ข่าวภูมิภาค

โฆษก ศบค. ยืนยัน ‘ไทยชนะ’ เป็นช่องทางเพื่อผู้ประกอบกิจการ/กิจกรรมใช้สอบถามเพิ่มเติม

โฆษก ศบค. ยืนยันไลน์ “ไทยชนะ” เป็นช่องทางเพื่อผู้ประกอบกิจการ/กิจกรรมใช้สอบถามเพิ่มเติม ย้ำจับตา 14 วันช่วงผ่อนปรนระยะ 2 ก่อนพิจารณาให้กิจการ/กิจกรรมระยะ 3 กลับมาให้บริการ

ไทยชนะ – วันที่ 18 พ.ค. 63 เวลา 11.30 น. ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) โถงกลาง ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ตอบคำถามสื่อมวลชน ที่ถามผ่านโซเซียลมีเดียในการแถลงข่าวของศูนย์ข่าวโควิด-19 และสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

โฆษก ศบค. ยืนยันว่า แอปพลิเคชัน LINE “ไทยชนะ” เป็นบัญชีทางการ (Official Account) ที่ประชาชนสามารถเพิ่มเป็นเพื่อนได้โดย LINE “ไทยชนะ” มีไว้สำหรับสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือรับข้อมูลข่าวสาร นอกเหนือจากสายด่วน 1119 ไม่ได้มีไว้เพื่อการลงทะเบียน โดยมีเจ้าหน้าที่คอยตอบคำถามสำหรับผู้ประกอบกิจการ/กิจกรรม ที่ประสบปัญหาในการลงทะเบียน เพื่อความเป็นส่วนตัว โอกาสนี้ โฆษก ศบค. ยังขอบคุณทั้งผู้ประกอบกิจการ/กิจกรรม และประชาชนทุกคนที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการการผ่อนปรนระยะ 2 อย่างดี เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาหมุนเวียนอย่างปกติ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า อาจมีความขัดข้องของระบบในช่วงแรกบ้าง ซึ่งจะได้นำความคิดเห็นต่าง ๆ มาพัฒนาปรับปรุงต่อไป

สุดท้ายนี้ โฆษก ศบค. ยังขอความร่วมมือร้านค้าให้ลงทะเบียน “ไทยชนะ” เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขอยืนยันว่าข้อมูลทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อความสะดวกในการติดตามค้นหาผู้ป่วยติดเชื้อหรือผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเท่านั้น ทั้งนี้ หากประชาชนทุกคนให้ความร่วมมือในช่วงเวลา 14 ของการผ่อนปรนมาตรการระยะ 2 จากนี้ กิจการ/กิจกรรม ที่จัดอยู่ในระยะ 3 ก็จะได้สามารถกลับมาให้บริการได้เร็ววัน เท่ากับเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดให้บริการของสถานประกอบการด้วย

ทั้งนี้เมื่อทีมข่าวตรวจสอบในเว็บไซต์ไทยชนะ ได้ลงข้อความคำถามที่พบบ่อย ที่น่าสนใจหลายประการ

ถ้ากิจกรรม/กิจการ ไม่ให้ผู้เข้ารับบริการ check in – out ได้หรือไม่

  • ไม่ควรกระทำ และสถานประกอบการควรให้ผู้มาใช้บริการ check in/check out ทุกคน เนื่องจาก หากกิจการไม่ปฏิบัติตามมาตรการแล้ว อาจเกิดกรณีที่มีผู้ติดเชื้อเข้ามาใช้บริการ สถานประกอบการจะได้ทราบทันทีและทำความสะอาดร้าน/สถานที่ ให้ถูกสุขอนามัย

ผู้เข้าใช้บริการ check in แต่ไม่ check out จะเกิดอะไรขึ้น

  • กิจการ/กิจกรรมนั้น ๆ จะมียอดสะสมของผู้เข้าใช้บริการจำนวนมาก ซึ่งอาจเกินกว่ากำหนด ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการหนาแน่นได้ ซึ่งนำไปสู่การไม่อนุญาตให้เปิดบริการได้

หากผู้ใช้บริการไม่มีเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ check in/check out สถานที่ให้บริการควรทำอย่างไร

  • กิจการจะต้องขอจดบันทึกเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ของผู้เข้าใช้บริการที่สถานประกอบการหากลูกค้าไม่มี smartphone

การบันทึกข้อมูล checkin-out ของผู้เข้าใช้บริการ ถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

  • ข้อมูลที่ถูกเก็บของผู้เข้าใช้บริการจะเป็นข้อมูลแบบมีรหัส ซึ่งต้องเป็นหน่วยงานและผู้ได้รับอนุญาติเท่านั้นถึงจะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ อีกทั้งได้กำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลไว้เพียง 60 วัน

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button