รู้จัก ‘มะเร็งปอด’ ภัยเงียบอันดับ 1 ของไทย สังเกตอาการ และสาเหตุก่อนจะสาย
เตือนภัยสุขภาพ ‘มะเร็งปอด’ โรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1 ชวนสังเกตอาการ และมะเร็งมีกี่ระยะ มีวิธีการรักษาให้หายขาดไหม ?
จากกรณี น้าเฉื่อยเถิดเทิงเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด เชื่อว่าถ้าพูดถึงโรคมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทยไปมาที่สุด แน่นอนว่านั่นก็คือ มะเร็งปอด นั่นเองโดยจากสถิติที่ผ่านมา พบว่าโรคมะเร็งชนิดนี้มักพบเป็นอันดับ 1 ในเพศชายและอันดับ 3 ในเพศหญิง ซึ่งผู้ป่วยหลายคนกว่าจะรู้ตัวมะเร็งดังกล่าวก็ลามไปถึงระยะวิฤติแล้ว
- ‘น้าเฉื่อย ระเบิดเถิดเทิง’ เสียชีวิตแล้ว หลังป่วยโรคมะเร็งปอดระยะสุดท้าย.
- เครียด นานติดต่อกัน 5 วัน ไม่ได้ทำให้เซลล์ร่างกาย เป็น ‘เซลล์มะเร็ง’ แต่อย่างใด.
- บีบหัวใจ ‘น้องน้ำแข็ง’ เด็ก 8 ขวบป่วยมะเร็งกระดูก ทำพิธีซ้อมตาย ก่อนจากไปอย่างสงบ.
ดังนั้นวันนี้ เพื่อเป็นการให้ทุกท่านได้ตระหนักและระวังตัวในเรื่องของโรคมะเร็งปอดกันมากขึ้น The Thaiger จึงจะพาทุกท่านมาทำความรู้จัก สาเหตุ และส่องอาการของโรคมะเร็งร้ายชนิดนี้กัน พร้อมกับไขข้อข้องใจเป็นมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหมตามมาดูกัน
เตือนภัย มะเร็งปอด ส่องสาเหตุและอาการ พร้อมรู้จักระยะของโรคมะเร็ง
| มะเร็งปอด สาเหตุเกิดจากอะไร ?
มะเร็งปอด หรือ Lung cancer เป็นโรคที่มีสาเหตุเกิดจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนผิดปกติของเซลล์ เกินกว่าที่ร่างกายจะควบคุมได้ ทำให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนของเซลล์ที่สามารถตรวจพบได้เมื่อตอนมีขนาดใหญ่แล้ว โดยจะเป็นการแพร่กระจายไปตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายและมีจำนวนมาก
สำหรับชนิดของโรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ตามขนาดของเซลล์ดังนี้
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) สามารถพบได้ประมาณ 10 – 15% โดยมะเร็งชนิดนี้มีขนาดเล็ก ทำให้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยมีระยะการรักษาไม่เพียงพอ จนอาจเสียชีวิตก่อนการรักษาเสร็จได้
- มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) พบได้ประมาณ 85 – 90% ด้วยขนาดที่ใหญ่ ทำให้มะเร็งชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้ช้า และสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
| มะเร็งปอดมีกี่ระยะ ?
โดยทั่วไปแล้วนั้น การแบ่งระยะของมะเร็งปอดจะแบ่งย่อย ๆ ตามชิดและขนาดของเซลล์มะเร็ง ดังนี้
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก แบ่งได้เป็น 2 ระยะ
- ระยะจำกัด (Limited-Stage) พบมะเร็งในปอดเพียงหนึ่งข้าง และต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
- ระยะลุกลาม (Extensive-Stage) มะเร็งกระจายออกจากบริเวณทรวงอด บางรายอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น
มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก แบ่งได้เป็น 4 ระยะ
- ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดน้อยกว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร และยังไม่ลามไปต่อมน้ำเหลือง
- ระยะที่ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร มีการลุกลามไปเยื่อหุ้มชั้นนอก
- ระยะที่ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร มีการลุกลามไปอวัยวะอื่น ๆ ภายในร่างกาย
- ระยะที่ 4 ระยะที่มะเร็งแพร่กระจายไกลจากจุดเริ่มต้นค่อนข้างมาก บางรายอาจลุกลามไปถึงสมอง
| ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็งปอด
เนื่องจากโรคมะเร็งปอด มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเซลล์ แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุของโรคชนิดนี้ได้อย่างชัดเจน แต่จากงานวิจัยพบว่ามีปัจจัยในชีวิตประจำวันหลายอย่าง ที่เป็นการเพิ่มความเสี่ยง และเป็นการกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ดังนี้
- บุหรี่ นี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมากที่สุด ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากถึง 30 เท่าของผู้ที่ไม่สูบเนื่องจากสารในบุหรี่สามารถทำลายเซลล์ปอด และเกิดความผิดปกติของเซลล์ได้
- การได้รับสารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น ควันบุหรี่ แอสเบสตอส (asbestos) ก๊าซเรดอน (radon) สารหนู รังสี และสารเคมีอื่น ๆ รวมถึงฝุ่นและไอระเหยจากนิกเกิล โครเมียม และโลหะอื่น ๆ
- อายุ ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยทั่วไปความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหลังอายุ 40 ปี
- พันธุกรรม มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด ผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นโรคมะเร็งปอดมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดได้
| โรคมะเร็งปอด มีอาการอย่างไร ?
โดยทั่วไปแล้ว ผู้ป่วยมะเร็งปอด ในระยะเริ่มต้นมักจะไม่แสดงอาการ แต่เมื่อโรคไปถึงระยะลุกลามแล้วอาจพบอาการดังต่อไปนี้
- ไอเรื้อรัง (ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ)
- มีปัญหาการหายใจ เช่น หายใจสั้น
- หายใจมีเสียงหวีด
- เจ็บบริเวณหน้าอกตลอดเวลา
- ไอมีเลือดปน
- เสียงแหบ
- ติดเชื้อในปอดบ่อย ๆ เช่น ปอดบวม
- เหนื่อยง่ายหรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
อาการเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวเนื่องกับมะเร็ง เนื่องจากมีหลายโรคที่อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาโดยเร็วที่สุด
| การรักษามะเร็งปอด
สำหรับการรักษามะเร็งปอด มีสิ่งสำคัญที่ต้องเช็กให้ดีก่อนการรักษาคือ ตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย โดยมีวิธรการักษาดังนี้
การผ่าตัด โดยทั่วไปไม่ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก เพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด
การฉายรังสี (radiotherapy) การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) เพื่อให้ภูมิคุ้มกัน ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกัน การตรวจจับและการทำลายเซลล์มะเร็งมีประสิทธิภาพ
การให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) ใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย
การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy) รักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ.