สรุปดราม่า แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน เพราะเหตุใดจีนถึงเดือดดาล?
สรุปดราม่า แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน หาคำตอบทำไมจีนถึงเดือดดาล ขณะที่ชาวโลกหวั่นว่าจะเกิดสงครามขึ้นระหว่าสองมหาอำนาจ
จากกรณีที่ แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน เมื่อช่วงเวลาประมาณ 22.44 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินโบอิ้ง C-40 C ,SPAR19 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ลงจอดที่ไต้หวัน โดยไม่สนคำขู่ของจีน จนทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า จะนำไปสู่สงครามหรือไม่นั้น
ในวันนี้ทางสำนักข่าว TheThaiger จึงอยากย้อนความถึงปมปัญหาความขัดแย้งนี้ ว่าเพราะเหตุใด เพโลซีเยือนไต้หวัน ถึงสร้างความไม่พอใจให้กับประเทศจีนเป็นอย่างมาก
ไต้หวัน แม้จะมีรัฐบาลของตนเอง แต่ยังอยู่ภายใต้การปกครองจีน ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา จีนได้แยกไต้หวันออกจากเวทีโลก และป้องกันทุกวิถีทางไม่ให้ ไต้หวัน เข้าร่วมกับองค์กรต่างชาติ ดังนั้นแล้วการเคลื่อนไหวใดๆที่ทำให้ไต้หวันเหมือนมีส่วนกับนานาชาติมักจะต่อต้านจากจีน
ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือในปี 2538 เมื่อนาย หลี่ เติงฮุย ผู้นำไต้หวันในขณะนั้นเดินทางเยี่ยมสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้ทางจีนยิงขีปนาวุธหลายลูกตกลงในมหาสมุทรรอบๆไต้หวัน วิกฤติครั้งนั้นจบลงเมื่อทางการสหรัฐฯบรรทุกเครื่องบินรบมาจอดไว้พื้นที่เพื่อแสดงพลังสนับสนุนไต้หวัน
จริงอยู่ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อดีตวุฒิสมาชิกของสหรัฐฯจะเดินทางเยือนไต้หวันหลายครั้ง แต่การเยือนของ แนนซี เพโลซี นั้นต่างออกไปอย่างมาก เนื่องจาก แนนซี เพโลซี ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ถือเป็นบุคคลที่มีอำนาจใหญ่สุดเป็นอันดับสามรองจากนาย โจ ไบเดน ประธานาธิบสหรัฐฯ และ กมลา แฮรร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯเท่านั้น
ทางการจีนมองว่าการที่ แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน เป็นการละเมิดข้อตกลงร้ายแรงระหว่างการปกครองของจีนสหรัฐฯ พร้อมเตือนว่า “คนที่เล่นกับไฟ จะจบไม่สวย” พร้อมกล่าวว่าเป็นการละเมิดหลักการจีนเดียว และจะส่งผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาได้ และยังเป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของจีน
ทั้งนี้ทางการสหรัฐฯโต้ตอบคำขู่ว่าพวกเขาไม่กลัวขู่ของจีนและพวกเขาไม่สนใจเสียงเคาะดาบ พร้อมระบุว่า ไม่มีเหตุผลใดๆที่การเยือนไต้หวัน ของ แนนซี เพโลซี ในครั้งนี้จะนำไปสู่ความขัดแย้ง เนื่องจากสหรัฐฯไม่ได้ละเมิดนโยบายใดๆ
นโยบายที่ว่านี้อ้างอิงจาก CNN คือการที่ ทางการสหรัฐฯว่าจีนเป็นผู้ปกครองเพียงคนเดียวของประเทศจีน และยอมรับว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่ว่าในขณะเดียวกันทางการสหรัฐฯ ไม่เคยยอมรับว่าพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนมีอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะไต้หวัน
ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมา ไต้หวันและสหรัฐฯ มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น และส่งอาวุธให้ไต้หวัน เรื่อยๆ ทว่าหากจีนบุกไต้หวัน ก็ยังไม่มีความแน่ชัดว่าสหรัฐฯจะป้องกันจีนหรือไม่ ซึ่งนโยบายนี้เป็นการป้องกันไม่ให้ไต้หวันประกาศอิสรภาพขณะที่ป้องกันไม่ให้เกิดสงครามในเอเชีย
ตามกำหนดนั้นหลังจากที่เยี่ยมสภาแล้ว เพโลซี่ จะเข้าพบกับ นาง ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวันอีกด้วย นอกจากนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา จะมีกำหนดเข้าพบกับกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยไต้หวันเช่นเดียวกัน