ข่าวภูมิภาค

ครม. ผ่าน ร่างข้อบังคับปรับ ค่าโดยสาร MRT สายสีน้ำเงิน เพิ่มอีก 1 บาท (4 สถานี)

ครม. ได้ผ่าน ร่างข้อบังคับปรับ ค่าโดยสาร MRT สายสีน้ำเงิน โดยมีการปรับเพิ่มขึ้นมาอีก 1 บาท ภายใน 4 สถานี ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 2565

(29 มิ.ย. 2565) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตรา ค่าโดยสาร MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และอัตราค่าโดยสารร่วม รวม 3 ฉบับ ตามนัยมาตรา 18 (13) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

Advertisements

ทั้งนี้ คค. เสนอว่า โดยที่สัญญาสัมปทานโครงการถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย) ได้กำหนดให้ดำเนินการปรับอัตราค่าโดยสารทุก ๆ ระยะเวลา 24 เดือน และอัตราค่าโดยสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะครบกำหนดการบังคับใช้ตามสัญญา ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 ฉะนั้น จึงเห็นควรนำร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายเฉลิมรัชมงคล สายฉลองรัชธรรม และอัตราค่าโดยสารร่วม เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนวันที่ 3 กรกฎาคม 2565 ต่อไป

สาระสำคัญ

1. อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จะครบกำหนดบังคับใช้ตามสัญญา ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจึงได้คำนวณอัตราค่าโดยสารใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงตามความเป็นจริงของดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ซึ่งได้รับแจ้งจากกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารใหม่ตามสัญญาจะมีอัตราเริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 43 บาท และจะมีผลบังคับใช้ 24 เดือน ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป

จำนวนสถานี 1 2 3 4 5 6 7 8 9
อัตราค่าโดยสารระบบรถไฟฟ้า (บาท) ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 17 19 21 24 26 29 31 33 36
อัตราเดิม (บาท) 17 19 21 24 26 28 31 33 35

จำนวนสถานี 10 11 12 ขึ้นไป
อัตราค่าโดยสารระบบรถไฟฟ้า (บาท) ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 38 41 43
อัตราเดิม (บาท) 38 40 42

 

พร้อมทั้งปรับปรุงร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. …. โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยอาจประกาศกำหนดผลิตภัณฑ์ของตั๋วโดยสาร เช่น ตั๋วรายเดือน ตั๋วเป็นชุด เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร เพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด

Advertisements

2. เนื่องจากได้มีการปรับปรุงร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. …. กรรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. …. ให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

3. เพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมให้ครอบคลุมรถไฟฟ้าสายอื่นและเพื่อกำหนดผลิตภัณฑ์ทางการตลาดของตั๋วโดยสารร่วม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประทศไทยจึงได้จัดทำร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. ….

4. คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 และครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายเฉลิมรัชมงคล สายฉลองรัชธรรม และอัตราค่าโดยสารร่วม

ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตรา ค่าโดยสาร MRT สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และอัตราค่าโดยสารร่วม รวม 3 ฉบับ มีสาระสำคัญดังนี้

(1) ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยอัตราค่าโดยสารใหม่จะมีอัตราเริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 43 บาท โดยสถานีที่ 6, 9 , 11 และ 12 ขึ้นไป จะมีอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 1 บาท อีกทั้ง ยังกำหนดให้คณะกรรมการ รฟม. อาจประกาศกำหนดผลิตภัณฑ์ของตั๋วโดยสาร เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารเพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล หรือเพื่อประโยชน์อื่นใด

(2) ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการปรับให้สอดคล้องกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยไม่มีการปรับอัตราค่าโดยสาร

(3) ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารใหม่ตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมให้ครอบคลุมรถไฟฟ้าสายอื่น

 

แหล่งที่มาของข่าว : รัฐบาลไทย

สามารถติดตามข่าวกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวกรุงเทพมหานคร

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button