รู้จัก RTK GNSS Network คืออะไร ? ระบบวัดที่ดินด้วยดาวเทียมสุดล้ำ
ชวนรู้จัก RTK GNSS Network เทคโนโลยีโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียม ที่เหมาะแก่การสำรวจพื้นที่ และแบ่งเขต แม่นยำมากคลาดเคลือนหลักเซนติเมตร
วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนวัตกรรมสุดเจ๋งอย่าง ATK เอ้ย! RTK GNSS Network ที่ช่วยให้การสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทยนั้นง่ายขึ้น สามารถแบ่งพื้นที่ได้อย่างแม่นยำโดยมีความคลาดเคลื่อนเพียงหลักเซนติเมตรเท่านั้น แล้ว RTK คืออะไร? ใช้ทำอะไรกันแน่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากทุกคนแล้ว
- นิพนธ์ รับเผลอพูดผิด ‘ใช้ ATK รังวัดที่ดิน’ ระหว่างอภิปรายไม่ไว้วางใจ
- รู้จัก อภิปรายไม่ไว้วางใจ คืออะไร เริ่มวันไหน ดูผ่านช่องอะไรบ้าง มีคำตอบ
- เปิด 4 ขั้นตอน วิธีโหวตอภิปรายไม่ไว้วางใจ เริ่ม 22 ก.ค.นี้
RTK GNSS Network คืออะไร ? หลักการทำงานอย่างไรให้วัดพื้นที่ได้
RTK GNSS Network คืออะไร ?
RTK GNSS มาจากคำสองคำคือ GNSS (Global Navigation Satelite System) ซึ่งมี GPS เป็นระบบหนึ่งของ GNSS ด้วยนั่นเองและ RTK (Real Time Kinematic) หรือการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ คือการระบุค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ ณ เวลาทำการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียม
ปัจจุบันการสำรวจรังวัดแบบ RTK ถูกทำให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นโดยการใช้ระบบเครือข่ายสถานีรับสัญญาณดาวเทียมถาวรต้องขอรหัสผู้ใช้ (user name) จากผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อเข้าถึงข้อมูล ซึ่งเรียกว่า การสำรวจรังวัดด้วยระบบโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์
RTK GNSS Network ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านการสำรวจและทำแผนที่ โดยสามารถเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ อย่างการคมนาคมขนส่ง การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง การเกษตรอัจฉริยะ การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ การโยธาธิการและผังเมือง รวใไปถึงการตรวจวัดสภาพออากาศและการติดตามการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก
จุดเด่นของ RTK GNSS Network
ในการนำ RTK มาใช้การจัดการต่าง ๆ ทางภูมิศาสตร์ที่ในปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของ กองเทคโนโลยีทำแผนที่ กรมที่ดิน มีจุดเด่นดังนี้
- สามารถรับสัญญาณและประมวลผลจากดาวเทียมนำหนได้ทุกระบบ
- ความถูกต้องแม่นยำสูง (ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 4 เซนติเมตร)
- สะดวก รวดเร็ว ได้ค่าพิกัดในทันที
www.chcnav.com
RTK GNSS มีวิธีการทำงานอย่างไร ?
หลังการทำงานของ RTK สถานีอ้างอิงถาวรจำทำการรับสัญญาณดาวเทียมตลอด 24 ชั่วโมงและส่งข้อมูลการรังวัดมายังศูนย์ควบคุมส่วนกลาง จากนั้นผู้ใช้งานรับสัญญาณดาวเทียมพร้อมเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจะส่งค่าพิกัดโดยประมาณมายังศูนย์ควบคุมส่วนกลาง
ระบบจะสร้างตำแหน่งสถานีอ้างอิงเสมือนใกล้ ๆ กับตำแหน่งเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมของผู้ใช้งาน พร้อมส่งค่าปรับแก้ทางเทคนิคมายังเครื่องรับสัญญาณของผู้ใช้งาน โดยการทำงานจะเหมือนการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ที่มีเส้นฐานสั้น ๆ จากสถานีอ้างอิงเสมือน ผู้ใช้งานจะได้ค่าพิกัดที่มีความถูกต้องสูง ณ เวลานั้น
ประโยชน์ของการใช้ RTK GNSS
- ลดข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน เนื่องจากรูปแปลงที่ดินมีค่าพิกัดสามารถตรวจสอบได้
- ลดระยะเวลาและขั้นตอนในการให้บริการรังวัดที่ดิน
- ลดงบประมาณและค่าใช้จ่ายของรัฐในการรังวัดเส้นโครงหมุดหลักฐานแผนที่
- เพิ่มความเชื่อถือแก่ประชาชนต่อการปฏิบัติงานของกรมที่ดิน
- ค่าพิกัดที่รังวัดได้เชื่อมโยงกันทั้งระบบ
ขอบคุณข้อมูล 1