ข่าวข่าวต่างประเทศ

ผู้หญิง 550 ราย ฟ้องร้อง Uber ฐานเกิดเหตุคุกคามทางเพศโดยพนักงานงานขับ

ผู้หญิง จำนวน 550 ราย ได้ดำเนินการยื่น ฟ้องร้อง Uber เนื่องจากการคุกคามทางเพศโดยพนักงานงานขับของทางบริษัทให้บริการขนส่งชื่อดัง

(14 ก.ค. 2565) อูเบอร์ (Uber Technologies Inc) ได้ถูก ฟ้องร้อง จากบรรดา ผู้หญิง จำนวน 550 ราย โดยมีฐานมาจากการคุกคามทางเพศโดยพนักงานงานขับ ซึ่งความผิดในการฟ้องร้องดังกล่าวนั้น ก็มีตั้งแต่ลักพาตัว, ล่วงละเมิดทางเพศ, ข่มขืน, ข่มขู่ และอื่น ๆ

Advertisements

โดยคดีเหล่านี้ได้ถูกยื่นไปยังศาลสูงประเมืองซานฟรานซิสโก (San Francisco County Superior Court) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ซึ่งทางอูเบอร์ได้เปิดเผยกับทาง BBC ว่า “การล่วงละเมิดทางเพศนั้นถือว่าเป็นคดีที่ร้ายแรง และพวกเรารับเรื่องราวที่ถูกฟ้องมาอย่างจริงจัง”

ทางโฆษกของบริษัทก็ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “มันไม่มีอะไรที่สำคัญไปกว่าความปลอดภัย ที่ซึ่งทำให้เราตัดสินใจทำคุณสมบัติความปลอดภัยต่าง ๆ ขึ้นมา, จัดทำนโยบายที่เน้นไปที่เหยื่อผู้ถูกกระทำ และมีความโปร่งใสในเหตุการณ์รูปแบบนี้” “ในระหว่างที่เราไม่สามารถจะให้ความเห็นบนคดีความที่จะเกิดขึ้นได้นั้น เราก็จะยังคงดำเนินการตามแนวทางของการทำงาน ซึ่งก็คือความปลอดภัยนั้นเอง”

การฟ้องร้องดังกล่าวนั้น ได้ดำเนินการโดยบริษัทกฎหมาย Slater Slater Schulman ที่ได้เปิดเผยว่า การฟ้องร้องในประเด็นนี้นั้น ได้ร่วมเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา และมีจำนวน 150 กรณีที่อยู่ระหว่างการสืบสวนอยู่

อูเบอร์กับคดีทางเพศนั้นถือว่าเริ่มกลายเป็นประเด็นใหญ่มากขึ้น ตั้งแต่ปี 2014 ที่มีการรับรู้ว่าพนักงานขับของบริษัททำการคุกคามทางเพศ และข่มขืนผู้โดยสารหญิง แต่ทางบริษัทกลับปัดตกไปให้ความสำคัญกับการเติบโตมากกว่าความปลอดภัยของผู้ให้บริการ

Advertisements

และเมื่อเดือนที่ผ่านมาอูเบอร์ได้ทำการรายงานถึงความปลอดภัยว่า ได้รับเรื่องคดีทางเพศ 998 เรื่อง และภายในจำนวนดังกล่าว 141 เป็นกรณีการข่มขืน ตามรายงานเมื่อปี 2020 แต่เมื่อดูจำนวนจากช่วงปีต่าง ๆ แล้วนั้น ก็พบว่ามันอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่

– (2019 – 2020) มีการรายงานถึง 3,824 เรื่อง และภายในจำนวนดังกล่าวก็มีการครอบคลุมประเภทของการล่วงละเมิดอย่างรุนแรง 5 ประเภทด้วยกัน

– (2017 – 2018) พบว่ามีการรายงานถึง 5,981 เรื่อง

นอกจากนี้แล้วนั้น ก็ยังได้มีการรายงานถึงปัญหาต่าง ๆ จากตัวอูเบอร์ ไม่ว่าจะเป็น การปล่อยข้อมูลของอดีตผู้บริหารที่ว่าบริษัทมีกลไกการทำลาย/ปิดกั้นข้อมูล, การไม่ตรวจสอบประวัติของพนักงานขับ และอื่น ๆ ที่ไม่ได้ส่งผลดีต่อทั้งภาพลักษณ์ และรูปคดีเสียเท่าไหร่

 

แหล่งที่มาของข่าว : BBC News

สามารถติดตามข่าวต่างประเทศเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวต่างประเทศ

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button