เทคโนโลยี

YouTube เรียกดูข้อมูลภาษี อาจเรียกเก็บสูงถึง 24%

เป็นหนึ่งข่าวใหญ่สำหรับเหล่าครีเอเตอร์บนยูทูปทั้งหลาย หลัง Google มีการออกประกาศจะเรียกเก็บภาษีสูงถึง 24% ความจริงเป็นอย่างไร ไปดูว่ามีรายละเอียดอย่างไร

หนึ่งในความรับผิดชอบของ Google ตามบทบัญญัติที่ 3 ตามประมวลกฎหมายภาษีอากรของสหรัฐอเมริกา คือการเรียกเก็บข้อมูลการเสียภาษีจากจากเหล่าครีเอเตอร์ที่มีการสร้างรายได้จาก Google ที่ไม่ได้อยู่ภายในประเทศสหรัฐ และเพื่อเรียกเก็บ/หักภาษีจากรายได้ที่ครีเอเตอร์เหล่านี้ได้ “จากผู้ชมที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา”

Advertisements

ซึ่งรายได้ที่ว่านี้ก็จะมาจากทั้ง Ads โฆษณา, Youtube Premium, ซุปเปอร์แช็ต ซูปเปอร์สติกเกอร์ และรวมไปถึงสมาชิกที่ Subscribe

สำหรับเหล่าครีเอเตอร์ทั่วโลก สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือ การยื่นเอกสารการเสียภาษีของคุณใน Google Adsense ไม่ว่าจะเป็นภาษีรายได้ส่วนบุคคลหรือภาษีรายได้นิติบุคคลก็ตาม

ส่วนจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ 3 ข้อ คือ
1 คุณหรือบัญชีการสร้างรายได้ของคูณได้มีการยื่นแสดงข้อมูลภาษีหรือไม่
อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายๆจาก Google อาจอยู๋ที่ระหว่าง 0 – 30% ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยุ่ประเทศไหน โดยหลังจากที่ยื่นเอกดสารข้อมูลภาษีไปแล้ว คุณสามารถค้นหาอัตราภาษีที่คุณต้องจ่ายในเซคชั่นของ Payment หรือการจ่ายเงิน ในบัญชี Google Adsense ของคุณ

2 รายได้ที่คุณได้จากผู้ชมหรือผู้ใช้งา่นในประเทศสหรัฐอเมริกา
หาก Google ตรวจพบว่าคุณไม่ได้ยื่นหลักฐานการเสียภาษีภายในเวลาที่กำหนด (31 พฤษภาคม) Google จะได้สิทธิ์ตามกฏหมายให้สันนิษฐานได้ว่าบัญชีของคุณเป็นบัญชีในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสิทธิ์เก็บภาษีสูงถึง 24% จากรายได้ทั้งหมดของคุณ ไม่ว่ารายได้จะมาจากทั้งผู้ชมที่อยู่ในหรือนอกประเทศสหรัฐอเมริกา

3 ประเทศที่คุณอยู่มีสนธิสัญญาว่าด้วเรื่องของภาษีใดๆกับสหรัฐหรือไม่
กรณีนี้ต้องดูเป็นรายประเทศไป บางประเทศมีการทำข้อตกลงเรื่องภาษาที่อาจส่งผลต่ออัตราภาษีที่คุณต้องจ่าย โดยขั้นตอนนี้จะเป็นหน้าที่ของ Google ในการค้นหาว่าคุณจะได้รับสิทธิ์ในการลดภาษีหรือไม่ สิ่งที่คุณต้องทำคือการนำส่งข้อมูลภาษีและเลขประจำตัวผู้เสียภาษีผู้เสียภาษีใน Google Adsense

Advertisements

เช็ครายชื่อประเทศที่มีข้อตกลงเรื่องภาษีกับสหรัฐอเมริกา Click

Thaiger deals

siraphat

อัพเดททุกความเคลื่อนไหวในเแวดวงกีฬา ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งฟุตบอล, บาสเก็ตบอล NBA, กอล์ฟ, แบดมินตัน,เทนนิส, Motor Sport และกีฬาอื่นๆอีกมากมาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button