ข่าวไลฟ์สไตล์

ทำโทษเด็ก ‘ครูตบนักเรียน’ ผิดกฎหมายไหม วิธีฟ้องร้องเอาผิดครูทำเกินกว่าเหตุ

ไขสงสัย ครูตบนักเรียน ด่าเด็ก ตีเด็ก ผิดกฎหมายมาตราอะไร มีบทลงโทษสำหรับครูที่ตีเด็กนักเรียนเกินกว่าเหตุอย่างไรบ้าง พ่อแม่สามารถเอาผิดได้ไหม

จากกรณีคลิปครูผู้ชายจากโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดหนองคาย ลงโทษเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการตบหน้าสองครั้ง ทำให้เกิดกระแสบนโลกโซเชียลกันอย่างกว้างขวางถึงความไม่เหมาะสมในการทำโทษเด็ก

ทั้งนี้ การตบนักเรียนหรือตีเด็ก เข้าข่ายเป็นความผิดกฎหมายตาม มาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 อันเป็นการผิดวินัยอย่างร้ายแรง อาจถูกลงโทษถึงขั้นปลดออกหรือไล่ออก

ทั้งนี้การทำตบตีเด็กนักเรียนจะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและมีบทลงโทษตาม มาตรา 295 ระบุว่า “ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-200,000 บาท ตามมาตรา 297

ครูตีเด็ก ผิดกฎหมายมาตราอะไร

กรณีการตบตีเด็กจนเข้าข่ายผิดกฎหมายอาญา มาตรา 391 ที่ระบุว่าหากผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วิธีฟ้องร้องเอาผิดครูตบเด็ก

พ่อแม่ผู้ปกครองหรือนักเรียน หากพบเห็นหรือทราบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของครูที่โรงเรียนหรือสถานศึกษา หากมีหลักฐานพร้อมก็สามารถฟ้องร้องเอาผิดเพื่อแจ้งความที่สถานีตำรวจตามเขตต่าง ๆ ได้ครับ

สรุปว่าหากครูท่านใดตบตีเด็กเข้าข่ายตาม มาตรา 85 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 หรือเป็นความผิดเข้าข่ายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295, 297 และ 391 ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมีบทลงโทษตามที่กฎหมายกำหนด

แม้ว่าเมื่อปี พ.ศ. 2548 เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่า “การที่ครูลงโทษเด็กด้วยการเฆี่ยนตีสั่งสอนเด็กแล้วเด็กนักเรียนจะได้บาดเจ็บเล็กน้อย เป็นการใช้อำนาจในการทำโทษภายในขอบเขตอันสมควร เพื่อหวังจะปราบปรามและสั่งสอนเด็กให้มีความประพฤติที่ดี ดังนั้นนครูอาจารย์จึงไม่มีความผิด”

แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันสังคมโลกาภิวัตน์ในระดับสากล ให้ความสำคัญถึงสิทธิเด็กและผลกระทบจากการใช้ความรุนแรกต่อเด็กมากยิ่งขึ้น การตบตีเด็กหรือทำร้ายร่างกายและจิตใจ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำนั่นเอง

อ้างอิง : 1 2 3

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button