ภายหลังการประกาศการตีความของกฤษฏีกาให้ ธ.กรุงไทย พ้นสภาพจากการเป็นกิจการ รัฐวิสาหกิจ ซึ่งผลก็ตามมาเช่นเดียวกันกับบรรดา พนักงาน ที่ถือว่าพ้นสภาพในการเป็นพนักงาน รัฐวิสาหกิจ อย่างเป็นทางการ
ภายหลังจากการตีความของกฤษฏีกาที่ให้ ธ.กรุงไทย นั้นพ้นสภาพจากการเป็นกิจการ รัฐวิสาหกิจ ตามที่ได้รับหนังสือจาก กองทุนเพื่อพัฒนาและพัฒนาระบบสถานบันการเงิน โดยผลลัพธ์นั้นก็ตกตามมาเช่นเดียวกันสำหรับทั้งในส่วนของ กรรมการ ผู้บริหาร และบรรดา พนักงาน ที่จะพ้นสภาพการเป็นพนักงาน รัฐวิสาหกิจ อย่างเป็นทางการ
โดยการตีความดังกล่าวนั้น ได้มีการประกาศภายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 โดยมาจากการขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในประเด็นที่เกี่ยวกับสถานภาพของกองทุน และตัวธนาคารกรุงไทย
ซึ่งก็ได้มีการพิจารณาว่า ธนาคารกรุงไทย ไม่มีลักษณะเป็นบริษัทหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่เป็นรัฐวิสาหกิจตาม (2) และ (3) ของบทนิยามคำว่า “รัฐวิสาหกิจ” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
ทำให้ตัวธนาคารนั้น พ้นสภาพจากการเป็นกิจการในรัฐวิสาหกิจ เช่นเดียวกันกับพนักงานที่ทำงานในทุกระดับตั้งแต่ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทั่วไป ที่ก็ถือว่าไม่ได้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจอีกต่อไป
ตามที่นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ได้กล่าวไว้ ภายหลังจากได้ข้อหารือ หลังจากรับทราบประกาศกฤษฏีกาดังกล่าว
โดยตัวธนาคารนั้นจะยังคงเปิดให้บริการตามปกติ แต่จะมีการดำเนินการเพื่อจัดการในการจัดการด้านธุรกรรมกับส่วนงานราชการ และการปรับตัวกับระเบียบการใหม่จากกรมบัญชีกลางกันต่อไป
อ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี้