รู้ทันก่อนเป็นเหยื่อ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ DHL แฉกลโกง พร้อมวิธีป้องกัน
เปิดกลโกงมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ “DHL Express Thailand เผยหมด แอบอ้างทุกรูปแบบ เตือนหลายครั้ง แต่ถูกเอาชื่อไปหลอกเรื่อย
จากกรณี สำนักงานตำรวจแห่งชาติออกโรงเตือนเรื่อง กลุ่มมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่อาศัยเทคโนโลยีและข้อมูลทางกฎหมายต่างๆ มาหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินไปตรวจสอบ ทำให้เกิดความเสียหายหลาย 100 ล้านบาท แม้จะมีการนำเสอนประเด็นนี้มางต่อเนื่อง แต่กลุ่มคนร้ายก็จะหาช่องทางหลอกลวงผู้เสียหายอยู่เรื่อยไป เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 12 ม.ค. เฟซบุ๊กแฟนเพจ “DHL Express Thailand ขนส่งด่วนระหว่างประเทศ” ได้ออกมาโพสต์ “ประกาศเตือนภัย” รวมถึงวิธีป้องกัน ไม่ให้ถูกมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ้รเตอร์เหล่านี้ หลอกให้เกิดความเสียหายเอาได้
รูปแบบที่มิจฉาชีพมักใช้เพื่อหลอกลวง โทรฯมาแจ้งว่ามีพัสดุจัดส่ง โดยให้กดหมายเลขเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม, โทรฯมาแจ้งว่าพัสดุจากต่างประเทศติดศุลกากร และไม่สามารถจัดส่งได้ ต้องแอดไลน์ หรือโอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัวเพื่อเคลียร์ของ,
– โทรฯมาแจ้งว่าคุณได้รับรางวัลและของอยู่ในระหว่างจัดส่ง แต่ต้องแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล หรือชำระค่าภาษีนำเข้า โดยที่คุณเองไม่ได้มีประวัติการร่วมกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด
– โทรฯเข้ามากล่าวหาว่าส่งของผิดกฎหมาย และหลอกให้โอนเงินเพื่อเคลียร์คดี หรือโอนสายให้เคลียร์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจทางโทรศัพท์ จากนั้นก็ยังอ้างว่า คุณเป็นผู้ต้องหาคดีฟอกเงิน มีประวัติส่งพาสปอร์ต บัตร ATM ไปประเทศจีน ฯลฯ, ส่งข้อความ SMS อ้างว่าเป็น DHL ชวนให้คลิกลิงค์ดาวน์โหลดและติดตั้งแอพบนมือถือ
ข้อสังเกตสำคัญ ในการรู้เท่าทันมิจฉาชีพ คือแก๊งคอลเซ็นเตอร์พวกนี้จะไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดส่งพัสดุ (ชื่อผู้รับ ผู้ส่ง ต้นทาง ปลายทาง หมายเลขติดตามพัสดุ สถานะการจัดส่ง ฯลฯ) หากเป็นการติดต่อจาก DHL Express ตัวจริง เจ้าหน้าที่ของเราจะมีข้อมูลการจัดส่งเบื้องต้น รวมถึงหมายเลข waybill ที่ลูกค้าจะนำไปติดตามสถานะของพัสดุระหว่างประเทศได้ อีกทั้ง มิจฉาชีพมักจะแจ้ง “หมายเลข waybill” ที่ไม่มีอยู่จริง ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะการจัดส่งเอกสารหรือพัสดุระหว่างประเทศที่ขนส่งโดย DHL Express ได้เบื้องต้นที่ลิงก์นี้ https://mydhl.express.dhl/th/th/home.html
ข้อควรปฏิบัติ เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์
- อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคล หรือหลงเชื่อโอนเงินเป็นอันขาด
- อย่าคลิกลิงค์หรือเปิดไฟล์ที่ส่งจาก SMS หรืออีเมลต้องสงสัย หากไม่แน่ใจ สามารถแจ้งร้องเรียนได้ด้วยการลากและวางอีเมลต้องสงสัยในข้อความใหม่ หรือแคปเจอร์ SMS ส่งมาที่ phishing-dpdhl@dhl.com
- หากท่านได้รับความเสียหายจากมิจฉาชีพ ให้รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดทั้งหมด และนำไปแจ้งความยังสถานีตำรวจในพื้นที่