ข่าวข่าวต่างประเทศ

หนุ่มสักบาร์โค้ดใช้สแกนจ่ายเงิน นักข่าวบุกพิสูจทำได้จริงไหม

สแกนได้ไหม หนุ่มไต้หวันไอเดียบรรรเจิด สักบาร์โค้ด ลงแขนใช้สแกนจ่ายเงินจนนักข่าวต้องบุกพิสูจน์ ก่อนเผยคลิปใช้งานได้จริงช่วยประหยัดเวลา

กลายเป็นไวรัลที่มีความข้องเกีี่่ยวกับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่โดยบังเอิญ หลังจากเมื่อวันที่ 26 พ.ย.65 ที่ผ่านมา แชนแนลยูทูบ東森新聞 CH51 ทำการเผยแพร่คลิปวิดิโอของหนุ่มไต้หวันคนหนึ่งที่เจ้าตัวโชว์ความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงานศิลปะุบนเรือนร่างที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ด้วยการสักรูป บาร์โค้ด เลขหมายประจำตัวสินค้าไว้ที่แขนข้างหนึ่งของตัวเอง

Advertisements

โดยชายนครผิงตง เจ้าของหนุ่มสักบาร์โค้ด เล่าเปิดใจหลังจากได้ทำการแชร์ภาพของตนเองไปยังดีการ์ดแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของไต้หวันเพื่อแบ่งปันรอยสักบาร์โค้ดที่ใช้งานได้จริง โดยเขาได้พูดถึงีท่มาของรอยสักที่สามารถใช้แสกนจ่ายเงินค่าสินค้าได้จริงนี้ว่า จุดเริ่มต้นมาจากการที่ความยุ่งยากที่ต้องเผปชิญในการหยิบโทรศัพท์มืิอถือขึ้นมาชำระค่าบริการต่างๆ

สักบาร์โค้ด

ทำให้หลังจากครุ่นคิดมาสักพัก ในที่สุดพ่อหนุ่มต้นเรื่องรายนี้ก็ตัดสินใจไปที่ร้านสักพร้อมกับเอ่ยปากกับช่างผู้ชำนาญการว่า ช่วยสักรูปบาร์โค้ดที่เป็นแอปพลิเคชั่นชำระเงินที่ปลายแขน เพื่อที่เขาจะได้ไม่ต้องใช้โทรศัพท์ในการแสกนจ่ายเงินให้ยุ่งยากเสียเวลาอีกต่อไป

หนุ่มสักบาร์โค้ด

หลังจากเรื่องราวกลายเป็นกระแสไวรัลดังบนโลกออนไลน์ ต่อมา เจ้าของโพสต์ก็ได้แชร์คลิปเพื่อยืนยันหลักฐานว่า รอยสักบาร์โค้ดที่บรรจงสร้างสรรค์ไว้ที่ปลายแขนของเขานั้น สามารถนำไปสแกนจ่ายค่าของที่ร้านสะดวกซื้อและปั๊มน้ำมันโดยไม่มีปัญหา และจนถึงตอนนี้เจ้าตัวก็ไม่มีปัญหาในการจ่ายเงินด้วยวิธีนี้แต่อย่างใด

Advertisements

อย่างไรก็ตาม ถึงรอยสักจากหนุ่มนครผิงตงผู้นี้จะได้รับความนิยมมีผู้คนให้ความสนใจจำนวนมาก แต่ในมุมของช่างสักก็ได้กล่าวในทำนองแจ้งเตือนสำหรับใครที่คิดะทำตามว่า ให้คิดให้ดีก่อน เพราะการจะสักรุปแบบนี้ รอยสักจะต้องอยู่ในบางตำแหน่งที่ไม่เสียรูป เช่น ด้านในของแขนหรือส่วนที่หน้าอก ดังนั้นหากร่างกายเกิดมีความเปลี่ยนแปลง อาทิ อ้วนขึ้นหรือผอมลงก็อาจจะทำให้มีโอกาสที่จะผิดรูปและเกิดผลกระทบตามมาได้

นอกจากนี้ ช่างสักคนดังกล่าวยังบอกด้วยว่า รอยสักบาร์โค้ดนี้สามารถอยู่ได้ประมาณ 5 ปี หากได้รับการดูแลรักษาอย่างดี

ขอบคุณคลิป : 東森新聞 CH51

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button