นักวิทยาศาสตร์พบ 4 สัตว์ชนิดใหม่ของโลก จ.นครราชสีมา
สุดทึ่ง! นักวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ค้นพบ 4 สัตว์ชนิดใหม่ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา สะท้อนความอุดมสมบูรณ์ของป่าไทยได้เป็นอย่างดี
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 ได้มีการรายงานว่า นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และตัวแทนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้ร่วมกันค้นพบ 4 สัตว์ชนิดใหม่ในโลก ดังนี้
มดชุติมา
มดชุติมา ได้ถูกค้นพบโดยดร.วียะวัฒน์ ใจตรง และผศ. ดร.นพรัตน์ พุทธกาล ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีลักษณะสีเหลืองทอง อยู่บนต้นไม้สูงราว 25-30 เมตร ท่ามกลางพื้นที่ป่าดิบแล้งที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงของสะแกราช โดยความโดดเด่นของมดชนิดนี้คือสีที่ทองตลอดทั้งตัว ยกเว้นบริเวณใต้ท้องที่เข้มกว่าเล็กน้อย และมีความเงามัน มาพร้อมกับหนามแหลมบริเวณช่วงเอว
แตนเบียนวียะวัฒนะ และแตนเบียนสะแกราช
แตนเบียนวียะวัฒนะ และแตนเบียนสะแกราช ถูกค้นพบโดยรศ. ดร.บัณฑิกา อารีย์กุล บุทเชอร์ ในพื้นที่ป่าดิบแล้งสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสแกราช โดยมีความโดดเด่นตรงหนามคู่ตรงท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นสีดำ ตัดกับหนาวบริเวณอื่นที่ใกล้เคียงกับสีผิวของตัวเอง ทั้งยังมีความสำคัญในแง่ของความสมดุลประชากรแมลงอีกด้วย
โคพีพอด
โคพีพอด ถูกค้นพบโดยผศ.ดร.ชายฉัตร บุญญานุสิทธิ์ บริเวณถ้ำงูจงอาง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช มีจุดเด่นอยู่ที่ปลายของขาว่ายน้ำคู่ที่ 4 ซึ่งมี spine จำนวน 1 อัน อีกทั้งยังมีหนามบริเวณด้านข้าง caudal ramus และปล้องสืบพันธุ์มีร่องตามขวาง ถือเป็นหนึ่งในแพลงก์ตอนสัตว์ ที่สำคัญต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำเป็นอย่างมาก
สำหรับการต้นพบสัตว์ทั้ง 4 ชนิดนี้ ถือเป็นหนึ่งในก้าวสำคัญของวงการวิทยาศาสตร์ไทย ในด้านระบบนิเวศน์และสิ่งมีชีวิต ทั้งยังเป็นตัวบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าในประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณสะแกราช จังหวัดนครราชศรีมาได้ดีอีกด้วย.