การเงิน

ขาดรายได้ เพราะติดโควิด ขอเงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ยังไง มีคำตอบ

โควิดวันนี้ สถานการณ์ในไทยระบาดหนักมาก คนติดโควิดหลักหมื่น รวม ATK แต่รู้หรือไม่ว่า ติดโควิด ขาดรายได้ สามารถ ขอเงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ได้นะ ทำยังไง Thaiger มีคำตอบ

ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ได้ออกมาตรการช่วยเหลือ เงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 แก่ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่ติดโควิด ที่กลับมาหายดีแล้ว แต่ในระหว่างการรักษาทำให้มีผลกระทบต่อการขาดรายได้ โดยสามารถขอรับ เงินขาดรายได้ โควิด เงื่อนไขต้องยื่นเรื่องภายใน 2 ปี รายละเอียดดังนี้

เงินเยียวยาประกันสังคม
ขอบคุณภาพจาก สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

เช็คเลย เงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 หลังติดโควิด

เงินทดแทนการขาดรายได้ ประกันสังคม คืออะไร ?

เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับการหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ในรอบปีปฏิทิน ถ้าผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเรียกว่า “เงินทดแทนการขาดรายได้” ซึ่งผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ขอรับเงินขาดรายได้ เงินเยียวยาประกันสังคม

  • ผู้ประกันตนม.33 ม.39 ม.40 จะได้รับเงินเยียวยา ทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ในรอบปีหนึ่งจะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่เป็นอาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ใช้จ่ายครั้งละไม่เกิน 365 วัน
  • ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้ว
  • กรณีผู้ประกันตนไม่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยา ทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด จึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ

ม.33 ม.39 ม.40 ติดโควิด ขาดรายได้ “ประกันสังคม”

ผู้ประกันตน หลังติดโควิดรับเงินเยียวยาประกันสังคมอย่างไร ?

ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ม.33)

กรณีลาป่วย จะได้รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง หากมีการรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ม.39)

รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

***ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ***

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (ม.39)

รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3

เงินเยียวยาประกันสังคม

คำขอร้อง ขอรับเงินเยียวยาประกันสังคม จากการขาดรายได้ ใช้เอกสารอะไรบ้าง

  1. เอกสาร แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
  2. เอกสาร ใบรับรองแพทย์
  3. หนังสือรับรองจากนายจ้าง
  4. เอกสาร สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  5. สถิติวันลา เนื่องจากติดโควิด ของผู้ยื่นคำขอ
  6. หลักฐาน เอกสารอื่น ๆอื่น ๆ ที่เจ้าหน้าที่ขอเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
  7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กระทรวงแรงงาน

 

Thaiger

The Thaiger นำเสนอข่าวสารล่าสุดและอัปเดตจากทั่วประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button