3 กันยายน วันตึกระฟ้า วันครบรอบวันคล้ายวันเกิดของหลุยส์ ซัลลิแวน บิดาแห่งตึกระฟ้า สถาปนิกผู้สร้างรากฐานให้แก่สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร และส่องตึกระฟ้าในไทยคือตึกอะไร เช็กเลยที่นี่
รู้หรือไม่ วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565 เป็นวันตึกระฟ้า คือวันที่มีขึ้นเพื่อระลึกถึง หลุยส์ เอช ซัลลิแวน (Louis H. Sullivan) สถาปนิกผู้สร้างตึกระฟ้าที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกจนถูกขนานนามว่า “บิดา” แห่งตึกระฟ้าในอเมริกาลยทีเดียว ทีมงานเดอะไทยเกอร์จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักวันตึกระฟ้าให้มากขึ้น รวมทั้งประวัติของหลุยส์ ซัลลิแวน และส่องตึกระฟ้าที่สูงสุดในเมืองไทยกันอีกด้วย
3 กันยายน 2565 วันตึกระฟ้า ครบรอบวันคล้ายวันเกิดบิดาแห่งตึกระฟ้า
วันตึกระฟ้า (Skyscraper Day) ตรงกับวันที่ 3 กันยายน 2565 เป็นอีกหนึ่งวันเฉลิมฉลองเทศกาลที่สุดหรรษาที่คนไทยไม่ค่อยรู้จัก โดยวัตถุประสงค์ที่จัดตั้งวันตึกระฟ้าขึ้นมาก็เพื่อสดุดีถึงความสามารถของหลุยส์ ซัลลิแวน สถาปนิกที่มีชื่อเสียงของอเมริกา
หลุยส์ เอช ซัลลิแวน (Louis H. Sullivan) เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1856 ซึ่งเป็นวันที่ถูกจัดตั้งให้เป็นวันตึกระฟ้า เพื่อระลึกถึงการครบรอบวันคล้ายวันเกิดของนักสร้างตึกระฟ้าคนสำคัญ
หลุยส์ ซัลลิแวน เป็นสถาปนิก นักทฤษฎี นักคิดคนสำคัญของประเทศอเมริกา มีผลงานที่สร้างชื่อเสียง คือการวางรากฐานของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในปัจจุบัน (Modern architecture)
ทำให้หลุยส์ ซัลลิแวนกลายเป็น บิดาแห่งตึกระฟ้า (Father of Skycrapers) หรือ บิดาแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
รู้จัก ตึกระฟ้า มีที่มาจากไหน
ตึกระฟ้า (Skyscraper) คืออาคารสูงจนถึงเส้นขอบฟ้าของเมือง หรืออาคารที่สูงกว่าอาคารบริเวณรอบ ๆ ก็สามารถเรียกว่าตึกระฟ้าได้เช่นกัน
ปัจจุบัน ตึกระฟ้า คืออาคารที่มีระดับชั้นอย่างน้อย 40 ชั้นขึ้นไป ทั้งนี้ตึกระฟ้ายังช่วยประหยัดพื้นที่และลดการแผ่ขยายตัวของเมืองสู่บริเวณนอกเมือง ทำให้เมืองต่าง ๆ อนุรักษ์ธรรมชาติได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
นอกจากนี้ คำว่า ตึกระฟ้า หรือ Skyscraper มีต้นกำเนิดเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายทศวรรษของ 1880
คำว่า “ตึกระฟ้า” มีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายทศวรรษ 1880 ตึกระฟ้าเป็นอาคารสูงที่บรรยายถึงเส้นขอบฟ้าของเมือง อาคารที่มีชั้นมากกว่าอาคารโดยรอบเรียกว่าตึกระฟ้า ทุกวันนี้ อาคารที่มีระดับอย่างน้อย 40 ระดับขึ้นไปเรียกว่าตึกระฟ้า การประหยัดพื้นที่ใจกลางเมืองช่วยลดการแผ่ขยายของเมือง ทำให้สามารถอนุรักษ์พื้นที่ธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
