ข่าวข่าวภูมิภาค

เพจดังเผย สาเหตุที่ไม่ควรกินค้างคาว เสี่ยงโรคและทำลายระบบนิเวศ

Drama Addict เผย สาเหตุที่ไม่ควรกินค้างคาว เสี่ยงโรคเพียบและทำลายระบบนิเวศ เพราะมูลค้างคาวเป็นปุ๋ยอย่างดีให้กับพืชพรรณ

จากกระแสที่มีหญิงเปิบพิศดารกินซุปค้างคาว จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และการแนะนำว่าไม่ควรกินแม้จะปรุงสุกแล้วก็ตาม และหวั่นว่าจะเกิดโรคระบาดขึ้นอีกตามที่มีการรายงานไปก่อนหน้านี้นั้น

Advertisements

ล่าสุดเพจ Drama Addict ออกมาแสดงความเห็นในประเด็นนี้ โดยให้เหตุผลชัดเจนถึงสาเหตุที่ไม่ควรกินค้างคาว เนื่องจากค้างคาวนั้นเป็นพาหะโรคร้ายแรงสารพัด ไม่ว่าจะเป็น อิโบโลา หรือ พิษสุนัขบ้าก็ตาม

ทางจ่าพิชิตระบุถึงประเด็นดังกล่าวว่า “สาเหตุที่มนุษย์ไม่ควรเอาค้างคาวมากินเป็นอาหาร

นอกจากค้างคาวจะเป็นพาหะของโรคร้ายแรงสารพัด ตั้งแต่ อิโบลา นิปาห์ พิษสุนัขบ้า บลาๆ แล้ว ค้างคาวหลายชนิดยังจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในบ้านเราด้วย และค้างคาวยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศ ที่ช่วยในการผสมเกสรดอกไม้ ถ่ายละอองเรณู และขี้ค้างคาวยังเป็นปุ๋ยอย่างดีให้กับพืชพรรณ และช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วย

อีกทั้งยังมีการวิจัยพบว่า การกินเนื้อค้างคาว มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคทางระบบประสาท Lytico-bodig disease หรือโรค amyotrophic lateral sclerosis-parkinsonism-dementia (ALS-PDC)

พูดง่ายๆคือเป็นภาวะที่สมองเกิดการเสื่อมคล้ายๆภาวะอัลไซเมอร์ อาการคือมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว มือเท้าสั่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ความจำเสื่อม ในรายที่เป็นหนักๆ ถึงขั้นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พูด สื่อสารไม่ได้ กล้ามเนื้อฝ่อ อ่อนแรง จนเป็นผู้ป่วยติดเตียง

Advertisements

โรคนี้พบในเกาะกวม ที่มีการบริโภคค้างคาว สูงกว่าที่อื่นๆในโลกเกือบร้อยเท่า และมีการศึกษาจนพบสาเหตุแล้วว่าเกี่ยวข้องกับการบริโภคค้างคาว ที่กินผลไม้ชนิดนึงในท้องถิ่นเป็นอาหาร พอคนกินค้างคาวที่ร่างกายมีสารที่เกิดจากการกินผลไม้ตัวนั้นเข้าไปสะสมในร่างกาย ก็ทำให้เกิดโรคดังกล่าว

ค้างคาวเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ มนุษย์เราไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยประการทั้งปวง ต่างคนต่างอยู่ดีที่สุดครับ

Nateetorn S.

ผู้สื่อข่าว ทำงานกับ Thaiger มาตั้งแต่ปี 2020 จบการศึกษาจากคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ เคยทำงานกับสถานีโทรทัศน์อันดับ 1 ของประเทศ ทำให้มประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ เจาะประเด็นข่าวการเมืองอาชญากรรม ข่าวแปลกๆ เรื่องน่าสนใจจากต่างประเทศ ช่องทางติดต่อ tee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button