ข่าวเศรษฐกิจ

จุรินทร์ เผย ประกันรายได้ข้าว ได้ไปต่อ พร้อมเสริมนโยบายใหม่คู่ขนาน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า โครงการ ประกันรายได้ข้าว ได้รับการดำเนินต่อ พร้อมทั้งเสริมมาตรการใหม่ควบคู่ไปด้วย อีกทั้งยังมีการหนุนการส่งออกข้าวด้วย

ประกันรายได้ข้าว – จุรินทร์ เดินหน้าประกันรายได้ปี 3 วันนี้ประชุมอนุกรรมการเคาะทั้ง “ประกันรายได้-มาตรการคู่ขนาน” พร้อม “ลุยขายข้าวส่งออก” เพื่อยกระดับราคาข้าวให้ชาวนา

Advertisements

วันที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลา 12.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการตลาด ครั้งที่ 1/2564 ณ ห้องประชุมกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 สํานักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประชุมผ่านระบบ Zoom

หลังการประชุม นายจุรินทร์ กล่าวว่า ประเมินผลผลิตข้าวปีนี้คาดว่าจะมีผลผลิต 26 ล้านตัน โดยข้าวเปลือกมากกว่าฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา 4.58% หรือประมาณ 5% และมติที่ประชุมอนุกรรมการวันนี้ต้องมีการนำเสนอขอความเห็นชอบต่อที่ประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข. )ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานอีกครั้งหนึ่งก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

ซึ่งวันนี้ที่ประชุมให้ความเห็นชอบเบื้องต้นในการเดินหน้านโยบายประกันรายได้เกษตรกร สำหรับข้าว ถือเป็นการนับหนึ่งประกันรายได้ผู้ปลูกข้าวปีที่ 3 ต่อไป และขอรายงานว่าปีที่ผ่านมา (ปี2) มีการจ่ายเงินส่วนต่างสูงสุดสำหรับข้าว 5 ชนิดดังนี้ คือ

  • ข้าวหอมมะลิจ่ายเงินชดเชยสูงสุด 42,830 บาทต่อครัวเรือน
  • ข้าวหอมนอกพื้นที่ สูงสุด 41,680 บาทต่อครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเจ้า สูงสุด 36,670 บาทต่อครัวเรือน
  • ข้าวหอมปทุม 26,674 บาทต่อครัวเรือน
  • ข้าวเปลือกเหนียว 33,350 บาทต่อครัวเรือน

โดยปีที่ 3 นี้ที่ประชุมมีมติให้เสนอ นบข.โดยอาศัยหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับการประกันรายได้ปีที่ผ่านมาทุกประการ

สำหรับมาตรการคู่ขนานที่จะเข้ามาช่วยเสริมเพื่อช่วยเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มีด้วยกัน 3 มาตรการ

Advertisements
  • มาตรการที่หนึ่ง สนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวชะลอการขาย ในช่วงที่ข้าวออกสู่ตลาดมากเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าวราคาตกจนเกินไปโดยเกษตรกรที่ชะลอขายข้าวจะได้รับเงินช่วยเหลือตันละ 1,500 บาท
  • มาตรการที่สอง ช่วยเหลือดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสหกรณ์หรือสีโรงสีที่เก็บสต๊อกข้าวและไม่ปล่อยออกสู่ตลาด โดนชดเชยดอกเบี้ย 3%
  • มาตรการที่สาม เร่งรัดส่งเสริมการส่งออกข้าว เพื่อระบายข้าวในประเทศเพราะฤดูการผลิตหน้าจะมีเข้าออกสู่ตลาดมากกว่าปีที่ผ่านมาถึงประมาณ 5% จึงมีมาตรการช่วยเหลือให้มีการส่งออกข้าวโดยช่วยดอกร้อยละ 3 เป็นเวลา 6 เดือน ในเดือนตุลาคมปีนี้ถึงเดือนมีนาคมปีหน้า

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ” เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 64 ถึง 31 ตุลาคม 64 และภาคใต้ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 64 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 65 และการจ่ายเงินส่วนต่างจะเริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 65 ส่วนภาคใต้จะเริ่มจ่ายเงินส่วนต่างตั้งแต่เดือนมีนาคม 65 ถึงพฤษภาคม 65

ซึ่งจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม นบข.ต่อไปคาดว่าจะเป็นวันที่ 23 สิงหาคม 2564 และผมได้เร่งรัดให้กรมการค้าต่างประเทศ เร่งเจรจาระบบจีทูจีกับจีน ซึ่งยังมี MoU ค้างการซื้อข้าวจะเข้าอยู่ 280,000 ตัน ขอให้เร่งเจรจาให้ซื้อข้าวครบตามที่ได้ทำไว้โดยเร็วที่สุด

ถ้าเป็นไปได้ช่วงเวลานี้อยากขอให้จีนช่วยซื้อข้าวหอมมะลิเพิ่มเติมเพราะราคาข้าวหอมมะลิของเราสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยก่อนหน้านี้ที่เซ็นสัญญากับจีนไว้ 20,000 ตัน ได้มีการส่งมอบเรียบร้อยแล้ว ”

อย่างไรก็ตาม นายจุรินทร์ระบุว่า นโยบายประกันรายได้เกษตรกรจะเดินหน้าต่อไปเพราะเป็นนโยบายที่สำคัญนโยบายหนึ่งของรัฐบาล ขณะที่รายงานกรมการค้าภายใน ระบุว่า การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 2 ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้ช่วงราคาผลผลิตต่ำกว่าราคาที่ประกันรายได้

โดยมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 7.67 ล้านครัวเรือน แบ่งเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4.5 ล้านครัวเรือน ยางพารา 1.78 ล้านครัวเรือน มันสำปะหลัง 5.2 แสนครัวเรือน ปาล์มน้ำมัน 3.7 แสนครัวเรือน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.5 แสนครัวเรือน

ส่วนโครงการประกันรายได้เกษตรกรปี 3 ก็จะเดินหน้าในหลักการเดียวกัน โดยหากราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาประกันรายได้ รัฐบาลก็จะโอนเงินส่วนต่างเข้าบัญชีเกษตรกรผ่านบัญชี ธ.ก.ส.โดยตรง

ราคาประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 ชนิด คือ

  • ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 10,000 บาท
  • ข้าวหอมมะลิตันละ 15,000 บาท
  • ราคายางแผ่นดิบ 60 บาท
  • ราคาน้ำยางสด 57 บาท ยางก้อนถ้วย กก.ละ 23 บาท
  • มันสำปะหลังกก.ละ 2.50 บาท
  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กก.ละ 8.50 บาท
  • ปาล์มน้ำมัน กก.ละ 4 บาท

หากราคาตลาดสูงกว่านี้เกษตรกรได้ประโยชน์ แต่ถ้าราคาตามกลไกตลาดไม่ถึงราคาที่ประกันรายได้ไว้นี้เกษตรกรก็รับเงินส่วนต่างไป

 

แหล่งที่มาของข่าว : Facebook Page – Democrat Party, Thailand พรรคประชาธิปัตย์

สามารถติดตามข่าวเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวเศรษฐกิจ

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button