ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

เปิดประวัติ ราชมังคลากีฬาสถาน มีที่มาอย่างไร พร้อมเชียร์ศึกแดงเดือดคืนนี้ เวลา 20.00 น.

เช็กประวัติ ราชมังคลากีฬาสถาน สนามกีฬาที่ใหญ่ที่สุด รองรับผู้ชมได้มากถึง 80,000 คน เตรียมตัวให้พร้อมพบรับชมศึกแดงเดือด วันนี้

ทีมงาน The Thaiger จะขอพาส่องประวัติความเป็นมาของ ราชมังคลากีฬาสถาน สนามกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อนที่จะไปรับชมกับศึกแดงเดือดระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูลในคืนวันนี้ เพื่อไม่ให้เสียเวลาในการพลาดชมศึกแดงเดือดที่สำคัญนี้ก็ไปเช็กประวัติพร้อม ๆ กันเลย

Advertisements

เปิดประวัติ ราชมังคลากีฬาสถาน
ภาพจาก Fresh Air Festival

ทำความรู้จักกับ ประวัติ ราชมังคลากีฬาสถาน สนามที่ใหญ่สุดในไทย ต้อนรับศึกแดงเดือด

| เปิด ประวัติ ราชมังคลากีฬาสถาน สถานที่จัดงาน “ศึกแดงเดือด”

ราชมังคลากีฬาสถาน ได้รับการออกแบบโดยคุณรังสรรค์ ต่อสุวรรณ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 สร้างเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้เป็นสถานที่แข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ซึ่งเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย โดยเป็นสนามหลัก หรือ Main Stadium ที่อยู่ภายในสนามกีฬาหัวหมากของการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) จัดสร้างขึ้นในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

หลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ในปี พ.ศ. 2541 ทาง กกท. ก็ได้ปรับปรุงและต่อเติมสถานที่ต่าง ๆ ภายในสนามกีฬา ได้แก่ ที่ทำการสมาคมกีฬา ห้องประชุม และสำนักงานฝ่ายต่าง ๆ บริเวณรอบใต้อัฒจันทร์

เปิดประวัติ ราชมังคลากีฬาสถาน
ภาพจาก Fresh Air Festival

ในปัจจุบัน ราชมังคลากีฬาสถาน ก็ได้ใช้เป็นสถานที่รองรับการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศที่สำคัญ รวมทั้งการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน และนัดกระชับมิตรของฟุตบอลของทีมชาติไทยกับฟุตบอลของทีมต่างประเทศ เช่น แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ลิเวอร์พูล ลีดส์ยูไนเต็ด เรอัลมาดริด บาร์เซโลนา และเซลซี เป็นต้น และยังถูกใช้สำหรับการจัดงานแสดงดนตรีกลางแจ้งอีกด้วย และล่าสุดก็มีจัดการแข่งขันฟุตบอลอุ่นเครื่องก่อนเปิดฤดูกาล ศึกแดงเดือด โดยจะจัดขึ้นในวันนี้ 12 ก.ค. 65 นี้เอง

Advertisements

นอกจากนี้ ราชมังคลากีฬาสถานยังเป็นสนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 17 ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับที่ 55 ของโลก โดยสามารถรองรับผู้เข้าชมภายในอาคารได้สูงสุดถึง 80,000 คน และที่อัฒจันทร์ 51,522 ที่นั่ง

| รวมรายชื่อการแข่งขันที่จัดขึ้นที่ ราชมังคลากีฬาสถาน

พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 6, 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 –

พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 32 เมื่อวันที่ 9, 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543

พิธีเปิดและปิด การแข่งขันฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี 2004 เมื่อวันที่ 6, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547

พิธีเปิดการแข่งขัน และการแข่งขันรอบ 8 ทีมสุดท้าย เอเชียนคัพ ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 8 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ 8, 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เรซ ออฟ แชมเปียนส์ 2012 เมื่อวันที่ 14 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 เมื่อวันที่ 10, 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 44 เมื่อวันที่ 3, 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอาเซียน 2016 นัดชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 45 เมื่อวันที่ 14, 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2018 เมื่อวันที่8 พฤศจิกายน – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ฟุตบอลเยาวชนชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2020 เมื่อวันที่ 8 – 26 มกราคม พ.ศ. 2563

ฟุตบอลอุ่นเครื่องก่อนเปิดฤดูกาล “The Match Bangkok Century Cup 2022” ศึกแดงเดือดระหว่างแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และลิเวอร์พูล จะจัดขึ้นในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

เปิดประวัติ ราชมังคลากีฬาสถาน
ภาพจาก Fresh Air Festival

พิกัด ราชมังคลากีฬาสถาน พร้อมดูศึกแดงเดือด

ที่อยู่ 286 ซอย รามคำแหง 24 แยก 18 แขวง หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

แผนที่ https://goo.gl/maps/x9xC5As3X9sbioEP8

เวลา 20.00 เป็นต้นไป

อ้างอิง : 1

moo

นักเขียนที่ชื่นชอบสิ่งต่าง ๆ ในสังคมออนไลน์ รวมทั้งหนังสือ ภาพยนตร์ ไลฟ์สไตล์ และแฟชั่น ทั้งที่อยู่ในกระแสหรือนอกกระแส เพื่อนำมาเขียนเรียบเรียงให้ทุกคนได้อ่าน และทำความรู้จักสิ่งเหล่านั้นมากขึ้นผ่านงานเขียนของเรา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button