รู้จัก โรคมะเร็งปอด มะเร็งร้ายที่คร่าชีวิต สรพงษ์ ชาตรี
โรคมะเร็งปอด เป็นโรคที่ถูกพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย หลังจากกรณีการเสียชีวิตของ “สรพงษ์ ชาตรี” ที่เสียชีวิตด้วยโรคร้ายชนิดนี้ แม้ว่าหลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินถึงความอันตรายของโรคชนิดนี้กันมาบ้างแล้ว แต่ก็อาจจะยังไม่เคยทราบแต่จริงแล้วโรคมะเร็งชนิดนี้เป็นอย่างไร และอะไรคือสาเหตุที่แท้จริงกันแน่ ดังนั้นทางทีมงาน The Thaiger จึงขอให้โอกาสนี้บอกให้ทุกท่านได้ทราบถึงข้อมูลของโรคที่ว่านี้ให้มากขึ้น
มะเร็งปอดคืออะไร ?
มะเร็งปอดเกิดจากรความผิดปกติของเซลล์ที่เจริญเติบโตรวดเร็วเกินไปจนไม่สามารถที่จะควบคุมได้ เกิดกลุ่มก้อนของเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ผิดปกติ หรือส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วของเนื้อเยื่อ ซึ่งมะเร็งปอดนั้นยังสามมารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อยตามขนาดเซลล์ ได้แก่
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) พบประมาณ 10 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนคนไข้ทั้งหมด แพร่กระจายได้รวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยมีดอกาสเสียชีวิตได้เร็วกว่าการเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก ซึ่งการรักษาเซลล์มะเร็งประเภทนี้จะใช้การฉายรังสีเท่านั้น
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (non-small cell lung cancer) ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดหากพบตั้งแต่ช่วงแรก
สาเหตุของการเกิดมะเร็งปอด?
สำหรับปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดนั้นส่วนมาก จะมาจากเรื่องของสิ่งปฏิกูลที่ทำใหปอดต้องทำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ หรือฝุ่นควัน PM 2.9 รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่เกิดจากอายุ ซึ่งพบว่าคนไข้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป จะมีโอกาสพบมะเร็งปอดได้มากกว่าคนไข้อายุน้อย และสาเหตุที่สำคัญที่สุดของมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปอดที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ ประวัติของคนในครอบครัว เพราะหากคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ หรือพี่น้อง เป็นมะเร็งปอด ก็หมายความว่าตัวท่านเองก็สามารถเป็นมะเร็งปอดได้แม้จะหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นสาเหตุอื่น ๆ เฉกเช่นบุหรี่แล้วก็ตาม
มะเร็งปอดมีกี่ระยะ ?
โรคมะเร็งปอดนั้นแบ่งระยะตามชนิดของเซลล์ข้างต้นอย่างที่ได้กล่าวไป โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ
1.ระยะจำกัดของขนาดมะเร็ง (Limited stage) เป็นระยะที่มะเร็งจะอยู่บริเวณปอดเท่านั้น
2.ระยะแพร่กระจาย (Extensive stage) เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่ไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (non-small cell lung cancer) สามารถแบ่งได้ 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ตรวจพบเซลล์มะเร็งที่บริเวณปอดเท่านั้น ไม่มีการแพร่กระจายใด ๆ
ระยะที่ 2 จะแบ่งเป็น ระยะที่ 2A เซลล์มีขนาดเล็กและกำลังลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด และระยะที่ 2B เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย และอาจจะแพร่กระจายไปยังทรวงอก หรือต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด
ระยะที่ 3 ในระยะนี้จะแบ่งเป็นประเภท A และ B เช่นเดียวกัน ซึ่งในระยะ 3A เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจายไปบริเวณอื่นที่ห่างไกลจากปอดเช่น ต่อมน้ำเหลือง รวมถึงผนังทรวงอก และกลางช่องอก
ส่วนในระยะ 3B เซลล์จะแพร่กระจายไปยังบริเวณทั่วต่อมน้ำเหลือง รวมถึงอาจจะพบเนื้องอกมากกว่า 1 ก้อนในปอด หรืออาจจะกลายเป็นเนื้องอกในหัวใจ หลอดอาหาร หรือของเหลว
ระยะที่ 4 มะเร็งได้ลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ เช่น ตับ กระดูก และสมอง
มะเร็งปอดมีวิธีการรักษาอย่างไร ?
สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอดคือ การพิจารณาตำแหน่ง ระยะ และขนาดของเซลล์มะเร็ง รวมไปถึงสภาพจิตใตของผู้ป่วยอีกด้วย ซึ่งวิธีการรักษานั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่ลักษณะของเซลล์อย่างที่ข้างต้นได้กล่าวไป โดยวิธีการที่ได้รับความนิยมในการใช้ทำการรักษาทางการแพทย์นั้นมีดังนี้
- การผ่าตัด ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก ในระยะที่ 1 , 2 และ 3A
- การฉายรังสี (Radiotherapy) เป็นการรักษาเฉพาะจุด จึงไม่เหมาะกับระยะที่แพร่กระจายไปอวัยวะอื่น ๆ และใช้เวลาในการฉายไม่นาน แต่มีผลข้างเคียงเช่นการกลืนลำบาก การเบื่ออาหาร เป็นต้น
- การใช้ยาภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) เพื่อสร้างประสิทธิภาพให้กับภูมิคุ้มกันในการจำกัดเซลล์มะเร็ง
- การให้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) รู้จักกันในชื่อของการทำคีโม ซึ่งโดยทั่วไปยาเคมีที่ใช้กับมะเร็วปอดนี้จะเป็นรูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือด
- การรักษาแบบเแพาะเจาะจง (Targeted therapy) เป็นารรักษาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง และไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ จึงไม่ส่งผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติ
- การรักษาด้วยวิธีการผสมผสาน เป็นวิธีการรักษาที่ทำการรักษามากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป
สถาบันรักษามะเร็งในไทย
ในปัจจุบันสถาบันรักษามะเร็งในไทยนั้นมีอยุ่มากมายและแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นที่ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สถานวิทยามะเร็งศิริราช ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ฯลฯ ซึ่งหากทุกท่านสนใจก็สามารถติดต่อกับทางสถาบันเพื่อทำการตรวจและรับการรักษาด้วยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางกันได้อย่างเต็มที่
อ้างอิงจาก : 1
เรื่อง : พฤฒ พงษ์พิเชฐ
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล
- โรคโปรตีนรั่วคืออะไร ทำไมลูกน้อยตัวบวม พ่อแม่ต้องอ่าน!
- ‘หมอธีระ’ เตือนพบอาการ ‘ลองโควิด’ เสี่ยงป่วยโรคจิตเวช
- ‘โรคขี้เต็มท้อง’ คืออะไร อาการ-สาเหตุเกิดมาจากอะไร ?
? ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The Thaiger
? Google Play Store
? App Store