อ.เจษฎ์ ตอบ เคยติดโควิดแล้วต้องฉีดวัคซีนไหม?
อ.เจษฎ์ โพสต์ข้อความอธิบายถึงเกร็ดความรู้ของโรคโควิด-19 อย่างละเอียด พร้อมตอบคำถามว่า เคยติดโควิดแล้วต้องฉีดวัคซีนไหม?
อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความลงในเพจเฟซบุ๊ก ตอบคำถามว่า ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคโควิดต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิดซ้ำหรือไม่
โดยในเพจระบุว่า “เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ “วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19”
ในภาวะที่เราเริ่มมีความหวังมากขึ้นในการต่อสู้รับมือกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อให้เกิดโรค COVID-19 จากที่เริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในหลายประเทศ (และประเทศไทยก็จะเริ่มฉีดในอีกไม่นาน) คำถามหลายๆ อย่างก็เริ่มมีขึ้นเกี่ยวกับวัคซีนและภูมิคุ้มกันของร่างกาย ว่าถ้าเคยติดโรคเชื้อแล้ว มันยังจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนหรือเปล่า และถ้ามีวัคซีนหลายยี่ห้อ เราสามารถนำมาฉีดข้ามกันได้หรือเปล่า
1. ถ้าเคยเป็นโรคโควิด-19 แล้ว ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่ ?
– ดังนั้น ถึงแม้คุณจะเคยเป็นโรคโควิด-19 จนหายดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบมีอาการน้อยๆ หรือเป็นแบบรุนแรง คุณก็ยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้น
– มีรายงาน (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32425950/) จากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับที่ต้องเข้าโรงพยาบาลว่าติดเชื้อค่อนข้างหนักมาก จนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันนั้นทำงานไม่ไหว และทำให้สร้างเมโมรี่เซลล์ภูมิคุ้มกันที่มีต่อไวรัสได้ไม่มากพอ … และถึงคุณจะมีอาการป่วยแบบน้อยๆ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณก็อาจจะไม่ได้ทำงานเพียงพอถึงจุดที่จะสร้างเมมโมรีเซลล์ภูมิคุ้มกันได้
2. ถ้าฉีดวัคซีนไปแล้ว จะยังแพร่เชื้อโรคได้อยู่หรือเปล่า ?
– ถึงแม้ว่าวัคซีนที่เริ่มมีการฉีดกันทั่วโลกนั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ถูกฉีดมีอาการป่วยจากโรคโควิด-19 โดยวัคซีนที่ได้รับอนุญาตแล้วนั้นจะต้องป้องกันได้มากกว่า 50% (ซึ่งกรณีของวัคซีนที่ฉีดในประเทศอเมริกาแล้ว อย่างของ Pfizer-BioNTech และ Moderna นั้นป้องกันได้ 90%) แต่เรายังไม่สามารถบอกได้ว่ามันจะสามารถป้องกันไม่ได้เกิดการแพร่เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ได้จริงหรือไม่- เหตุผลหนึ่งที่เราไม่อาจตอบคำถามนั้นได้ คือ วัคซีนและการทดสอบประสิทธิภาพของมันนั้น ถูกออกแบบมาสำหรับศึกษาถึงอัตราการป้องกันไม่ให้คนที่ถูกฉีดเกิดอาการป่วย ไม่ใช่เพื่อดูเรื่องการแพร่ระบาดของโรค
– อีกเหตุผลหนึ่ง คือ มันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากเกี่ยวกับกระบวนการที่วัคซีนทำให้เกิดสารแอนตี้บอดี้ภูมิคุ้มกันขึ้นในร่างกาย ซึ่งจำเป็นจะต้องทำการศึกษาอีกเยอะ … โดยทั่วไปแล้ว วัคซีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตี้บอดีชนิดที่เรียกว่า อิมมูโนกลอบูลิน จี (immunoglobulin G) หรือ ไอจีจี (IgG) ไปจัดการกับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย แต่ถ้าเราจะคิดถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยแล้วล่ะก็ เราต้องไปวิเคราะห์หาอิมมูโนกลอบูลิน เอ (immunoglobulin A) หรือ ไอจีเอ (IgA) ด้วย ซึ่งมันจะไปทำงานแบบตรวจการอยู่ที่บริเวณเซลล์พื้นผิวของร่างกายที่มีเมือก เช่น ในโพรงจมูก หลอดลม ปอด และช่องทางเดินอาหาร .. และก็ยังไม่ค่อยมีการศึกษาในประเด็นนี้
3. ถ้าเกิดได้ฉีดวัคซีน 2 โดส โดยที่โดสแรกของเป็นของบริษัทหนึ่ง จะเปลี่ยนไปฉีดโดสที่ 2 ของอีกบริษัทได้หรือไม่ ?
– ปรกติแล้ว การฉีดวัคซีนในรอบแรกนั้น มีความสำคัญที่สุดที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัสขึ้นมา ส่วนการฉีดโดสที่สอง หรือที่มักจะเรียกกันว่า บูสเตอร์ (booster) นั้น จะช่วยเสริมระดับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น โดยเหมือนกับการย้ำเตือนให้ร่างกายรู้จักกับไวรัสนั้น
– ด้วยเหตุนี้ จึงไม่จำเป็นที่วัคซีนซึ่งจะใช้ฉีดครั้งที่สองเพื่อเป็นบูสเตอร์ จะต้องเป็นวัคซีนตัวเดียวกันกับที่ฉีดในครั้งแรก ถ้าวัคซีนทั้งสองตัวนั้นสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัสได้เหมือนกัน
– ประเด็นที่สำคัญกว่า คือช่วงเวลาที่ควรจะต้องฉีดบูสเตอร์ซ้ำ ว่าจะทิ้งช่วงจากเข็มแรกนานแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาวัคซีนแต่ละชนิดพบว่ามีช่วงเวลาสำหรับการฉีดบูสเตอร์แตกต่างกัน บางโรคก็ต้องฉีดทุกสิบปี บางโรคก็ฉีดแค่ครั้งเดียวไม่ต้องมีบูสเตอร์ก็ได้ … ซึ่งสำหรับวัคซีนโรคโควิด-19 นั้น คงจะต้องมีการศึกษาเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นหลังจากที่รณรงค์ฉีดกันแล้ว ว่าการฉีดบูสเตอร์นั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และต้องฉีดภายในเวลาใด รวมถึงมีผลที่แตกต่างกันหรือไม่ในช่วงวัยต่างๆ
- งานวิจัยอังกฤษตอบ ภูมิต้านทานโควิดอยู่ได้กี่เดือน?
- หมอยง อธิบาย ทำไมวัคซีนมีประสิทธิภาพแต่ละที่ไม่เท่ากัน