส
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก 9 ธนาคาร ประกอบด้วย
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)
เตรียมเอกสาร เบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม
1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01
2. สมุดฝากครรภ์ตัวจริง, ใบเสร็จตัวจริง, และใบรับรองแพทย์ตัวจริง ตลอดอายุครรภ์ที่ยื่นเบิก
3. สำเนาสมุดบัญชี 9 ธนาคารข้างต้น หรือเลขบัญชี PromptPay
นอกจากนี้ ยังสามารถยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร ยกเว้นสำนักงานใหญ่ กระทรวงสาธารณสุข
อ้างอิง : 1