หอยแมลงภู่หาดสมิหลา เกลื่อนริมทะเล กรมทะเลฯ ไขคำตอบคืออะไร?
ไขคำตอบ หอยแมลงภู่หาดสมิหลา นับพันบุกแนวโขดหินริมทะเล ชาวเน็ตสงสัยเป็นสัญญาณอะไรหรือไม่ ร้อนถึง “กรมทะเล” แจงปม
ก่อนหน้านี้ โลกออนไลน์พากันแชร์ภาพ หอยแมลงภู่หาดสมิหลา จำนวนมากขึ้นมาอยู่บริเวณแนวโขดหินริมทะเล จนชาวเน็ตหลายคนตั้งคำถามว่าหอยแมลงภู่เหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทำไมจึงมีจำนวนมากขนาดนี้ และทำไมจึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น
ล่าสุด 27 ม.ค.65 ศูนย์วิจัยทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง อ่าวไทยตอนล่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลการแพร่กระจายของหอยแมลงภู่จากกรณีดังกล่าวแล้ว ผลการตรวจสอบพบว่า เป็นการแพร่กระจายของหอยแมลงภู่ชนิด Perna viridis (Linnaeus, 1758) ขนาดเล็ก (ความยาวเปลือก 2.2 ซม. ความกว้างเปลือก 1.3 ซม.) อายุเฉลี่ยประมาณ 2 เดือน พบยึดเกาะตามแนวโขดหินในบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงช่วงเขตระหว่างศาลาไทยกับเสาหลักศุลกากร (หลังโรงแรมบีพีสมิหลาบีช) คิดเป็นพื้นที่การแพร่กระจายประมาณ 2,217 ตร.ม.
จากกรณีดังกล่าวเป็นการแพร่กระจายปกติตามฤดูกาลของหอยแมลงภู่ในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ทั้งนี้หอยแมลงภู่บริเวณนี้มีการวางไข่ได้ตลอดปีแต่มีช่วงฤดูวางไข่ที่หนาแน่นอยู่ 2 ช่วง คือเดือนมีนาคม-เมษายน และตุลาคม-ธันวาคม และหากพื้นที่นั้นมีแหล่งอาหารพวกแพลงก์ตอนพืช/แพลงก์ตอนสัตว์ที่สมบูรณ์ คุณภาพน้ำและปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสม รวมถึงมีวัตถุที่เหมาะต่อการลงเกาะของตัวอ่อน ก็มีโอกาสพบการแพร่กระจายของหอยแมลงภู่ได้
ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลอยู่ในเกณฑ์ปกติ ความเค็ม 31.16 พีพีที อุณหภูมิ 28.90 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 6.49 มิลลิกรัม/ลิตร ความเป็นกรด-ด่าง 9.02
- ติ๊ก ชิโร่ สุดเดือด ! สั่งอาหาร 3 ชั่วโมงยังไม่ได้กินอะไรเลย ลั่น อย่ามาร้านนี้
- เนื้อฉ่ำสุด 5 ร้านสเต็กในพัทยา สุกระดับไหนก็สุขได้เต็มปากเต็มคำ
- โลกออนไลน์ติง วัดธรรมกายจัดบุฟเฟ่ต์เลี้ยงพระ ผิดพระธรรมวินัย