BTS สายสีทอง มีสถานีอะไรบ้าง เชื่อมต่อจุดไหน ราคาเท่าไหร่

BTS รถไฟฟ้าสายสีทอง เพิ่งเปิดให้บริการพร้อม BTS สายสีเขียว ไปเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยสามารถเช็คสถานี ราคา และจุดเชื่อมต่อได้ที่นี่
เมื่อวานนี้ (16 ธ.ค.63) เวลา 13.00 น. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย BTS สายสีเขียว จำนวน 7 สถานี ควบคู่กับ BTS สายสีทอง
โดย รถไฟฟ้าสายสีทอง มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 สถานี ประกอบด้วย :
- สถานีกรุงธนบุรี (G1) – เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีลม สถานีกรุงธนบุรี
- สถานีเจริญนคร (G2) – เชื่อมต่อกับ เรือด่วนเจ้าพระยา ท่าไอคอนสยาม
- สถานีคลองสาน (G3) – เชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (อยู่ในขั้นตอนดำเนินงาน)
อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีทอง : ขณะนี้เปิดให้บริการฟรีจนถึง 15 ม.ค. 64 หลังจากนั้นคิดค่าบริการ 15 บาท ตลอดสาย
แต่เดิม รถไฟฟ้าสายนี้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตั้งแต่ปี 2552 แต่ก็ถูกยกเลิกไป ก่อนที่ในปี 2560 หลังการเกิดขึ้นของห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม ก็ได้มีการนำโครงการนี้กลับมาพิจารณาอีกครั้ง และเริ่มการก่อสร้างในปี 2561 จนกระทั่งแล้วเสร็จในปี 2563 นี้
รถไฟฟ้าสายสีทองเส้นทางผ่าน
แบ่งเส้นทางได้เป็น 3 ช่วงคือ
ช่วงที่ 1 สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี – สำนักงานเขตคลองสาน – สะพานพุทธ
เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน โดยแบ่งออกได้อีก 2 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 แนวเส้นทางจะเริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางซ้ายบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนครฝั่งเหนือ ผ่านวัดสุวรรณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านโรงพยาบาลตากสิน และไปสิ้นสุดที่สถานีคลองสาน ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม
ระยะที่ 2 แนวเส้นทางจะวิ่งตรงต่อไปตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงเรียนจันทรวิทยา วัดอนงคารามวรวิหาร และวัดพิชยญาติการามวรวิหาร สิ้นสุดบริเวณแยกวงเวียนเล็ก (สมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก) บริเวณด้านหลังอนุสรณ์สถานสมโภช 100 ปี เขตคลองสาน
ช่วงที่ 2 สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สะพานพุทธ – สถานีรถไฟฟ้ามหานคร อิสรภาพ
เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดสถานีสะพานพุทธ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนประชาธิปก เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมที่สถานีสะพานพุทธ (วงเวียนเล็ก) แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนอิสรภาพ ผ่านบิ๊กซี อิสรภาพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณสถานีอิสรภาพ ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล[4]
ช่วงที่ 3 : สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี – โรงแรมอนันตรากรุงเทพริเวอร์ไซด์
เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14-17 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนน เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี ของรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เบี่ยงเข้าถนนกรุงธนบุรีทางขวาบริเวณปลายสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เพื่อเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนเจริญนครฝั่งใต้ ผ่านวัดเศวตฉัตรวรวิหาร สมาคมตระกูลลิ้มแห่งประเทศไทย และสิ้นสุดบริเวณซอยเจริญนคร 60 ใกล้ๆ กับศูนย์การค้าริเวอร์ไซด์ พลาซ่า โรงแรมอวานีริเวอร์ไซด์กรุงเทพ และโรงแรมอนันตรากรุงเทพริเวอร์ไซด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา (อ้างอิงจาก)
ขอบคุณภาพจาก Thaigov
- ประยุทธ์ เปิด BTS สายสีเขียว ช่วยแก้ปัญหา รถติด และ PM 2.5
- BTS สายสีเขียว เตรียมเปิด 7 สถานีใหม่ เริ่ม 16 ธ.ค. บ่ายโมง
- ศักดิ์สยาม เผย รฟม. คำนวณ ค่าโดยสาร BTS สายสีเขียว ถูกกว่า 65 บาท
- 17 ธ.ค. 63 กรุงเทพและปริมณฑล PM2.5 เกินมาตรฐาน 11 พื้นที่