คลายข้อสงสัย โรคจิตเวชฉีดวัคซีนได้ไหม?
โรคจิตเวช ฉีดวัคซีน ได้ไหม ? ตอบข้อสงสัยที่กำลังถกเถียงกันจำนวนมาก หลังจากมีข่าวลือหลากกระแสเกี่ยวกับการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของผู้ป่วยจิตเวช
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊กผ่าน จิตเวช รามา ตอบข้อสงสัยผู้ป่วย โรคจิตเวช ฉีดวัคซีน ได้ไหม เพื่อเป็นการยืนยันถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว หลังมีการแชร์ข่าวและให้ข้อมูลลาดเคลื่อนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยที่กำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งกำลังลุกลามหนักหนัก
สำหรับคำถาม โรคจิตเวช ฉีดวัคซีน ได้ไหม ทาง ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุชัด โรคจิตเวชไม่เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีนโควิด-19 และผู้ป่วยโรคจิตเวชที่ต้องการเข้ารับการฉีดวัคซีนก็ไม่จำเป็นต้อง หยุดยาต้านซึมเศร้า หรือยาจิตเวชใดๆ ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
อีกทั้งการหยุดยาหรือลดยาเกี่ยวกับโรคจิตเวช อาจทำให้เกิดอาการถอนยา หรืออาการทางจิตเวชไม่คงที่ได้ อ้างอิงจากประกาศราชวิทยาลัยจิตแพทย์ องค์กรสูงสุดทางวิชาการของจิตแพทย์ในประเทศไทย
สำหรับขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน มีดังนี้
ตรวจสอบร่างกาย
– พักผ่อนให้เพียงพอ 2 วันก่อนและหลังการฉีดวัคซีนให้งดออกกำลังกายหนัก
– หลีกเลี่ยงการดื่ม ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
– ดื่มน้ำให้เพียงพอ
– ตรวจเช็กร่างกายว่าไม่มีไข้สูง ไม่มีอาการเจ็บป่วย หากมีไข้สูงในวันนัดหมายฉีดวัคซีนควรแจ้งขอเลื่อนการฉีดออกไปก่อน
แจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน
– มีโรคประจำตัว
– มีประวัติกรแพ้ยา หรือ วัคซีน
– ตั้งครรภ์
สิ่งสำคัญเพิ่มเติม
– ตรวจสอบ วัน / เวลา / สถานที่ ให้เรียบร้อย อย่าลืมพกบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวไปด้วย (ควรไปถึงก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาที)
อ้างอิงข้อมูลจาก : กระทรวงสาธารณสุข , ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
- ไขข้อสงสัยผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูงกับการฉีดวัคซีนโควิด-19
- ไขข้อสงสัยทำไม วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ถึงเว้นระยะห่างเข็ม 2 นาน
- กรมอนามัย ออก ข้อแนะนำในการเตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด-19