สุขภาพและการแพทย์

จุฬาฯ พัฒนาชุดหน้ากากประสิทธิภาพสูง เทียบเท่า N95 กรองแบคทีเรีย 99.9%

ทีมวิจัยจุฬาฯ พัฒนา ชุดหน้ากาก CURE Air Sure ประสิทธิภาพสูง เทียบเท่า N95 แต่หายใจได้สะดวก และกระชับกว่า อีกทั้งราคาไม่แพง

ศ.ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึงความสำเร็จ การพัฒนาชุดหน้ากาก CURE Air Sure หลังจากใช้เวลานานกว่า 1 ปี หน้ากาก CURE Air Sure ผ่านการทดสอบคุณสมบัติได้อย่างดีมาก ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคสูงถึง 99.93% ประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรีย 99.9% และสามารถหายใจได้อย่างสะดวก (ความดันต่างเพียง 4.3 mm H2O/cm2) นอกจากนี้แผ่นกรองยังสามารถต้านทานการทะลุผ่านของเลือดสังเคราะห์ได้ และไม่ติดไฟ”

Advertisements

จุดเริ่มต้นของนวัตกรรมชุดหน้ากากนี้ ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในทีมผู้พัฒนาในโครงการ กล่าวว่า เกิดจากการพบหน้ากากจำนวนมากคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรเป็น เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ขาดแคลนหน้ากากป้องกันระดับสูงในอนาคต

หน้ากาก CURE Air

ความแตกต่างของหน้ากาก ‘CURE Air Sure’ กับหน้ากากอนามัยทั่วไป นอกจากประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็กกว่า 95% เทียบเท่าหน้ากาก N95 แล้ว หน้ากากนี้ยังใช้แผ่นกรองแบบเปลี่ยนได้ ใช้เนื้อวัสดุหนักเพียง 15% ช่วยลดปริมาณขยะติดเชื้อที่กำจัดยากลงไปได้มาก

ตัวหน้ากากทำจากพลาสติกใสฉีดขึ้นรูป มีจุดเด่นด้านความแข็งแรง ทนทาน ทนต่อสารเคมี อีกทั้งมีขอบซิลิโคนรอบหน้ากากที่ ยืดหยุ่นแนบกระชับกับใบหน้าผู้สวมใส่ ช่วยลดการรั่วไหลจากอากาศภายนอกสู่ภายใน หายใจสะดวกและลดการอับชื้น

ในส่วนของการผลิตล็อตแรกมีความตั้งใจว่าจะส่งให้กับเจ้าหน้าที่หน้าด่านที่มีความเสี่ยงก่อนที่จะจัดจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไป” ผศ.ดร.รัฐพล กล่าว

Advertisements

CURE Air Sure 1 ชุด ประกอบด้วย โครงหน้ากากและฟิลเตอร์จำนวน 4 ชิ้น (ใช้ได้ 1 เดือน) ราคา 400 บาท และชุดฟิลเตอร์เพียงอย่างเดียว จำนวน 4 ชิ้น ราคา 100 บาท ดังนั้นหากใช้ทุกวัน จะมีค่าใช้จ่ายไม่ถึง 5 บาทในแต่ละวัน ซึ่งขณะนี้ทางทีมงานกำลังอยู่ในช่วงพิจารณาช่องทางการจัดจำหน่าย เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถหาซื้อได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

ทั้งนี้การพัฒนาในรุ่นถัดไป ศ.ดร.อนงค์นาฏ กล่าวว่า เตรียมจะพัฒนาให้เหมาะกับผู้หญิง เพื่อรองรับการแต่งหน้าในชีวิตประจำวัน เป็นการขยายกลุ่มเป้าหมายไปยังกลุ่มผู้หญิงที่ต้องการแต่งหน้า แต่ก็ต้องการใส่หน้ากากเพื่อป้องกันเชื้อโรคหรือมลพิษทางอากาศ ในขณะที่ประสิทธิภาพในการกรองดีเหมือนเดิม”

อ้างอิงข้อมูล : www.research.chula.ac.th/th/news/12417/

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button