และตึกระฟ้าแห่งแรกของโลก คือ Home Insurance Building ที่สร้างขึ้นในเมืองชิคาโกเมื่อปี 1885 มีความสูงทั้งหมด 138 ฟุต (10 ชั้น) ก่อนที่จะถูกรื้อถอนในปี 1931 ซึ่งเป็นปีที่ตึก เอ็มไพร์สเตต (Empire State Building) กำลังก่อสร้างขึ้นมาจนกลายเป็นอีกหนึ่งตึกระฟ้าที่มีชื่อเสียงสุดของโลก
ตึกระฟ้าที่สูงสุดของประเทศไทย
วันที่ 3 กันยายน 2565 คือวันตึกระฟ้า (Skyscraper Day) ทำให้นักวิชาการในแวดวงวิศวกรและสถาปนิกทั่วโลกจะจัดลำดับตึกระฟ้าของแต่ละประเทศว่ามีความสูงเท่าใดบ้าง เพื่อหาตึกระฟ้าที่จะมาทำลายสถิติสูงที่สุดในแต่ละรอบปี
ปัจจุบันตึกระฟ้าในประเทศไทยที่มีความสูงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คืออาคาร แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์ ณ ไอคอนสยาม (Magnolias Waterfront Residences ICONSIAM)
อาคาร แมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์ ณ ไอคอนสยาม เป็นตึกระฟ้าในไทยที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และมีความสูงทั้งหมด 70 ชั้น ซึ่งความสูงของตึกระฟ้าแห่งนี้มีบันทึกสถิติไว้ว่า 317.95 เมตร
ทั้งนี้ตึกระฟ้าแมกโนเลียส์ วอเตอร์ฟรอนท์ เรสซิเดนซ์ได้ขึ้นมาแซงความสูงเป็นอันดับ 1 จากตึกระฟ้า คิง เพาเวอร์ มหานคร (King Power MahaNakhon) หรือมหานคร โดยมีความสูงของตึกระฟ้าทั้งหมด 314.2 เมตร
นอกจากนี้ตึกระฟ้าในไทยจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในกรุงเทพฯ เพราะเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ทำให้มีพื้นที่ที่สามารถใช้งานได้อย่างจำกัด ภาครัฐและเอกชนจึงต้องรังสรรค์สถาปัตยกรรมสุดโอ่อ่านี้ขึ้นมา
ด้วยเหตุนี้ตึกระฟ้าในกรุงเทพจึงมีจำนวนเยอะที่สุดในประเทศไทยนั่นเอง
กิจกรรมในวันตึกระฟ้า 3 กันยายน
สำหรับกิจกรรมในวันตึกระฟ้านั้นสามารถทำได้แสนง่าย และยังได้เสริมสร้างความรู้อีกด้วย ได้แก่
- เยี่ยมชมตึกระฟ้าที่สูงสุดในเมือง หรือละแวกที่คุณอยู่
- สำรวจสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมภายในพื้นที่ของคุณ
- สร้างตึกระฟ้าของคุณเอง สามารถทำเป็นแบบจำลองขนาดเล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างทักษะด้านปัญญาของคุณได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
สุดท้ายนี้หวังว่าจะได้รับความรู้และมีประโยชน์จากประวัติเกี่ยวกับวันตึกระฟ้า 3 กันยายน 2565ที่ทีมงานเดอะไทยเกอร์นำมาฝากผู้อ่านทุกท่าน และอย่าลืมไปเที่ยวชมตึกระฟ้ากันแถวบ้านท่านกันนะครับ.
- ฉลอง 90 ปี ก่อนวันเกิดโดราเอมอน 3 กันยายน 2565.
- แนะนำซีรีส์ “HBO GO เดือนกันยายน 2565” ฉลองวันแบทแมน.
- เดือนกันยายน 2565 มีวันหยุดราชการไหม เช็กให้ชัวร์ก่อนกดลา.