ไลฟ์สไตล์

บทสวดมนต์วันพระ บทสวดครบ อิ่มบุญได้ด้วยตัวเอง

หนึ่งในกิจกรรมวันพระ ที่ชาวพุทธต้องปฏิบัติคือ “สวดมนต์” ถือศีลฟังธรรม วันพระตามปฏิทินจันทรคติ มีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ วันขึ้น 15 ค่ำ วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ บทสวดมนต์วันพระ จึงเป็นส่วนสำคัญที่ชาวพุทธจะใช้เป็นตัวช่วยในการเข้าถึงธรรมและความสงบ เพราะด้วยภาษา และเนื้อหาที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน การเปิดอ่านไปด้วย จะช่วยในเรื่องของความแม่นยำ ถูกต้อง สวดมนต์ได้อย่างมั่นใจ สำหรับวันพระนั้น บทสวดมนต์หลัก ๆ สามารถสวดได้ตามบทดังนี้

บทสวดมนต์วันพระ น้อมจิตระลึกคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

บทกราบพระรัตนตรัย

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

Advertisements

บทนมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บทสวดมนต์ไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

คำสมาทานศีล 5

ปาณาติปาตา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณีสิกขาปะทัง
สะมาทิยามิ

บทสวดมนต์

บทสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกวิทู
อะนุตตะโร ปุริสทัมมะสาระถิ สัตถา
เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

Advertisements

สวากขาโต ภะคะวะตา
ธัมโม สันทิฏฐิโก
อะกาลิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะปุคคะลา เอสะ
ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลิกะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)

พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคลานิ

มาราติเรกมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันติสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคลานิ

นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธนา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคลานิ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคลานิ

กัตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคลานิ

สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคลานิ

นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคลานิ

ทุคคาหะทิฏฐิพุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณะคะเทนะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคลานิ

เอตาปิ พุทธะชัยมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ

พระคาถาชินบัญชร

ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง
อัตถิ กาเย กายะญายะ เทวานัง ปิยะตัง สุตวา
อิติปิ โส ภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มะระณัง สุขัง อะระหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ

ชะยาสะนาคะตา พุทธา เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง เย ปิวิงสุ นะราสะภา

ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร

หะทะเย เม อะนุรุทโธ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทะราหุลา
กัสสะโป จะ มะหานาโม อุภาสุง วามะโสตะเก

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิ ปุงคะโว

กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเฏ ติละกา มะมะ

เสสาสีติ มะหาเถรา วิชิตา ชินะสาวะกา
เอตาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินาณา วะระสังยุตตา สัตตัปปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชฌัตตุปัททะวา

อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัญชะเร

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ วิหะรันตัง มะหีตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัญชะเรติ

ชยปริตร (มหากา)

มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลัง

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง อะหัง วิชะโย โหมิ ชะยามิ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร

อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พ๎รัห๎มะจาริสุ

ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ

บทน้อมระลึกถึงหลวงปู่ทวด

นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา

บทสวดมนต์วันพระ สั้น ๆ

บทสวดมนต์วันพระ เพื่อคาถาเงินล้าน

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

สัมปะจิตฉามิ นาสังสิโม พรหมา จะ มะหาเทวา
สัพเพ ยักขา ปะรายันติ พรหมา จะ มะหาเทวา
อะภิลาภา ภะวันตุ เม มะหาปุญโญ มะหาลาโภ
ภะวันตุ เม มิเตพาหุหะติ พุทธะ มะอะอุ นะโมพุทธายะ
วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี วิระทาสา วิระอิตถิโย
พุทธัสสะ มานีมามะ พุทธัสสะ สะวาโหม
สัมปะติจฉามิ เพ็ง ๆ พา ๆ หา ๆ ฤๅ ๆ

กำหนดจิตทำสมาธิ 10 นาที
จากนั้นให้กล่าวคำแผ่เมตตาแก่ตนเอง
แก่สรรพสัตว์ และกล่าวอุทิศส่วนบุญตามลำดับ ดังนี้

คำแผ่เมตตาแก่ตนเอง

อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

นิททุกโข โหมิ
ปราศจากความทุกข์

อะเวโร โหมิ
ปราศจากเวร

อัพยาปัชโฌ โหมิ
ปราศจากอุปสรรคอันตราย
และความเบียดเบียนทั้งปวง

อะนีโฆ โหมิ
ปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.

บทขอขมาพระภูมิเจ้าที่

อิติ สุคะโต อะระหัง พุทโธ นะโม พุทธายะ
ปฐวีคงคา พระภูมมะเทวา ขะมามิหัง

คำอธิษฐานขออโหสิกรรม

ข้าพเจ้าขออโหสิกรรม กรรมใดที่ข้าพเจ้าได้ทำแก่ผู้ใด ในชาตินี้และชาติใด ๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมนายเวร จงอโหสิกรรมนั้นให้แก่ข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย และกรรมอันใดที่ใคร ๆ ทำแก่ข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมนั้นทั้งหมด ยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้า ครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคณาญาติ และผู้มีอุปการคุณทุกท่าน จงมีความสุขความเจริญในทุกถิ่นสถาน ดำรงตนมั่นอยู่ในคำสอนที่ดีงามของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าได้ตกไปสู่ทุคติอบายภูมิ

คำแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์
เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุข ๆ เถิด
อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย

อัพยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้พยาบาท
เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุข ๆ เถิด
อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกาย สุขใจ
รักษาตนให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ

บทสวดมนต์กราบลาพระ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สฺวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

กล่าวโดยสรุปแล้ว บทสวดมนต์วันพระ ทำได้ง่าย ๆ ทุกวัย สามารถเปิดสวดเองได้ทั้งที่บ้าน ที่วัด ละที่ต่าง ๆ ตามที่เราสะดวก ข้อดีของบทสวดมนต์คือสามารถใช้เพื่อการทำสมาธิ สวดมนต์ก่อนนอน หรือตามโอกาสต่าง ๆ ก็ได้เช่นกัน

Raven Antoinette

นักเขียนผู้จบจากคณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชื่นชอบการเขียนนิยาย เนื้อหาสายความงามและสุขภาพ การท่องเที่ยว และไลฟ์สไตล์ ทั้งยังรักในการแบ่งปันประสบการณ์ดี ๆ พร้อมข้อมูลเล็กน้อยให้กับทุกคน งานอดิเรกชอบสะสมไพ่ทาโรต์ มูเตลู และท่องเที่ยว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button