พ่อแม่มือใหม่ควรรู้ สิทธิเด็กในภาพถ่าย สามารถถ่ายรูปเด็กลงโซเชียลได้ไหม ? ส่องพ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก และ PDPA ที่ไม่ควรมองข้าม
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรามักจะชอบดู หรือแชร์ภาพ คลิปของเด็กที่น่ารักน่าเอ็นดูผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ต่าง ๆ โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ที่ทนเห่อความน่ารักของลูกน้อยไม่ไหว จนแทบจะถ่ายภาพลูกตัวเองในทุกอิริยาบถ แต่รู้หรือไม่ว่าสิ่งที่เราถ่ายในวันนี้ อีก 20 – 30 ปีข้างหน้าอาจเป็นดาบที่กลับมาทำร้ายตัวเราเองและเด็กได้ ดังนั้นสิทธิเด็กในภาพถ่าย มีกฎหมายอะไรบ้าง ผิด PDPA ข้อไหนไหม ?
- NASA เผย ภาพถ่ายจักรวาล จากกล้องดูดาวอวกาศ เจมส์ เวบบ์.
- ‘เกรซ กาญจน์เกล้า’ โพสต์ภาพถ่ายชุดว่ายน้ำริมทะเล เห็นแค่เงาก็ยังเซ็กซี่.
- ภาพถ่ายดาวเทียมเผย สุสานผุดนอก ‘มารียูพอล’ หลังถูกรัสเซียถล่ม.
รู้จัก สิทธิเด็กในภาพถ่าย ดาบสองคม ส่งผลถึงอนาคต น่ารักวันนี้อีก 30 ปี อาจกลายเป็นน่าอาย
| สิทธิเด็กในภาพถ่าย ระเบิดเวลาในอนาคต
ทุกวันนี้มีการถ่ายภาพ และคลิปเด็กจำนวนมาก แชร์ผ่านโซเชียลมีเดียตามสื่อต่าง ๆ หลายคนโพสต์หรือแชร์คลิปของเด็ก ๆ เพราะความน่ารักน่าเอ็นดู แต่รู้หรือไม่ว่าการกระทำเช่นนั้นถือเป็น การละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัว และ เข้าข่ายผิดกฎหมาย
ผู้ปกครองบางคนที่ต้องการผลักดันลูก ๆ เข้าสู่วงการบันเทิง จึงมีการนำแชร์รูปภาพ หรือคลิปของเด็กแทบตลอดเวลา ในทุกท่าทางไม่ว่าจะไปที่ไหน นับเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของเด็ก และเป็นการเชื้อเชิญให้อาชญากรเข้าถึงตัวเด็กได้ เป็นอันตรายต่อเด็กอย่างมาก
นอกจากความอันตรายดังกล่าว ถ้าเด็กเกิดเป็นที่รู้จักในวงกว้างก็จะเริ่มอึดอัดจากคนขอถ่ายรูป ยิ่งถูกคาดหวังให้เด็กที่เขาห็นในโซเชียลน่ารักน่าเอ็นดู ทั้งที่ความเป็นจริงเด็กก็มีโมเมนต์ที่ดื้อ เอาแต่ใจเป็นธรรมชาติของเด็ก ที่เรียนรู้และพัฒนาตามอายุ แต่เมื่อมีแรงกดดันจากรอบข้าง ก็สามารถทำให้เด็ก ๆ ก้าวร้าวได้
“ทุกคนล้วนเคยเห็นอวัยวะเพศของผมกันหมด ผมรู้สึกว่ามันคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผม” สเปนเซอร์ เอลเดน (Spencer Elden) วัย 30 ปี กล่าวกับสำนักข่าว BBC หลังจากที่เขายื่นฟ้องร้องต่อวงร็อค “เนอร์วานา” (Nirvana) กรณีที่ทางวงได้เอาภาพเขาขณะเป็นทารกเป็นภาพหน้าปกอัลบั้มเนเวอร์มายด์ (Nevermind)
| กฎหมายว่าด้วยเรื่อง สิทธิเด็กกับภาพถ่าย
จะเห็นว่าในยุคปัจจุบันนี้ พ่อแม่หลาย ๆ คนเริ่มตระหนักถึงความเป็นส่วนตัว และสิทธิที่ลูกของตนควรจะได้รับ รวมถึงการได้รับอนุญาตจากลูก ๆ ก่อนลงภาพถ่าย ซึ่งตามข้อกฎหมายก็ได้มีบัญญัติสิ่งต้องห้ามที่พ่อแม่ ผู้ปกครองควรรู้ก่อนจะถ่ายรูปเด็ก ๆ ลงโซเชียลดังนี้
อนุสัญญาว่าด้วย สิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ
เด็กทุกคนมีสิทธิได้รับความเป็นส่วนตัว กฎหมายต้องให้ความคุ้มครองเด็กจากการถูกละเมิดชื่อเสียง ความเป็นส่วนตัว หรือการดูหมิ่น เด็กมีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์ทุกรูปแบบ แม้จะไม่มีกล่าวไว้อย่างเจาะจงในอนุสัญญาฯ นี้
กฎหมายสิทธิเด็กใน ฝรั่งเศส
หากพ่อแม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวหรือรูปถ่ายของลูก โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องรับโทษทั้งจำและปรับฐานละเมิดความเป็นส่วนตัวของบุคคลในโลกออนไลน์
กฎหมายคุ้มครองลูกใน สหภาพยุโรป
บังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation : GDPR) รวมถึงรูปภาพ นับเป็นหนึ่งในข้อมูลส่วนบุคคลที่ใครจะนำมาเผยแพร่โดยไม่ขออนุญาตไม่ได้
นอกจากนี้ ยังมีหลักที่ว่าด้วยเรื่อง สิทธิการถูกลืม (Right to be forgotten) คือ สิทธิของผู้ให้ข้อมูลในการสั่งให้ลบข้อมูลส่วนตัวที่เผยแพร่ไปในโลกออนไลน์ หากไม่ต้องการให้ข้อมูลดังกล่าวปรากฏอยู่ในโลกออนไลน์ต่อไป หากพ่อแม่โพสต์ข้อมูลส่วน
กฎหมาย COPPA สหรัฐอเมริกา
มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กและเยาวชน หรือ ‘COPPA’ ซึ่งบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2000 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากการใช้อินเทอร์เน็ตของเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี
พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็ก หรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
มาตรา 4(1) ไม่บังคับเพื่อใช้ในประโยชน์ส่วนตน หรือกิจกรรมในครอบครัว ถือเป็นใช้เพื่อครอบครัว และไม่ได้อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.นี้ แต่ถ้ารูปภาพดังกล่าวสร้างความเดือดร้อน สร้างความเข้าใจผิด หรือพาดพิงผู้อยู่ในภาพ หรือผู้อื่นก็ยังมีกฎหมายอื่นคาบเกี่ยวกันอยู่ อาจถูกฟ้องร้องได้ กล่าวได้ว่ายังถ่ายภาพได้ และต้องอย่าทำให้ผู้อยู่ในภาพเดือดร้อน
ขอบคุณข้อมูล sosthailand