6 ต.ค. 64 วันสารทไทย ประวัติ วันสารทเดือนสิบ งานบุญสำคัญของชาวพุทธ
6 ต.ค. 64 วันสารทไทย ประวัติ วันสารทเดือนสิบ งานบุญสำคัญของชาวพุทธ
หนึ่งในประเพณีทางศาสนาที่สำคัญของชาวไทยคือ “วันสารทไทย” บางภาคก็เรียกว่า “วันสารทเดือนสิบ” “ทำบุญเดือนสิบ” เนื่องจากจัดขึ้นทุกวันแรม 15 ค่ำ ขึ้น 10 บ้าง ประเพณีจัดขึ้นทั่วทุกภาคของประเทศ แต่ก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาค เช่นภาคใต้ เรียก ประเพณีชิงเปรต ภาคอิสาน เรียก งานทำบุญข้าวสาก หรือ งานตานก๋วยสลาก ของภาคเหนือ
จากหลังฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่ย้อนไปได้ไกลสุดคือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เขียนเป็นร้อยแก้วเรียบเรียงประเพณีไทยในเดือนต่าง ๆ ไว้ครบ 12 เดือน โดย วันสาร์ทไทย ก็มีบันทึกไว้ ระบุว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ราชธานีแห่งแรก
ด้านการรับอิทธิพล ประเพณีสารทเดือนสิบ คำว่าสารทเป็นคำอินเดียแปลว่าฤดู ซึ่งหมายถึงฤดูเก็บเกี่ยว งานวันสารทจึงมีความหมายว่างานประเพณีในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราชที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อมาจากทางศาสนาพราหมณ์ โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
ประเพณีสารทเดือนสิบ มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ กับ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติพี่น้อง ผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราช เป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนา ในสังคมเกษตรกรรม จึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย
1) เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับ พ่อ แม่ ปู่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว
2) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิตทางการเกษตร แปรรูปเป็นอาหารถวายพระสงฆ์ รวมถึง การจัดหฺมรับ ถวายพระ ในลักษณะของ “สลากภัต” นอกจากนี้ ยังถวายพระ ในรูปของผลผลิตที่ยังไม่แปรสภาพ เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ ในช่วงเข้าพรรษาในฤดูฝน ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเอง ครอบครัว และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป
3) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณี ของชาวนคร แต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆ ปี เรียกว่า “งานเดือนสิบ” ซึ่งงานเดือนสิบนี้ ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2466 จนถึงปัจจุบัน
พิธีกรรมวันสารทเดือนสิบ
1) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ
2) การฉลองหมฺรับและการบังสุกุล
3) การตั้งเปรตและการชิงเปรต
ประเพณีชิงเปรต ในวันสารทเดือนสิบของภาคใต้
ชิงเปรต เป็นประเพณีของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน “รับเปรต” หรือ วันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรต ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั้นคือวัน ” ส่งเปรต ” กลับคืนเมือง เรียกกันว่า วันสารทใหญ่
ผู้เฒ่าผู้แก่หลายคนยืนยันว่า การชิงเปรตไม่เป็นความอัปมงคลแก่ผู้ชิงเปรตแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับถือว่าเป็นการได้บุญ เพราะเชื่อกันว่าหากลูกหลานของเปรตใดชิงได้ เปรตตนนั้นย่อมได้รับส่วนบุญส่วนกุศลนั้น
อ้างอิงบางส่วนจาก : ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ (m-culture.go.th)
- ‘ธนาธร-พิธา’ ร่วมวางพวงมาลัย ร่วมรำลึก 45 ปี 6 ตุลา 19 ที่ มธ.ท่าพระจันทร์
- สภานักศึกษา ธรรมศาสตร์ รำลึก ผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 6 ตุลา 19
- ก้อง ห้วยไร่ ปล่อยเพลงใหม่ ‘เพลงที่ไม่มีชื่อ’ รำลึก 6 ตุลา 19
- ตูน-ก้อย ดีใจ น้องทะเล ลูกชายคนแรกคลอดแล้ว!