ที่ประชุมปัดตก ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ ได้คะแนนเสียงไม่ถึง
ผลออกตามคาดหลังที่ประชุมปัดตก ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ ใน 4 ฉบับมีร่างยื่นแก้ ส.ว. ร่วมเลือกนายกที่เสนอโดยประชาชนด้วย
จากที่ในช่วงวันที่ 6- 7 กันยายน ประชุมรัฐสภาได้มีการหารือถึงเรื่อง การร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับ และได้ลงเสียงในช่วงค่ำของวันเดียวกันนั้น ผลสรุปว่าที่ประชุมมีมติไม่รับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 4 ฉบับ โดยมีคะแนนเสียงดังนี้
1.คะแนนรับหลักการ 382 ต่อ 252 แต่ได้คะแนนจาก ส.ว. เพียง 40 คะแนน ซึ่งไม่ถึง 1 ใน 3 ผลคือรัฐสภา เป็นมติไม่รับหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 43 โดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กับคณะ เป็นผู้เสนอ เกี่ยวกับเรื่องสิทธิของบุคคล และชุมชน
2.คะแนนรับหลักการ 346 ต่อ 299 แต่ได้คะแนนจาก ส.ว. 8 คะแนน ซึ่งไม่ถึง 1 ใน 3 ผลคือได้คะแนนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เป็นมติไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 25 วรรคห้า แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 29 เพิ่มมาตรา 29/1 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 34 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 47 และมาตรา 48 นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม
3.คะแนนรับหลักการ 346 ต่อ 292 แต่ได้คะแนนจาก ส.ว. 9 คะแนน ซึ่งไม่ถึง 1 ใน 3 ผลคือได้คะแนนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เป็นมติไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 159 วรรคหนึ่ง และมาตรา 170 วรรคสอง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว กับคณะ เป็นผู้เสนอ ซึ่งเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติและที่มาของนายกรัฐมนตรีจากการเลือกโดย ส.ส. เท่านั้น
4.คะแนนรับหลักการ 356 ต่อ 253 แต่ได้คะแนนจาก ส.ว. 23 คะแนน ซึ่งไม่ถึง 1 ใน 3 ผลคือได้คะแนนไม่เกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา เป็นมติไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี
ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 4 ฉบับที่ถูกปัดตกนั้นมีร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 272 ซึ่งเป็นการตัดอำนาจ ส.ว. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี โดยมี รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 64,151 คนเป็นผู้เสนอรวมอยู่ด้วย
ทั้งนี้สำหรับการรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้นั้น ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจาก ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือต้องได้คะแนนจาก ส.ว. 84 คนขึ้นไป